ส.ว.โหวตพรึ่บ! คว่ำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ


21 ก.พ.2566 - ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา(ส.ว.) ที่มีพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่1 เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร ในญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้มีการออกเสียงประชามติให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ดำเนินการ พร้อมรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)สามัญพิจารณาญัตติขอให้สภามีมติส่งเรื่องที่มีเหตุสมควรจะให้มีการออกเสียงประชามติให้ครม.ดำเนินการ ที่มีนายสมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นประธานกมธ.

ทั้งนี้ เนื้อหาในรายงานดังกล่าวคัดค้านไม่ให้ส่งเรื่องต่อไปยังครม. เพราะการทำประชมติดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เนื่องจากเป็นคำถามที่ไม่ชัดเจนอีกทั้งทำให้ประชาชนไม่เกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ชัดเจน

นายสมชาย กล่าวว่า การทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญตามข้อเสนอที่ให้ทำวันเดียวกับวันเลือกตั้งที่จะมาถึง กมธ.เห็นว่ามีความเป็นไปไม่ได้ เพราะกรอบการทำประชามติต้องดำเนินการภายในไม่น้อยกว่า 90 วัน แต่การเลือกตั้งหากยุบสภาต้องเลือกตั้งภายใน 45- 60 วัน หรือครบวาระต้องเลือกตั้งภายใน 45 วัน อีกทั้งจากการรับฟังการชี้แจงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทราบว่าต้องใช้งบประมาณ และเจ้าหน้าที่จำนวนมาก โดยในการเลือกตั้งที่จะมาถึงต้องมีหน่วยเลือกตั้ง 9 หมื่นหน่วย มีเจ้าหน้าที่หน่วยละ 9 คน ขณะที่การทำประชามติต้องมีเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการหน่วยละ 5 คน

"ขณะที่การทำประชามติต้องใช้งบประมาณมาก โดยกมธ.พิจารณาแล้วเห็นว่าต้องทำประชามติ 3 รอบ รอบแรก คือ ถามว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรมนูญหรือไม่ หาเห็นด้วยต้องกลับมาแก้ไขตามกระบวนของรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อให้มีองค์กรแก้ไขเนื้อหา จากนั้นต้องกลับไปทำประชามติ อีกครั้ง และเมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญอีกครั้งต้องทำประชามติอีก" นายสมชาย ระบุ

จากนั้น ที่ประชุมเปิดโอกาสให้ส.ว.ร่วมอภิปราย ซึ่งมีสมาชิกทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุนให้ส่งเรื่องขอทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต่อไปยังครม.

นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว. อภิปรายว่าตนสนับสนุนให้ออกเสียงเห็นชอบ เพราะตามกระบวนการของกฎหมายประชามติ ในหลักการกำหนดให้เป็นอำนาจของ ครม. ไม่ใช่วุฒิสภา ดังนั้นส.ว.ไม่ควรขัดขวาง

