18 ม.ค.2566 - ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า น้องอยากไปต่อ เพื่อสานงานต่อ ไม่ได้อยากเป็นใหญ่ แต่ประเทศไทยจะต้องไปต่อ ยังมีงานที่ต้องสานต่อ เพื่อประเทศชาติและประชาชน
แล้วพี่อยากไปต่อ เพื่ออะไร ตอนนั้นก็บอกว่าน้องขับ พี่แค่นั่งมา แล้วใครบังคับให้นั่งมา จะลงตอนไหนก็ได้ ทำไมไม่ลง แล้วตอนนี้น้องไป ทำไมพี่จึงลุกขึ้นมาขับเอง
น้องจำเป็นต้องมีตำแหน่ง มีอำนาจ เพราะอยากทำงานเพื่อบ้านเมือง และพูดชัดเจนว่า "อำนาจต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ" และทำงานเพื่อชาติเพื่อประชาชน
พี่อยากมีตำแหน่งเพื่ออะไร ก็ไม่อยากนั่งรถมาด้วย น้องไปขับรถคันอื่นแล้ว ทำไมไม่จอดรถไว้ในอู่ ออกมาขับเองทำไม ดูสังขารแล้ว ขับไหวเหรอคะ
น้องตีตนจากไปเพราะอะไร พี่น่าจะรูอยู่แก่ใจ พี่รัก "ลูกน้อง" ที่สอพลอมากกว่าน้อง เวลาลูกน้องคิดทำลายน้อง พี่ทำอะไรที่ปกป้องน้องบ้าง พี่ถือหางข้างไหน
ตอนพี่นั่งรถมากับน้อง มีคนไม่พอใจ เพราะพี่ไม่ใช่คนโดยสารที่ดี มีคนเขาอยากให้น้องไล่พี่ลง แต่น้องเคารพพี่จึงไม่ไล่ ยอมให้พี่เป็นเหมือนกรวดในรองเท้ามาหลายปี พอกันทีนะพี่ ต่างคนต่างไปน่ะดีแล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ณัฐวุฒิ’ แจงปมถูกตั้งเป็นที่ปรึกษาของนายกฯ อาจทำ ‘อิ๊งค์‘ ตกเก้าอี้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีทั้งนักร้องและกลุ่ม
เอาแล้ว 'อิ๊งค์' มีสิทธิ์หลุดเก้าอี้นายกฯ เซ่นตั้ง 'เลี้ยบ' นั่งรองประธานที่ปรึกษาของนายกฯ
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า “รัดแน่นกว่าเดิม”
รัฐสภา ถกแก้ข้อบังคับ 'สว.-รทสช.' รุมค้านเปิดทาง 'คนนอก' ร่วมวงกมธ.แก้รธน.
ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บั
'บิ๊กป้อม' ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย พปชร. ในสภาฯ
นางกาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไดัลงนามคำสั่งพรรคพลังประชารัฐ ที่ 2 /2568 เรื่อง
'บิ๊กป้อม' ปัดตอบปม ครม. ผ่านหลักการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังประขารัฐ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค และแกนนำพรรค ตลอดจน สส. พรรคพลังประชารัฐ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 43)
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475