ในหลวง-พระราชินี ทรงเปิดศูนย์วิจัยฯ ‘ชนกาธิเบศรดำริ’ สร้างรายได้เกษตรพื้นที่สูง 168 ล้านบาท

12 ก.พ.2566- เวลา  18.42 น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ คณะข้าราชการ และประชาชน เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ 

การนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี  เสด็จพระราชดำเนินเข้าอาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ ชั้น 1 ทอดพระเนตรกิจกรรมการดำเนินงานของอาคารต่าง ๆ ผ่านระบบถ่ายทอดสัญญาณภาพ และทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานวิจัยของมูลนิธิโครงการหลวงที่เริ่มจากจุดเล็กๆสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ โดยมีผลสำเร็จจากงานวิจัย ระหว่างปีพุทธศักราช 2560-2565 มีองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนทางเทคโนโลยีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ 50 ชนิด 126 พันธุ์ ขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ 23 ศูนย์ สร้างรายได้กว่า 168 ล้านบาท และมีพันธุ์พืชที่ขึ้นทะเบียน18 ชนิด 40 พันธุ์ ดังนี้ ผัก ไม้ผล ไม้ดอก พืชไร่ และพืชเครื่องดื่ม มีการจดทะเบียนสิทธิบัตร6 รายการ ผลิตภัณฑ์ใหม่15 ชนิด โดยมีผลสำเร็จของงานวิจัยที่เป็นผลงานเด่น อาทิ กุหลาบ ดอกใหญ่ มีสีสันสะดุดตาปักแจกันได้นาน สตรอว์เบอร์รี่ซึ่งมี10 พันธุ์พระราชทานและสายพันธุ์ล่าสุดพระราชทาน89 ลักษณะเด่นคือมีสารอนุมูลอิสระ “แอโทไซยานิน” สูงกว่าพันธุ์ทั่วไป 1-2 เท่า จึงมีผลใหญ่ผิวสีแดงเข้ม คีนัวเป็นพืชใหม่ของประเทศไทยที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาชีวพันธุ์เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีทางการเกษตรสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ผลิตผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันมีชีวพันธุ์ที่ส่งเสริมเกษตรกรรวม 13 ชนิด และเครื่องต้นแบบตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในผลผลิต ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่จากงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจหาสารเคมีตกค้างได้อย่างแม่นยำและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานมีแผนขยายผลไปใช้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่อไป

นอกจากนี้ ทอดพระเนตรพืชพระราชทาน จากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ที่พระราชทานต้นเอเดลไวส์ ให้แก่โครงการหลวง นำมาขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ขณะนี้สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศไทย ที่สถานีดอยอินนท์ อ่างข่าง จนเจริญเติบโตและออกดอกได้มากกว่า 4,450 ต้น และอยู่ระหว่างการวิจัย นำดอกมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิว และเจนเทียน พันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับพระราชทานมาพร้อมเอเดลไวส์ ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและขยายพันธุ์เนื้อเยื่อ รวมทั้งพัฒนาเทคนิคการย้ายปลูกที่เหมาะสม และพืชพระราชทาน จาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้พระราชทานพืช 18 ชนิด44 พันธุ์ แบ่งเป็นกลุ่มไม้ผล4 ชนิด กลุ่มพืชสมุนไพร4ชนิด กลุ่มไม้ดอกเขตหนาว 1 ชนิด และกลุ่มพืชผัก9 ชนิด ได้ทดสอบการปลูกใน สถานีของโครงการหลวง5 แห่ง ซึ่งบางพืชสามารถนำไปขยายผลได้เลยทันที

