ส.ว. เสนอจ่ายคนละ 500 บาท ค่าเดินทางไปเลือกตั้ง หวังช่วยแก้ปัญหาซื้อเสียง

"วุฒิสภา" ถก รายงานกมธ. ปมเลือกตั้งสุจริต หนุน จ่ายค่าเดินทางคนละ500 บาท สร้างประชาธิปไตยกินได้ - สำนึกตอบแทนคุณแผ่นดิน เลือกคนดี ด้าน "จรุงวิทย์" รับมีโกงเลือกตั้ง แนะ กกต. เปิดแนวรบระดับหมู่บ้าน

23 ม.ค.2566 - ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณารายงานการศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมและการพัฒนาการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรม โดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. เป็นประธานกมธ. ได้พิจารณาแล้วเสร็จ

ทั้งนี้ในการนำเสนอรายงาน โดยว่าที่ ร.ต.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี ส.ว. ฐานะเลขานุการ กมธ. ย้ำเนื้อหารายงานที่มีผลศึกษาจากการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ที่ผ่านมา ว่า ยอมรับว่าการเลือกตั้งส.ส.นั้น ไม่สุจริตเที่ยงธรรม พบข้อเท็จจริงว่าทุกเขตเลือกตั้งที่ศึกษามีการซื้อหัวคะแนนล่วงหน้า โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นพบการซื้อหัวคะแนนรายละ 20,000 บาท ขณะที่การจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำผิดกฎหมาเลือกตั้ง พบปัญหา โดยเฉพาะการได้เบาะแสเพื่อนำไปสู่การดำเนินคดีกับผู้สมัครที่ซื้อเสียง หรือผู้ที่ถูกใช้ให้ไปซื้อเสียง เช่น ในการเลือกตั้ง จ.ฉะเชิงเทรา พบว่า ลูกถ่ายคลิป พ่อรับเงิน เมื่อแจ้งไปยัง กกต. พบว่า พ่อติดคุก ผู้สมัครได้ใบเหลือง และไม่สามารถเอาผิดคนทำผิดได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องมีกฎหมายเพื่อกันผู้ให้เบาะแสไว้เป็นพยาน และมีรางวัลค่าตอบแทน

ว่าที่ร.ต.วงศ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาการรับเงินของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นเรื่องของความจำเป็น เพราะปัญหาโควิดและเศรษฐกิจ ดังนัั้นกมธ.มีข้อเสนอให้ กกต. หรือภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จ่ายค่าเดินทางให้ผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งคนละ 500 บาท เบื้องต้นจะใช้เงิน 2หมื่นล้านบาทจากคาดการณ์ที่จะมีผู้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 40 ล้านคน จากผู้มีสิทธิทั้งสิ้น 66 ล้านคน

“นโยบายของรัฐบาล ให้เงิน 200 - 500 บาท ต่อเดือน ใช้เงินปีละแสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นการให้ค่าเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่ 4 ปีมีครั้ง จะทำให้ประชาชนได้ตอบแทนคุณแผ่นดินตอบแทนหลวงให้คนเลือกคนดี มีความรู้ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง เพราะยอมรับว่าในต่างจังหวัดต้องเดินทางไกล มีค่าใช้จ่าย 80- 100 บาท ดังนั้นควรให้เขารู้สึกว่าประชาธิปไตยกินได้ ตั้งแต่วันที่ออกมาใช้สิทธิ” ว่าที่ร.ต.วงศ์สยาม กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานส.ว.ได้อภิปรายสนับสนุนเนื้อหา พร้อมแสดงความกังวลต่อการเลือกตั้งที่เป็นธุรกิจการเมือง ใช้เงินซื้อเสียง ขณะที่การทำงานของ กกต. โดยเฉพาะ กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่ไม่มีความรู้และไม่สามารถควบคุมการเลือกตั้งที่สุจริตได้ จึงมีข้อเสนอให้ กกต. ปรับวิธีทำงาน โดยเฉพาะการจับตาหัวคะแนนนักการเมืองที่เป็นผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

นายถาวร เทพวิมลเพชรกุล ส.ว. อภิปรายว่า ขอสนับสนุนให้ กกต.จ่ายค่าเดินทางเพื่อตอบแทนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รายละ 500บาท พร้อมตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้งที่ปราบปรามไม่ได้ เนื่องจาก กกต. ประจำหน่วย หรือผู้อำนวยการเลือกตั้งในพื้นที่ไม่มีความรู้ ควบคุมการเลือกตั้งให้ยุติธรรมไม่ได้ พร้อมระบุว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาบางพื้นที่พบว่ามีนายตำรวจเป็นหัวคะแนน ทำหน้าที่จ่ายเงินซื้อเสียง

ขณะที่นายจรุงวิทย์ ภุมมา ส.ว. ในฐานะอดีตเลขาธิการ กกต. ฐานะกมธ. ชี้แจงว่า ในการเลือกตั้งล่วงหน้าตามต่างจังหวัดมีการทุจริต ส่วนประเด็นที่เคยเป็นปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร การขนหีบบัตรเลือกตั้งไม่ทันเวลาปิดหีบ ซึ่งตามกฎหมายให้ถือเป็นบัตรเสีย ดังนั้นต้องถามกระทรวงการต่างประเทศว่ามีความพร้อมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือไม่

นายจรุงวิทย์ กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมา กระบวนการป้องกันการซื้อเสียงได้ดำเนินการมาต่อเนื่อง แต่ตนมองว่าขณะนี้ต้องเปิดแนวรบที่หมู่บ้าน โดยกกต.ต้องประสานติดป้ายในหมู่บ้าน แจ้งประชาชนให้ทราบถึงการได้รางวัลตอบแทนหากแจ้งเบาะแสคนซื้อเสียง จำนวน 1แสนบาท เพราะที่ผ่านมาพบการสอบสวน และทำได้แค่แจกใบเหลือง ใบแดงเท่านั้น โดยที่ผ่านมาพบว่าการตรวจสอบของกกต.ยังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีกลับอีก ดังนั้นตนเชื่อว่าหากเปิดแนวรบที่หมู่บ้าานได้จะทำให้เห็นว่าในชาตินี้เลือกตั้งไม่ซื้อเสียงเกิดขึ้นจริง

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. อภิปรายว่า นักการเมืองปัจจุบันเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ทั้งการแจกกล้วย และจ่ายเงินซื้อตัว ทำให้เชื่อว่าการเลือกตั้งที่จะถึงประชาชนจะเลือกเพราะการแจกกล้วยมากกว่าเลือกคนดี ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ได้พบกับนักการเมืองท้องถิ่น ได้ทราบถึงประเด็นข้อเเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ ยกเลิกการจำกัดวาระของนายก อบต. และเทศบาล รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ที่จำกัดอายุไม่เกิน 60 ปี ดังนั้นหากรัฐบาลชุดต่อไปเสนอแก้รัฐธรรมนุญ ตนจะนำเสนอปลดล็อคการจำกัดวาระดำรงตำแหน่งของนักการเมืองท้องถิ่น และพิจารณาแก้ไขว่าด้วยคุณสมบัติของ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่ต่ออายุออกไปอีก 4 ปี จากเดิมที่กำหนดให้ครบวาระเมื่ออายุ 60 ปี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นันทนา' คึก! ลั่นปฏิบัติการ สว.เล็กเปลี่ยนสภา

น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะแกนนำสว.พันธุ์ใหม่ ซึ่งถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ปฏิ

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

ก้าวไกลเพ้อชนะยุบพรรค!

ใจดีสู้เสือ! "ชัยธวัช" เชื่อ "ก้าวไกล" มีโอกาสชนะสูง อ้างยิ่งศาล รธน.ปิดไต่สวน "คดียุบพรรค" ก็ยิ่งมั่นใจในคำแถลงปิดคดี ปลุกกองเชียร์ 7 ส.ค.

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน

'ก้าวไกล' มองคดียุบพรรคไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตอนนี้เตรียมพร้อมเป็นรัฐบาล เลือกตั้งครั้งหน้า

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวเปิด 3 วิสัยทัศน์พัฒนาเชียงใหม่ พร้อมกับเปิดตัว นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ว่

'เปรมศักดิ์' ชี้ประธานวุฒิสภา ต้องไม่ถูกครอบงำจากสส.-พรรคการเมือง

"หมอเปรม" ชี้ เลือกประธาน-รองประธานวุฒิสภาไม่ควรรวมก๊วนต่อรอง เรียกร้อง 200 สว.ฟังวิสัยทัศน์ก่อนโหวต -ไม่สนใบสั่ง แนะคนเป็น”ปธ.สภาสูง”ต้องมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกครอบงำจาก สส.-พรรคการเมือง รับหากถูกเสนอชื่อ คงเซอร์ไพรส์มาก