Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP การรับรองหลักการในการนำใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปใช้ในทางปฏิบัติ การจัดทำฐานข้อมูลเอเปคเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการเดินทางเข้าเมือง และมาตรการสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเดินทาง การขยายกลุ่มผู้ใช้งานบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค แต่ผลสำเร็จที่สำคัญที่สุด แน่นอนว่าคือการที่ผู้นำจากทุกเขตเศรษฐกิจได้ร่วมรับรอง “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bangkok goals on Bio – Circular – Green (BCG) Economy” ด้วยความเชื่อมั่นร่วมกันว่า เศรษฐกิจ BCG จะนำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ไปสู่การพัฒนาที่แข็งแกร่ง สมดุล ปลอดภัย และยั่งยืน

เป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่ไทยริเริ่มและผลักดันผ่านการเสนอให้มีการจัดทำเป้าหมายกรุงเทพฯ เพื่อเป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานของเอเปค ผ่านการใช้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาเร่งกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายกรุงเทพฯ ยังสามารถใช้เป็นแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างครอบคลุม สมดุล และสร้างความเข้มแข็งให้ทุกเขตเศรษฐกิจพร้อมรับมือความท้าทายในอนาคต ทำให้มีการรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม สร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยและภูมิภาคในระยะยาว และยังส่งเสริมความพยายามในการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของโลกด้วย

เป้าหมายกรุงเทพว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG มุ่งขับเคลื่อน 4 เป้าหมาย ได้แก่ 1. จัดการกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสภาพอากาศเลวร้าย และภัยพิบัติธรรมชาติ 2. ต่อยอดการค้าการลงทุนที่ยั่งยืนและครอบคลุม 3. ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมถึงยับยั้งและทวงคืนการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ 4. บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้จะถูกขับเคลื่อนผ่าน 4 แนวทาง แนวทางแรกคือการมีกฎในการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยและฉับไวต่อสถานการณ์ โดยการปฏิรูปโครงสร้าง การปฏิบัติตามกฎอย่างดี และความร่วมมือทางกฎระหว่างประเทศ แนวทางที่สอง คือการเสริมสร้างศักยภาพผ่านการขับเคลื่อนความร่วมมือในทางปฏิบัติและทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสมัครใจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการส่งเสริมแรงงาน แนวทางที่สาม คือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดหาเงินทุน และการลงทุนอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และแนวทางสุดท้าย คือการมีเครือข่ายสำหรับความร่วมมือร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเงิน ภาควิชาการตลอดจนองค์การระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

เพื่อผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ ให้เป็นที่รับรู้ของทุกภาคส่วนในประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศได้จัดกิจกรรมเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum ขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 โดยมีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากภาคเอกชน ภาคธุรกิจ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และเยาวชน ที่ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ภายในประเทศ

กิจกรรมเสวนาเริ่มต้นด้วยการสรุปผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย โดยเฉพาะการรับรองเอกสารเป้าหมายกรุงเทพฯ ตามด้วยการนำเสนอบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการนำเป้าหมายกรุงเทพฯ ไปต่อยอดสู่การปฏิบัติจริง รวมไปถึงการหารือเกี่ยวกับศักยภาพ โอกาส และความท้าทายของการขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ โดยทุกภาคส่วนเน้นย้ำการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนระหว่างกันเพื่อการสร้างความตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายกรุงเทพฯ ในวงกว้าง โดยเห็นพ้องกันว่าการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความตระหนักรู้อย่างทั่วถึงจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายกรุงเทพฯ ภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาครัฐมีบทบาทหลักในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยการออกกฎระเบียบที่ชัดเจนและครอบคลุม การสร้างสิ่งจูงใจ อาทิ การปรับเพิ่มหรือลดภาษีในด้านที่เกี่ยวข้อง และการสื่อสารแนวทางการผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ ที่ชัดเจนให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่ภาคธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางตามเป้าหมายกรุงเทพฯ โดยตัวแทนภาคธุรกิจได้เสนอแนวทางการจัดทำธุรกิจที่มีความยั่งยืนต่าง ๆ อาทิการออกแบบธุรกิจหมุนเวียนที่จะไม่ทำให้เกิดขยะ หรือการสร้างแพลตฟอร์มอย่าง “Happy Grocers” ที่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์และเกษตรกรรายย่อยเข้าถึงตลาดของตนได้

ในส่วนของสื่อมวลชนและเยาวชนสามารถมีบทบาทนำในการสร้างความตระหนักรู้ โดยตัวแทนภาคเยาวชนอย่างคุณเอริกา เมษินทรีย์ เช็น ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Youth in Charge ยืนยันจากการลงพื้นที่ว่า ได้มีการดำเนินแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ในระดับเยาวชนในภูมิภาคต่าง ๆ แล้ว ซึ่งจะนำมาสู่การผลักดันเป้าหมายกรุงเทพฯ
แบบ
bottom up ได้ หากได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้แทนสื่อมวลชน แนะ 2 แนวทางว่าการสร้างความตระหนักรู้ให้เข้าถึงภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่การทำให้เรียบง่าย (simplification) และการทำให้วัดเชิงประมาณได้จริง (quantifiable) ซึ่งคุณทรงกลด บางยี่ขัน ผู้ก่อตั้ง The Cloud ก็เห็นไปในทางเดียวกันว่าการมีกรณีศึกษาที่เห็นภาพจะทำให้ประชาชนสนใจและเข้าถึงประเด็นนี้ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น เห็นได้ว่า หากทุกภาคส่วนร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การผลักดันให้เป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นที่รับรู้และเกิดการขับเคลื่อนในระดับประเทศย่อมเกิดขึ้นได้

ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศนั้น ในขั้นตอนต่อไป กระทรวงฯ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการปฏิบัติตามเป้าหมายกรุงเทพฯ อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการใช้ประโยชน์จากกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และผลักดันการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามเป้าหมายกรุงเทพฯ อย่างบูรณาการระหว่างทุกภาคส่วน นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2566 ก็ได้แสดงความตั้งมั่นว่าจะนำเป้าหมายกรุงเทพฯ ไปสานต่อในทุกกลไกของการประชุมเอเปคอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่า เป้าหมายกรุงเทพฯ จะมิได้เป็นผลสำเร็จระดับประเทศของไทยเท่านั้น แต่เป้าหมายกรุงเทพฯ สามารถนำไปต่อยอด
เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯอิ๊งค์ลั่นประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยช่วงเวลา 18 นาฬิกาของวันนี้ (วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน) ตามเวลาเปรู ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 ชั่วโมง โดยจะถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ประมาณ 11 นาฬิกา ตามเวลาในประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สรุปภาพรวมภารกิจ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ดังนี้

'อุ๊งอิ๊งออนทัวร์' เตรียมบินไปจีนแก้ปัญหาแก๊งเทา ลัดฟ้าไปเปรู ประชุมเอเปค

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเข้าร่

'คำป่าหลายโมเดล' ตีแผ่ 'นโยบายฟอกเขียว' ขยายวงกว้างแย่งยึดที่ดินทำกินชาวบ้าน

ยกขบวนชี้หลุมพรางใหญ่ BCG นโยบายฟอกเขียว – คาร์บอนเครดิต นำไปสู่ปัญหาการแย่งยึดที่ดินในวงกว้าง ผลักประชาชนให้ตกสู่ภาวะความยากจนเรื้อรัง หนุนรัฐบาลให้อำนาจประชาชนในการจัดการทรัพยากร

เดอะมอลล์ กรุ๊ป หนุน กทม. ลดฝุ่นพิษ เพิ่มสถานีชาร์จรถEV

2 ก.พ.2567 - วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่าเดอะมอลล์  กรุ๊ป ในฐานะองค์กรแห่งความยั่งยืนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้แนวคิด ESG  ตอกย้ำการเป็นศูนย์การค้ารักษ์โลกขานรับนโยบายกรุงเทพมหานครในโครงการ“

‘สุริยะ’เล็งใช้เวทีเอเปคสหรัฐฯ 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’

‘สุริยะ’เตรียมใช้เวทีเอเปคสหรัฐอเมริกา 11 - 17 พ.ย.นี้ ประเดิมโรดโชว์ ‘แลนด์บริดจ์’ ดึงต่างชาติร่วมลงทุนบิ๊กโปรเจกต์ 1 ล้านล้านบาท คาดผลักดัน พรบ.พัฒนาพื้นที่พิเศษภาคใต้แล้วเสร็จในปี67 ก่อนเดินหน้าเปิดประมูล

ดีไซเนอร์ชื่อดังต่อยอด'บาติก'สู่แฟชั่นทันสมัยและยั่งยืน

ผ้าบาติกนับเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้ เป็นมรดกวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจนทุกวันนี้ เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) นำศิลปินนักออกแบบเครื่องแต่งกายมากความสามารถจับคู่กับชุมชนผู้ผลิตผ้าบาติกส่งเสริมความสามารถ