สะดุ้ง 'จตุพร' เตือน 'ไทยรักษาชาติภาค 2' ฉะเพื่อไทยคิดเพื่อหลอกคนอื่นแต่ตัวเองกลับเชื่อ

25 ก.พ.2566 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน "อย่า! กะพริบตา" เมื่อ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองเมื่อ ว่า ต้องดูที่ปรากฏการณ์วันที่ 3 มี.ค.นี้ และผลการตัดสินของศาล รธน.จะลามเป็นไฟลามทุ่งหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ศาล รธน.เคยวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะมาแล้วเมื่อ 2 เม.ย. 2549 และ 2 ก.พ. 2557 ส่วนครั้งนี้พรรคการเมืองล้วนเฝ้าชะเง้อมองอย่างระทึกเช่นกัน

"เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ผมเชื่อและคิดเป็นอื่นไม่ได้ เพราะถ้าชี้ช่องทางเอาคนต่างด้าวมาคำนวณเขตเลือกตั้งได้จะเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต่อไปอาจมีการวางแผนนำคนต่างด้าวมาจัดหมวดหมู่ เพิ่มสัดส่วนประชากรเพื่อหวังผลทางการเมืองได้เช่นกัน"

นายจตุพร กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีคนต่างด้าวกว่า 9 แสนคนกระจายไปในเขตเลือกตั้ง 4 จังหวัด หาก ศาลวินิจฉัยว่าทำไม่ได้ ผู้แทน 4 จังหวัดจะลดลง แล้วไปเพิ่มอีก 4 จังหวัด เขตเลือกตั้งจะเปลี่ยนแปลงไป

อีกทั้งยังจะลามไปถึงการเลือกตั้งปี 2562 เสมือนหนึ่งไม่มีการเลือกตั้ง ผล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เป็นเสมือนกับนายกฯ รักษาการมา 4 ปีและยังมีอำนาจตาม ม.44 ในมือ รวมทั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ ส.ส. ก็มีสภาพเสมือนไม่เคยเป็นมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เพราะสภาพการเป็นถูกโมฆะด้วยคำวินิฉัย แต่ยังได้รับการคุ้มครองจากการทำหน้าที่ ในส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลาออกหรือถูกดำเนินคดี ซึ่งมีเพียงสองเส้นทางเดินนี้เท่านั้น

สำหรับการยุบพรรคการเมืองทั้ง เพื่อไทย ก้าวไกล และพลังประชารัฐ (พปชร.) นั้น นายจตุพร กล่าวว่า คงเป็นอีกมาตรการหนึ่ง เพราะกรอบเวลาการพิจารณาตามระเบียบใหม่ของ กกต.ดำเนินการภายใน 6 เดือน เปรียบเหมือนการรอตกปลา เพื่อเฝ้าจับตาและให้พรรคการเมืองตายใจ แล้วแสดงพฤติกรรมเข้าข่ายยุบพรรค

อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองอาจมีช่องทางต่อสู้ข้อกล่าวหาได้ว่า เป็นเรื่องของบุคคลฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวกับพรรค และไม่ได้พูดต่อหน้ากรรมการบริหารพรรค สิ่งสำคัญถ้าพูดผ่านโซเชียลมีเดียแล้วกรรมการบริหารพรรคนั่งร่วมในระบบสื่อสารด้วย หรือการพูดต่อหน้ากรรมการบริหารพรรคในเชิงครอบงำคงหลีกเลี่ยงได้ยาก และโอกาสถูกยุบพรรคจึงมีสูง

นายจตุพร ให้ข้อสังเกตว่า การออกแบบของพรรคการเมืองมีเส้นแบ่งบางๆ กับผู้ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค แต่ต้องมาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้ง จะดำเนินการได้เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งก่อน และพูดนอกเหนือจากนโยบายพรรคไม่ได้ ดังนั้น เมื่อยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งบุคคลภายนอกที่ไม่เป็นสมาชิกพรรค ไปพูดในลักษณะการครอบงำและพูดต่อหน้ากรรมการบริหาร อีกทั้งไม่มีการห้ามปราม หรือแสดงการปฏิเสธแล้ว พฤติกรรมเช่นนี้หวั่นเข้าข่ายยุบพรรค

"สิ่งนี้ต้องไปดูข้อกฎหมาย ผมชี้ช่องทางได้เลยว่า เรื่องแบบนี้กำลังจะเกิดขึ้นกับบางพรรคการเมือง จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อผมยังได้ยินเลย และบอกได้เลยว่า เรื่องนี้มีการไปยื่นแล้วที่ กกต. นอกจากนี้การยุบพรรคการเมืองอื่นๆ ก็ยังโยงกับลากหลายประเด็น ซึ่งแต่ละพรรคคงรู้ชัดอยู่แล้ว”

นายจตุพร อธิบายว่า การยุบพรรคจะเกิดช่วงไหนและนำไปสู่เป้าหมายอะไร ย่อมขึ้นกับแบบเงื่อนสถานการณ์จะกำหนด โดยที่ผ่านมามีอย่างน้อย 3 กรณีศึกษา คือ ถ้ายุบพรรคก่อนมีพระราชกฤษฎีเลือกตั้ง 30 วัน แต่ละพรรคสามารถตั้งหลักได้ทัน หากไปยุบพรรคแบบยุบไทยรักษาชาติ ซึ่งสมาชิกยื่นสมัครในวันสุดท้ายการรับสมัครเลือกตั้งและอยู่ระหว่างการหาเสียง สถานะผู้สมัคร ส.ส.ย่อมสิ้นสุดไปด้วย เพราะหาพรรคสังกัดใหม่ไม่ได้ หรืออาจไปยุบพรรคภายหลังการเลือกตั้งเสร็จแล้ว ส.ส.กฌโยกไปสังกัดพรรคอื่นได้ ดังนั้น แต่ละฝ่ายยอมรู้ได้ว่า การวางแผนออกแบบนั้นต้องการผลอะไรให้เกิดขึ้นและอย่างไร ซึ่งมันมีแต่ละเรื่องราวได้กำหนดไว้

อีกทั้ง กล่าวว่า ยิ่งกรณีนักการเมืองบ้านใหญ่ที่มากด้วยบารมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายเทาๆ จึงอยู่ในเงื่อนไขการต่อรองทางการเมือง ดังนั้น ปรากฎการณ์บ้านใหญ่ จะมีจุดแข็งต่อผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาก แต่มีจุดอ่อนที่สุดในเรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งคนเหล่านี้กลัว ปปช. ปปง กรมสรรพากร คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และการตรวจสอบขององค์กรอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม แม้บ้านใหญ่มีจุดแข็งในการทำให้การเมืองชนะได้ง่ายดาย แต่บ้านใหญ่ก็มีแรงเหวี่ยงทางการเมืองมากที่สุดด้วยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อคิดดึงบ้านใหญ่เข้าพรรค ต้องคิดถึงข้อเสีย เพราะกลุ่มนี้จะมีการขยับตัวอย่างรวดเร็วในสนามการเมือง อาจด้วยการอ้างเหตุผลตามมามากมาย

นายจตุพร กล่าวว่า การปราศรัยของ พล.อ.ประยุทธ์ วันที่ 25 ก.พ. ที่นครราชสีมา ไม่ได้แสดงว่า การเลือกตั้งจะไม่มีปัญหา เพราะการเมืองเป็นการแสดงถึงความพร้อม เช่น พล.อ.ประยุทธ์ บอกพร้อมเลือกตั้ง 500% แต่ความจริงส่วนลึกที่ต้องวิเคราะห์กันคือ ไม่อยากเลือกตั้ง

"คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ สะท้อนความคิดแบบทหาร ที่มีแผนปฏิบัติการเพื่อเลือกกระทำให้สอดคล้องในแต่ละสถานการณ์ นอกจากนี้ยังมีทีมยุทธการคอยคิดและออกแบบได้รายละเอียดมากกว่านักการเมืองเสียอีก โดยเน้นคิดถึงการได้อำนาจมาอย่างไร จะเปลี่ยนแพ้ให้ชนะอย่างไร จะพลิกฝ่ายชนะให้เป็นพวกแพ้อย่างไร ส่วนนักการเมืองแค่คิดชั้นเดียว มุ่งแต่จะเอาชนะอย่างไร ในหลากวิธีการใช้ ซึ่งส่วนให๋มักทุ่มซื้อเสียง”