ทั้งนี้ผลสำเร็จจากงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนทางเทคโนโลยีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ไม่ได้นำมาซึ่งคุณค่าทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ยังนำมามาสู่การการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสังคม โดยได้น้อมนำพระราชดำริใน สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ พระบรมรมราชชนนีพันปีหลวง มาสู่การพัฒนาหัตถกรรมโครงการหลวง ได้วิจัยความก้าวหน้าและพัฒนากัญชงให้มีต้นทุนต่ำด้วย การลดขั้นตอนการทำเส้นใย จึงทำให้ราคาจับต้องได้ เมื่อได้เส้นใยก็นำมาทอเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆโดยผสมกับเส้นใยธรรมชาติ อื่นๆย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยใช้กี่4แบบตามแต่ละชุมชน ด้านภาคสังคมมีโครงการวัคซีนวัยรุ่นเพราะบางพื้นที่อยู่ติดกับแนวชายแดนมีความเสี่ยงกับเยาวชนในเรื่องยาเสพติด ดังนั้นจึงเน้นสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนในพื้นที่ให้ห่างไกลจากยาเสพติดด้วยการสร้างผู้นำเยาวชนต้นแบบจำนวน150 คนเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นน้องให้ห่างไกลจากยาเสพติด ให้การสนับสนุนอาชีพเพื่อไม่หันกลับไปทำความผิดซ้ำ

ด้านสิ่งแวดล้อม โครงการสวมหมวกให้ดอย เป็นกลยุทธ์สร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรมีความหวงแหนป่าถ้าทำลายป่าก็ทำลายชีวิต ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ปลูกป่า3 อย่างประโยชน์4 อย่าง มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสร้างให้ชาวบ้านเกิดความรักแลพหวงแหนป่าไม้ จัดทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังใช้ดาร์ต้าเซ็นเตอร์อันเป็นจับพิกัดแปรงของเกษตร เพื่อติดตามการรอดตายของต้นไม้ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงเตรียมความพร้อมสู่การประเมินคาร์บอนเครดิต เพื่อคำนวณการลดการดูดซับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องอเนกประสงค์ ทรงรับฟังการถวายรายงานเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง “ชนกาธิเบศรดำริ” อันเป็นศูนย์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น และพระราชทานนามศูนย์วิจัย ฯ ว่า “ชนกาธิเบศรดำริ” มีความหมายว่า เป็นศูนย์รวมการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่สร้างประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนบนพื้นที่สูง ประชาชนในพื้นที่โดยรอบ และประชาชนโดยรวมของประเทศ  ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 21.9ไร่ ประกอบด้วย อาคารทำการ 7หลัง ได้แก่  1.อาคารอำนวยการ  2.อาคารปฏิบัติการ1 3.อาคารปฏิบัติการ 2,4.อาคารอารักขาพืช,5อาคารเมล็ดพันธุ์และแปรรูปสมุนไพร ,6อาคารเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพืช  และ7 อาคารดาต้า  เซ็นเตอร์ (DATA CENTER) 

ศูนย์วิจัย ฯ แห่งนี้  เริ่มก่อสร้างเมื่อต้นปี 2563 แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 การดำเนินงานภายใต้ศูนย์วิจัย ฯ ชนกาธิเบศรดำริ มีความครบถ้วนทั้งด้านการศึกษา  ค้นคว้า  การวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช อย่างครบวงจร การวิจัยและแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า การบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว รวมทั้งยังมุ่งสู่การเป็นสถานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ จากประสบการณ์ที่สั่งสมมามากกว่า 53 ปี พร้อมทั้งเผยแพร่พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  บรมนาถบพิตร  ในการพัฒนาพื้นที่สูง เพื่อประโยชน์ต่อทั้งชาวเขา ชาวเรา และชาวโลก ให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสด็จฯพระราชพิธีสมมงคล

"ในหลวง" เสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุเท่าสมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี

ในหลวง เสด็จฯพระราชพิธี 'สมมงคล' พระชนมายุ 26,469 วัน เท่ารัชกาลที่ 1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

'ในหลวง' พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 สำหรับลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็กแห่งชาติปี 2568 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2568

'ในหลวง' พระราชทานปฏิทินหลวง 2568 แก่พสกนิกรลงนามถวายพระพรในโอกาสปีใหม่ 

สำนักพระราชวัง เปิดให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะบุคคล องค์กร และประชาชน ลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2568 โดยที่อาคารหน่วยราชการในพระองค์

ในหลวง ทรงมีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย กรณีเครื่องบินเซจูแอร์ประสบอุบัติเหตุ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพ