นับหนึ่งเลือกตั้ง กกต.ถกจันทร์นี้ จ่อเคาะระเบียบเลือกตั้งส.ส.ฉบับใหม่ ปมร้อน”แบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ” กกต.กรุงเทพมหานคร ลั่น 33 เขต ไม่คิดเองทำเอง ยึดหลักการแน่น
29 ม.ค.2566-ภายหลังมีการประกาศใช้พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญสองฉบับคือพรบ.การเลือกตั้งส.ส. และพรบ.พรรคการเมือง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่แก้ไขให้สอดคล้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราก่อนหน้านี้ ที่เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากบัตรใบเดียวเป็นสองใบ และมีส.ส.เขต เพิ่มจาก 350 คนเป็น 400 คน โดยลดจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อลงจาก 150 คนเหลือ 100 คนนั้น
นายสำราญ ตันพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรุงเทพมหานคร กล่าวถึง ขั้นตอนในการเตรียมการเลือกตั้งต่อจากนี้ว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร จะดำเนินการเหมือนกับกกต.จังหวัดอื่น คือเป็นฝ่ายที่ต้องปฏิบัติงานด้านธุรการต่างๆ ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งในเรื่องการเตรียมการแบ่งเขตเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทางสำนักงานเลือกตั้ง ประจำกรุงเทพมหานครได้เตรียมพร้อมไว้หมดแล้วไม่น้อยกว่า 3 รูปแบบตามระเบียบที่วางไว้
“แต่จริงๆ กกต.กทม.ทำไว้ประมาณ 5-6 รูปแบบ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่เปิดเผยไม่ได้เพราะพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่แก้ไขทั้งสองฉบับยังไม่มีการประกาศใช้ แต่เมื่อพรบ.การเลือกตั้งส.ส.และพรบ.พรรคการเมือง มีการประกาศและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม ตอนนี้ก็ต้องรอระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต.กลางจะประกาศออกมารองรับการประกาศใช้กฎหมายลูกทั้งสองฉบับ ซึ่งเข้าใจว่าภายใน 2-3 วันนี้ ทางกกต.จะพิจารณาระเบียบดังกล่าว ที่เข้าใจว่ากกต.กลางได้เตรียมการไว้พร้อมหมดแล้วเช่นกัน”
นายสำราญกล่าวว่า พอระเบียบดังกล่าวประกาศใช้ ทางสำนักงานกกต.กลาง ก็จะสั่งให้ กกต.ระดับจังหวัด ดำเนินการในหลายเรื่องพร้อมกันทันทีเช่นการแบ่งเขตเลือกตั้ง -การให้ปิดประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดให้ปิดประกาศเมื่อใดเพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนในเขตเลือกตั้งและจากพรรคการเมือง ซึ่งขั้นตอนรับฟังความเห็นดังกล่าว ต้องใช้เวลาสิบวันในการรับฟังความเห็น ทั้งหมดทางเราเตรียมการไว้หมดแล้ว ส่วนระเบียบที่จะออกมารองรบการแบ่งเขตเลือกตั้ง อาจจะเป็นระเบียบว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะหรือจะเป็นระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งในภาพรวม ที่จะมีการแบ่งเขตเลือกตั้งรวมอยู่ด้วย
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกระบวนการปิดประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้งว่า ทุกจังหวัดก็จะต้องดำเนินการเหมือนกันหมด โดยนำไปปิดไว้ตามสถานที่ราชการต่างๆเช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลากทม. ที่ว่าการเขต ที่ว่าการอำเภอ และในเว็บไซด์ ซึ่งกฎหมายรองรับ
“การแบ่งเขตเลือกตั้ง ไม่ได้แบ่งแบบคิดเองทำเอง แต่ว่าไปตามกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ฯ เช่น ต้องให้การคมนาคมเกิดความสะดวกของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่แบ่งแยกพื้นที่ตำบลหรือแขวงออกมา ไม่ทำให้สูญเสียสังคมหรือความเป็นชุมชนดั้งเดิม คำนึงถึงเขตเลือกตั้งเดิมที่เคยประกาศมาก่อน และต้องให้จำนวนราษฎรในเขตที่แบ่งมีความใกล้เคียงกัน โดยต้องนำการแบ่งเขตดังกล่าวไปปิดประกาศไว้เป็นเวลาสิบวัน ซึ่งการแบ่งเขต ระเบียบเขียนไว้ว่าไม่น้อยกว่าสามรูปแบบ คืออาจจะแบ่งเขตไว้มากกว่านั้นเช่น ห้ารูปแบบ หรือหกรูปแบบก็ได้ หากจังหวัดไหนมีศักยภาพดำเนินการได้แค่ไหนก็ดำเนินการไปตามนั้น จากนั้นพอครบสิบวัน ก็รวบรวมความคิดเห็นของพรรคการเมือง และประชาชนในเขตเลือกตั้ง แล้วพิจารณารูปแบบที่ประกาศประกอบความคิดเห็นที่เป็นสาระสำคัญแล้วมาจัดเรียงลำดับว่ารูปแบบการแบ่งเขตแบบไหนที่น่าจะเหมาะสมที่สุด โดยต้องทำภายในสามวัน จากนั้นก็ส่งให้กกต.กลาง เพื่อพิจารณาว่าจะเอารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบใด ที่เป็นอำนาจของกกต.กลาง ซึ่งพอกกต.พิจารณาแล้วเสร็จ ก็จะประกาศการแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 เขตทั่วประเทศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ส่วนจะประกาศได้เมื่อใดเป็นเรื่องกกต.กลางจะเป็นผู้พิจารณา”
อนึ่งกรุงเทพมหานคร จะมีส.ส.เขตเพิ่มขึ้นจากตอนเลือกตั้งปี 2562 โดยเพิ่มมา 3 คน จากเดิม 30 คน ซึ่งขณะนี้หลายพรรคการเมือง นักการเมืองหลายคน กำลังรอการประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะคนที่มีข่าวว่า การเลือกตั้งรอบนี้ อาจจะหันมาลงสมัครส.ส.ระบบเขต กทม.ไม่ได้ไปลงปาร์ตี้ลิสต์เช่น กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ที่มีกระแสข่าวว่าอาจจะลงสมัครส.ส.เขตกทม.ในพื้นที่กทม.โซนชั้นใน เป็นต้น
มีรายงานว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีการประชุมประจำสัปดาห์ในวันจันทร์และอังคารที่ 30-31 มกราคมนี้ ที่คาดว่าจะมีการพิจารณาการออกระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ฯ เพื่อรองรับการประกาศใช้กฎหมายลูกทั้งสองฉบับ โดยจะเป็นระเบียบใหม่ ที่จะเป็นระเบียบที่มีการแก้ไขปรับปรุงใหม่จากระเบียบเดิม คือ ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 เพื่อให้สอดคล้องกับกติกาการเลือกตั้งที่เปลี่ยนใหม่เช่น การที่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่จากที่ตอนเลือกตั้งปี 2561 มี 350 เขต แต่การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นจะมี 400 เขต ทำให้ก็จะมีการออกระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.พ.ศ. 2566 ขึ้นมาแทน
ทั้งนี้ตามระเบียบการแบ่งเขตเลือกตั้งเดิม ที่อยู่ในระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.พ.ศ. 2561 เขียนไว้ว่า กระบวนการแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด ประกาศรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อยสามรูปแบบเพื่อรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลาสิบวัน นับแต่วันปิดประกาศ
ซึ่งแต่ละรูปแบบต้องประกอบด้วย (1) รายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือตำบล หรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขต (2) จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งจากจำนวนเฉลี่ยราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดนั้น (3) เหตุผลประกอบการเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้ง (4) แผนที่แสดงรายละเอียดของพื้นที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขตเลือกตั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อังกินันทน์' ชนะขาด! ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.เพชรบุรี'
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ) ณ เวลา 23.59 น. โดยนับครบแล้วทั้ง 734 หน่วยเลือกตั้ง
'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง
ประกาศผลนับคะแนนเลือกตั้ง 'นายก อบจ.อุดรธานี' อย่างไม่เป็นทางการ
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี
ทักษิณรอดคลุมปี๊บ! ส้มเหลวปักธงอุดรธานี ‘คนคอน’ตบหน้า‘ปชป.’
เลือกตั้ง อบจ. 3 จังหวัด “เพชรบุรี-อุดรธานี-นครศรีธรรมราช” ราบรื่น
ปิดหีบศึกนายกฯ อบจ.3 จังหวัด ภาพรวมใช้สิทธิน้อย 3 ทุ่มรู้ผล
'เลขาฯ กกต.' เผย ภาพรวม เลือกตั้ง นายกฯ อบจ. 3 จังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย คาด รู้ผลไม่เป็นทางการ 3 ทุ่ม
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