อีกทั้ง ย้ำถึงคำถามเพื่อไทยจะจับกับ พปชร.หรือไม่ ว่า ถ้าเพื่อไทยไม่มีอะไรในใจแล้วจะตอบได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นคำถามที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่กลับตอบแบบหลีกเลี่ยงไปมา แอบบังไว้กับต้องการแลนด์สไลด์เสียงบวก 310 แต่อธิบายไม่ได้ถึงที่มาจากไหนและอย่างไร

นายจตุพร อธิบายความน่าจะเป็นจริงว่า เมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้งของเพื่อไทยในปี 2562 จะเป็นคำตอบได้ชัดเจน เนื่องจากมีพรรคก้าวไกลมาหารแย่งเอาส่วนแบ่งเสียงเลือกตั้งไปยึดครองด้วย อันเป็นผลจากพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบไป คะแนนเสียงบางส่วนจึงไหลเทไปให้ก้าวไกล (เดิมพรรคอนาคตใหม่) ที่เป็นพรรคตั้งใหม่ ยังไม่ด่างพลอย ไร้บาดแผลและรอยบอบช้ำมัวหมอง แต่เต็มไปด้วยความหวังของอนาคตคนรุ่นใหม่

อีกทั้ง ระบุว่า โอกาสเพื่อไทยจะแลนด์สไลด์ได้ต้องไม่มีพรรคก้าวไกลเป็นอุปสรรค โดยขณะนี้ม่เสียงคะแนนจ่อคอหอยมาทุกขณะ ดังนั้น พรรคก้าวไกลจึงเป็นหนามหยอกอกเพื่อไทย จนเกิดปรากฎการณ์กองเชียร์ทั้งสองฝ่ายรบกันจ้าละหวั่นในสมรภูมิโชเชียลมีเดีย ยิ่งการอภิปรายทั่วไปฯที่เพิ่งผ่านมา ก้าวไกลใช้ผู้อภิปรายฯ ระดับหัว ถนัดการใช้ข้อมูล แต่เพื่อไทยใช้นักการเมืองปลายแถว จึงทำให้โกยแต้มความนิยมไปได้มากมาย

"เมื่อมีก้าวไกลจะทำให้เพื่อไทยแลนด์สไลด์ยาก เพราะเป็นคะแนนเสียงที่ไม่เห็นตัวตน สิงอยู่ในโชเชัยลมีเดีย จึงสกัดยากมากด้วย อีกอย่างคะแนนที่หายไปของเพื่อไทยปี 2562 ก็ไปอยู่ที่ก้าวไกล (หรือชื่อเดิมพรรคอนาคตใหม่) ดังนั้น ก้าวไกลจึงเสนออะไรที่มากกว่าเพื่อไทยประกาศหาเสียง เนื่องจากเป็นตลาดการเมืองเดียวกัน ยังไม่เคยบริหาร บาดแผลไม่มี จึงเป็นจุดแข็งที่เหนือกว่าเพื่อไทยที่ต้องแบกปัญหาโจมตีมากมายไปหมด"

ในส่วนของ ปชป. ภูมิใจไทย รทสช.และ พปชร. นั้น นายจตุพร ประเมินว่า เป็นตลาดเสียงการเมืองอีกตลาดหนึ่ง ซึ่งจะมีโอกาสข้ามมาสู่การแย่งชิงตลาดคะแนนเสียงของเพื่อไทยและก้าวไกลน้อยมาก ดังนั้น ตลาดพรรคการเมืองเหล่านั้น จึงต้องไปจัดการ แย่งชิง หาส่วนแบ่งคะแนนเสียงกันเอง

พร้อมทั้ง มั่นใจว่า เมื่อตลาดซีกการเมืองค่อนข้างชัดเจน ซึ่งจะมีแรงเหวี่ยงตามมาน้อยมากในการก้าวข้ามมาอีกตลาดหนึ่ง แม้จะมีเสียงคะแนนเป็นกลางยังไม่เลือกพรรคใด แต่จะตัดสินใจเลือกพรรคที่อยู่ในตลาดแข่งขันกันเองเฉพาะ เพราะความเป็นกลางนั้นทางการเมืองแบ่งเป็นกลางเขากลางเรา เช่น จะเลือกเพื่อไทยหรือก้าวไกล และจะเลือก พปชร.หรือ ปชป. รทสช.และภูมิใจไทย เป็นต้น

"ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีความพยายามอธิบายความขัดแย้งทางการเมืองแบบภาพใหญ่ เป็นการต่อสู้แบบขั้วตรงข้ามของฝ่ายการเมือง ยิ่งทักษิณ ชินวัตร ประกาศกลับบ้าน จึงเกิดปรากฎการณ์ลากพล.อ.ประยุทธ์ มาเป็นคู่ต่อสู้ และเป็นตัวแทนของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ดังนั้น ขั้วการเลือกตั้งจึงออกแบบขั้วตรงข้ามกัน ถ้าไม่เลือกทักษิณ ก็ต้องเอา พล.อ.ประยุทธ์ จึงทำให้พรรคการเมืองแนวกลางๆ ลำบากที่สุด”

นายจตุพร ย้ำว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะฝากความหวังไว้กับซีกใดซีกหนึ่งไม่ได้เลย เพราะเป็นเรื่องสมบัติชาติ การจัดสรรทรัพยากรของชาติ ดังนั้น การเลือกตั้งจึงมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนคนปล้นเท่านั้น ซึ่งประเทศชาติ ประชาชนจะไม่เหลืออะไรเลย สิ่งสำคัญในกระดานการเมืองประชาชนจะเห็นเพียง 30% ส่วนที่เหลือจะอยู่หลังฉาก แอบไปเจรจากันแล้วไม่มีภาพความเลวร้ายปรากฎ โดยประชาชนไม่รับรู้ เพราะตามไม่ทันเกมอำนาจลวง

ขณะเดียวกัน ได้ยกกรณีดีลทางการเมืองว่า การดีลหลายดีลทางการเมือง แต่ไม่มีภาพปรากฎ จึงไม่มีใครสนใจ ไปสนใจแต่ภาพที่ปรากฎเท่านั้น แล้วไม่มองปลายทางว่า ผลของการกระทำนั้นคืออะไร บางคนแถลงร่ำไห้ แต่เบื้องหลังกลับมาที่ห้องหัวเราะคิกๆ โดยนักการเมืองก็ถนัดแสดงเช่นกัน

นายจตุพร กล่าวว่า เราต้องการให้ประชาชนตามเท่าทันในลีลาต่างๆ ทางการเมือง เช่น ตนรู้ทัน พล.อ.ประยุทธ์ แต่ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ รู้ไม่ทัน และเมื่อชนะเลือกตั้งแล้ว ตนกลับเป็นคนนอก แต่เวลาต่อสู้กลับเป็นคนวงใน การเมืองเช่นนี้เหมือนการคิดเอาเปรียบ เอาประโยชน์ และคิดชนะ คิดเอาเอง ถ้าคิดแบบคนไม่เอาเปรียบแล้ว จะคิดได้ง่ายยิ่งขึ้น

"เหมือนคิดเอาเปรียบ จะชนะด้วยแลนด์สไลด์ เขาก็คิดยุบพรรคมาโต้ ถ้าบอกยุบแล้วหาพรรคใหม่ได้ เขาก็ยุบในเวลาไม่ทันหาพรรคใหม่ ดังนั้น เวลาคิดฝ่ายเดียวย่อมเลอเลิศประเสริฐศรี มีแต่ข่าวดีทั้งนั้น เป็นการคิดเอาแต่ได้ สร้างจินตนาการความเชื่อชนะมาหลอก แต่อีกฝ่ายคิดว่าจะทำให้เสียได้อย่างไร ดังนั้น ปรากฎการณ์คิดเพื่อหลอกคนอื่น แต่ตัวเองกลับเชื่อ และการคิดแบบนี้ยังมีอยู่ เราจึงบอกอย่ากระพริบตา"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'ปชน.' ตีปี๊บ! 1 ปีฝ่ายค้านผลงานเพียบ เมินเรตติ้งร่วง โต้ฮั้ว พท.

'พรรคประชาชน' โวผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี' เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ตั้งเป้าทำงานผสมผสานได้ทั้ง 'รุก-รับ' ปัดฮั้ว 'เพื่อไทย' เมินผลโพลคะแนนร่วง เปรียบ 'เตะบอล' ต้องรอจบ 90 นาที

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน