ถึงบางอ้อ! เหตุ 'บิ๊กป้อม' ลาประชุมครม. 'ราชบุรี' ฝุ่นตลบ

17 ม.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ลาประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ปรากฎว่า ในช่วงสายวันเดียวกัน พล.อ.ประวิตร ได้เดินทางไปบ้านของนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นายก อบจ.ราชบุรี สามีนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่ จ.ราชบุรี โดยมีพล.อ.กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ และพล.อ.ณัฐ อินทร์เจริญ คณะทำงาน พล.อ.ประวิตร เดินทางมาด้วย

โดย พล.อ.ประวิตรได้สวมใส่แจ็คเก็ตสีขาวของพรรค กางเกงสีดำ และรองเท้าผ้าใบ ขณะที่บ้านของนายวิวัฒน์ มี ส.ส.ราชบุรีของพรรคอยู่ด้วยทั้งหมด รวมถึงนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ นายชัยทิพย์ กมลพันธ์ทิพย์ ส.ส.ราชบุรี พรรคประชาธิปัตย์ นักการเมืองท้องถิ่นทั้ง สจ. สท. กำนัน ผู้ใหญ่ นายกอบต.ในพื้นที่ จ.ราชบุรี รอต้อนรับ

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ทันทีที่มาถึงบ้านนายวิวัฒน์ พล.อ.ประวิตรได้ทักทายว่า เป็นอย่างไรกันบ้าง ยังรักกันอยู่เปล่านะ แต่ฉันยังรักพวกแกนะ อุตส่าห์ลาครม.เลยนะแกเอ๋ย ซึ่งทุกคนพร้อมใจกันตอบว่า ยังรักลุงอยู่

พล.อ.ประวิตรยังได้บอกว่า เห็นว่านายกฯจะมา จ.ราชบุรีวันพฤหัสบดี ทำให้พวก ส.ส.ตอบกับพล.อ.ประวิตรไปว่า พวกเราต้องไปรับนายกฯตามหน้าที่ ซึ่ง พล.อ.ประวิตรจึงบอกว่า ไปเถอะ ท่านเป็นนายกฯ ไปทำตามหน้าที่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม มีกำหนดการลงพื้นที่ จ.ราชบุรี ในวันที่ 19 ม.ค. ท่ามกลางกระแสข่าวว่า มีส.ส.ราชบุรีของพรรคพลังประชารัฐบางคนจะย้ายไปอยู่กับพรรครวมไทยสร้างชาติในการเลือกตั้งครั้งหน้า ทำให้ถูกจับตามองว่า เป็นการแย่งชิงนักการเมืองในพื้นที่ จ.ราชบุรี ระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรครวมไทยสร้างชาติหรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะ' ชี้ 'วิโรจน์' พูดให้ดูดี ไม่สนนามสกุลเดียวกับ 'ธนาธร' ก็จะตรวจสอบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวกรณีฝ่ายค้านออกมาระบุว่าเตรียมจองคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวงคมนาคมว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะตรวจสอบรัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องปกติ

พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร