ชี้ ‘จตุพร เอฟเฟกต์’ มีผลมาก ในทางการเมืองห้วงเวลานี้

แฟ้มภาพ

29 ม.ค.2566-ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการวิจัย สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง นายกรัฐมนตรีที่ใช่ พรรคการเมืองที่ชอบ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 3,740 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-28 ม.ค. 2566 พบว่าเมื่อถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน ร้อยละ 36.0 ระบุดูที่ตัวผู้สมัครในเขตเลือกตั้ง ลงพื้นที่ตลอด ช่วยเหลือชาวบ้านตลอด ร้อยละ 28.1 ดูที่กระสุน เงิน ทรัพย์ ร้อยละ 26.1 ดูที่นโยบายพรรค และร้อยละ 18.9 ดูที่ กระแส ความนิยมต่อพรรค ตามลำดับ

ที่น่าสนใจคือ บุคคลที่ใช่เลยนายกรัฐมนตรีคนต่อไปจำแนกตามภูมิภาค พบว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ยังคงยึดครองสูงสุดที่ภาคเหนือและภาคอีสาน ร้อยละ 43.6 รองลงมาคือ ภาคอีสานร้อยละ 25.7 ภาคใต้ร้อยละ 17.2 กรุงเทพมหานครร้อยละ 12.9 และภาคกลางน้อยสุดคือ ร้อยละ 8.6 ในขณะที่ นายอนุทิน  ชาญวีรกูล มีฐานสนับสนุนมาแรงในทุกภาค มากที่สุดในภาคกลาง ร้อยละ 44.6 และภาคเหนือร้อยละ 38.5 ภาคอีสานได้ร้อยละ 24.8 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 25.8 และภาคใต้ได้ร้อยละ 21.5 ตามลำดับ

พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ได้มากสุดในกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 32.3 แต่ภาคอื่น ๆ ไม่โดดเด่น คือ ภาคกลางได้ร้อยละ 15.1 ภาคอีสานได้ร้อยละ 11.7 ภาคเหนือได้ร้อยละ 9.0 และภาคใต้ได้ร้อยละ 8.6 ในขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้มากสุดคือ ภาคใต้ร้อยละ 34.4 รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 17.3 อีสานได้ร้อยละ 8.9 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 6.5 และภาคเหนือได้ร้อยละ 2.6 นอกจากนี้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ภาคใต้ร้อยละ 9.7 ภาคอีสานร้อยละ 8.9 กรุงเทพมหานครร้อยละ 6.5 ภาคกลางร้อยละ 5.0 และภาคเหนือร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ที่เหลือเป็นอื่น ๆ และยังไม่ตัดสินใจ เฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง จำแนกตามภูมิภาค พบว่า พรรคเพื่อไทย ยังครองสูงสุดที่ภาคอีสานคือร้อยละ 54.2 รองลงมาคือ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 32.1 ภาคเหนือร้อยละ 25.4 ภาคกลางร้อยละ 15.2 และภาคใต้ ร้อยละ 14.8 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคภูมิใจไทยได้คะแนนสูงสุดในภาคอื่น ๆ หลายภาค เช่น ภาคกลางร้อยละ 28.8 ภาคเหนือร้อยละ 26.5 ภาคใต้ร้อยละ 26.0 กรุงเทพมหานครร้อยละ 20.9 และภาคอีสานร้อยละ 14.0 ตามลำดับ

ที่น่าสนใจคือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มากสุดคือร้อยละ 33.7 ในขณะที่ภาคอื่น ๆ มีสัดส่วนไม่มากนักคือ กรุงเทพมหานครร้อยละ 16.7 ภาคเหนือร้อยละ 14.9 ภาคกลางร้อยละ 6.1 และภาคอีสานร้อยละ 7.5 ตามลำดับ ส่วนของพรรคพลังประชารัฐที่อยู่ในช่วงเปราะบาง คือ ภาคกลางได้ร้อยละ 23.5 ภาคใต้ร้อยละ 9.5 ภาคเหนือร้อยละ 8.8 ภาคอีสานร้อยละ 8.4 และกรุงเทพมหานครร้อยละ 8.3 ตามลำดับ ในส่วนของพรรคก้าวไกล มีฐานในกรุงเทพมหานครร้อยละ 8.6 ภาคกลางร้อยละ 6.1 ภาคเหนือร้อยละ 5.0 อีสานร้อยละ 3.7 และภาคใต้ร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรครวมไทยสร้างชาติ มีสัดส่วนแผ่วเบาหวิว ได้ในภาคกลางร้อยละ 4.5 ภาคใต้ร้อยละ 4.1 ภาคเหนือร้อยละ 3.3 กรุงเทพมหานครร้อยละ 1.2 และภาคอีสานร้อยละ 0.9 ตามลำดับ

ดร.นพดล กล่าวว่า ผลกระทบทางการเมืองจากนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง โจมตี อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มีผลกระทบร้อยละ 67.7 ในขณะที่ไม่มีผลร้อยละ 32.3 จึงอาจเป็นไปได้ว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนนิยมทั้งตัวบุคคลผู้เสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีและพรรคการเมืองในแต่ละภูมิภาค เช่น ภาพลักษณ์ส่วนตัว ความเชื่อมโยงกับบุคคลอ้างอิงเครือญาติ พรรคพวกที่ส่งผลต่อความรู้สึกของประชาชน ผู้สมัครของพรรคในเขตเลือกตั้ง นโยบายพรรค กระแสและกระสุน ย่อมมีผลผสมผสานมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น

“ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรค กับ ฐานนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่น คะแนนนิยมของประชาชนต่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ แผ่วเบามากในแต่ละภาค แต่ คะแนนนิยมของประชาชนต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลับมีมากสุดในกรุงเทพมหานครประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ในขณะที่คะแนนนิยมของประชาชนต่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยที่ได้รับมากในหลายภูมิภาคและสูงสุดในภาคกลาง และนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ที่ได้รับมากสุดในภาคเหนือ ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ได้มากสุดในภาคใต้ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามในภาคใต้ ที่น่าพิจารณาคือ จตุพร เอฟเฟกต์ ที่มีผลค่อนข้างมากในทางการเมืองในห้วงเวลานี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปูด! ส่อเขี่ย 'พีระพันธุ์' ดึงปชน.มาเสริม ปลด 'ภูมิธรรม' นายทหารยศไม่สูงเสียบแทน

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน โพสต์เฟซบุ๊คว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และรมว.พลังงาน จากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) มีแววจะถูกปรับออกจาก ครม.

'จตุพร' ซัด 'ทักษิณ' สติแตก โต้ 'ผมเป็นหนี้อะไรนักหนาสู้ให้จนติดคุก 5 ครั้ง' คงทดแทนพอแล้ว

'จตุพร' ซัด 'ทักษิณ' สติแตก อารมณ์อึดอัดพลุกพล่าน พูดกราดเกรี้ยวดุดัน โชว์ถ่อยเป็นพ่อไม่ไว้หน้านายกฯ ลูกสาว จวกปราศรัยเหวี่ยงแห ดุด่าสองแง่สามง่าม ยัดเยียดสารพัดเนรคุณ ย้อนแสบทดแทนบุญคุณนักสู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บหรือยัง ลั่น 'ผมเป็นหนี้อะไรนักหนา' สู้ให้จนติดคุก 5 ครั้ง ชีวิตผจญชะตากรรมไม่รู้จบ บ้านรอถูกยึด คงทดแทนกันพอแล้วมั้ง

จตุพรชี้ รัฐบาลพ่อเลี้ยง ขาดพ่อก็จบ ไม่มีคนเกรงใจ

“จตุพร” ชำแหละรัฐบาลพ่อเลี้ยง สะท้อนนายกฯ ยังละอ่อนการเมือง ฉะพ่อก้าวร้าว อาละวาดตบจูบทำเสมือนเป็นนายกฯ ตัวจริง ส่วนลูกแค่ร่างทรง เชื่อขาดพ่อรัฐบาลก็จบ จับตาเชือด “พีระพัง” หลังปีใหม่ ระบุขวางผลประโยชน์กลุ่มทุนผูกขาด ซัดสหายใหญ่ ทำตัวเป็นแมวเสียศักดิ์ศรีคุมกลาโหม ชมฉายา “อนุทิน- รมต.น้ำ” รู้เท่าทันสถานการณ์บังคับให้เล่นเป็น อยู่ได้ ชี้นายกฯ แพทองโพย เอาแต่อ่านทำภาพลักษณ์ผู้นำหายหมด

การเมืองมกรา’68 พรรคร่วมร้อนรุ่มแตกหัก ‘ทักษิณ’ หนาวสะท้านชั้น 14

ทักษิณขยี้หนัก โชว์ภาพตีกอล์ฟขนาบข้างทุนผูกขาด ส่อสื่อสัญญาณรุก “พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ” คาดชะตากรรมไม่แตกต่าง “ประวิตร-พปชร.” ประเมินปี 68 ปมชั้น 14 ทำการเมืองร้อนแรง

'จตุพร' ฉะ 'ทักษิณ' เดินเกมการเมืองอบจ. แบบตีท้ายครัว ใช้นโยบายปราบผู้มีอิทธิพลเพื่อต้อนเข้าคอก

นายจตุพร​ พรหมพันธุ์​  กล่าวถึงบทบาทของนายทักษิณ​ ชิน​วัตร​ อดีต​นายก​รัฐมนตรี​ ในการเป็นผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.ของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ต่างๆ ว่า​ จากคำพูดของ ร.อ.ธรรมนัส​ พรหมเผ่า​ สส.พะเยา ที่ออกมาระบุว่าได้พานายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์