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ส.ว. อภิปรายสนับสนุนต่อการจัดให้มีการออกเสียงประชามติทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะมองว่าหากผลประชามติเห็นด้วยจะเป็นช่วงที่ส.ว.ชุดปัจจุบันมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ในเงื่อนไขที่ต้องใช้เสียง ส.ว.เห็นชอบด้วยจำนวน1 ใน 3 ซึ่งสามารถยับยั้งได้ แต่หากปล่อยให้อำนาจส.ว.หมดไป รอให้มีส.ว.ชุดใหม่ที่มาจากพรรคการเมือง ยิ่งแก้ไขง่ายกว่าปัจจุบัน และการกำหนดประเด็นคำถามสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. อภิปรายว่า หากมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อยากถามว่าสาระที่จะแก้ไข โดยเฉพาะหมวดหนึ่งว่าด้วยความมั่นคงของรัฐ และหมวดสองว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ถ้าแตะตรงนั้นประเทศไทยจะร้อนเป็นไฟ และอาจเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. อภิปรายว่า ถ้าไม่ผ่านญัตตินี้ ฝ่ายส.ส.จะหยิบอ้างว่าส.ว.ไม่เห็นเงาประชาชน อุตส่าห์ให้ประชาชนทำประชามติตัดสินใจจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ แต่ส.ว.กลับปิดทาง ซึ่งส.ส.จะนำไปกล่าวอ้างในการหาเสียงว่า ส.ว.เอาพรรคนั้นไม่เอาพรรคนี้ ถามว่าเรารู้ทันหรือไม่การเมืองกำลังจะเอาสว.เป็นเครื่องมือในการสร้างคะแนนเสียง นี่คือการเมือง จึงอยากให้สว.ค่อยๆคิด นี่เป็นเพียงแค่ข้อเสนอจากทางสภาผู้แทนราษฎร จะทำได้หรือไม่อยู่ที่ครม. ดังนั้น เห็นด้วยที่ควรจะรับเรื่องนี้ไว้แล้วให้ไปดำเนินการในชั้นครม.ต่อไป ไม่มีเหตุผลที่จะไม่รับเรื่องนี้ ส.ว.แค่รับเรื่องเป็นสะพานทอดไปให้ครม.พิจารณาต่อ เราจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือในทางการเมืองเพื่อให้ส.ส.หยิบไปกล่าวอ้างได้

นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. อภิปรายว่า ถ้าเราเห็นด้วยต่อญัตตินี้ มีแต่ได้กับได้ เพราะอาจทำให้ส.ว.มีโอกาสมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจะทำให้วุฒิสภามีภาพพจน์ที่ดี อย่างน้อยที่สุดมีประชาธิปไตยในบางจุด และการเห็นด้วยให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ไม่ทำให้ใครเสียหาย แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ส.ว.จะเสียโอกาสสุดท้ายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเสียภาพพจน์ต่อวุฒิสภาอย่างยิ่ง เพียงแค่ข้อเสนอส.ว.แล้วยังปฏิเสธจะเป็นการเสริมภาพพจน์ที่คนภายนอกมองอยู่เดิม และเป็นการเติมใส่ไฟป้ายสีของพรรคการเมือง ดังนั้น ตนจึงเห็นด้วยอย่างยิ่งและสนับสนุนให้รับข้อเสนอของสภาผู้แทนราษฎร

จากนั้นเวลา 13.10 น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ให้สมาชิกลงมติ ปรากฎว่า ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ของส.ว. ไม่เห็นชอบผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎรขอทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญโดยส่งให้ครม.ดำเนินการ ด้วยคะแนน 157 ต่อ12 งดออกเสียง13 ไม่ออกเสียง 1 เสียง ทั้งนี้ ประธานวุฒิสภาจะได้แจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หนู’ ลั่นฟังแค่ ‘อิ๊งค์’ ยันร่วมรัฐบาลเป็นไฟต์บังคับ ‘ทักษิณ’ พูดไม่นำพา

"อนุทิน" ลั่น! รับสัญญาณจากนายกฯ อิ๊งค์เท่านั้น ยันที่ "ทักษิณ" พูดไม่ได้หมายถึงรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย "ท่านทักษิณพูดถึงพรรคที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผมก็ไม่นำพาไปฟังอะไรมาก"

'อนุทิน' ยันไม่ใส่ใจคำพูด 'ทักษิณ' โชว์ห้าวตะเพิดพรรคร่วมฯ ขอฟังแค่นายกฯอิ๊งค์

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการข่าวเที่ยง ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาพรรคเพื่อ

ไม่ต้องปิดบังอีกต่อไป! สื่ออาวุโส ชี้อำนาจเด็ดขาดนำมาซึ่งการฉ้อฉลแบบเบ็ดเสร็จ

นายเทพชัย หย่อง สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าไม่ต้องอ้อมค้อม ไปต้องปิดบังอีกต่อไป ใครใหญ่ที่สุดตอน