ประนอมอำนาจ 'สว.วันชัย' แย้มชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 30

วันชัย สอนศิริ17 ม.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) กล่าวว่าการจุดประเด็นแก้รัฐธรรมนูญ กรณีวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯได้มากกว่า 8 ปี เป็นการตีปลาหน้าไซ เพื่อดิสเครดิตส.ว. โดยบางพรรคให้ตัวเองดูดี เรื่องนี้ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาของ กมธ.พัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่ศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญหลายประเด็นตามปกติ ทั้งเรื่องที่มาส.ส. ที่มาส.ว. ที่มานายกรัฐมนตรี ไม่ได้เจาะจงจะแก้มาตรา158 เรื่องวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ยังไม่มีการเสนอแก้ไขประเด็นนี้ แต่ปรึกษาหารือในชั้นกมธ.จริง

ส่วนกระบวนการแก้ไข ไม่แน่ใจ เมื่อหมดวาระส.ว.ชุดนี้ จะแก้สำเร็จหรือไม่ การแก้เรื่องนี้ให้สำเร็จจริงๆ คิดว่า ทำปฏิวัติยังง่ายกว่า เอามาเสนอพูดคุยได้ แต่การผลักดันแก้ไขจริงๆ ถ้าส.ส.ไม่เอาด้วย ก็ไม่มีทางเกิดขึ้นได้แน่นอน และขอยืนยันว่า ไม่มีผู้มีอำนาจคนใดส่งสัญญาณแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 158 แม้แต่ในส.ว.ด้วยกันก็ไม่มีใครผลักดัน จะหาเรื่องเข้าตัวทำไม เพราะไม่มีทางสำเร็จ คนที่จะผลักดันให้สำเร็จคือ ส.ส.ต้องผลักดัน

นายวันชัย กล่าวว่าส่วนการเลือกนายกรัฐมนตรีครั้งต่อไปของส.ว.จะไม่เหมือนเดิมแน่นอน เพราะความสำนึกลึกๆรู้ว่า รัฐบาลชุดต่อไปจะอยู่ได้ด้วยส.ส. เสียงส.ว.จะเทให้คนที่เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ถ้าเอาเสียงข้างน้อยเป็นรัฐบาลเท่ากับพารัฐบาลชุดนั้นลงนรก ไม่มีเหตุผลจะไปสวนมติ กระแสความต้องการของประชาชน แม้ทั้ง 250 เสียง อาจไม่เทไปทั้งหมด แต่เสียงส่วนใหญ่จะเทไปทางนั้น

ส.ว.ผู้นี้ กล่าวถึงว่าที่นายกฯคนที่ 30 ว่า บางคนที่คิดไม่ถึงอาจมีสิทธิ เพราะไม่แน่ใจว่าซีกอำนาจเดิมจะรวมได้ถึง 251 เสียงหรือไม่ ถ้ารวมได้ 251 เสียง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยังมีสิทธิ แต่ดูจากสถานการณ์ที่แตกเป็น 2 ซีก ไม่มั่นใจซีกเดิมจะรวมได้ถึง 251เสียง อาจมีการจับขั้วใหม่ของพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ ถ้ารวมกันได้มากกว่า 251 เสียง อาจเป็นรัฐบาลได้

"ดูจากบุคลิกของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไปได้ทุกกลุ่มทุกฝ่าย ดังนั้นคนที่จะเป็นนายกฯอาจเป็นพรรคอื่นที่เคยไม่จัดตั้งรัฐบาลมาก่อน ไม่ใช่ทั้งพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทย อาจเป็นพรรคกลางๆ และเป็นคนๆนั้นเป็นนายกฯก็เป็นไปได้ อย่าไปประมาทพรรคภูมิใจไทย ถ้าซีกเดิมรวมเสียงได้ไม่ถึง จะต้องประนอมอำนาจร่วมกันตั้งรัฐบาล ลำพังพรรคเพื่อไทยที่เอาบางคนขึ้นมาโชว์ อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง จึงต้องประนอมกับพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ ตกลงกันให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้" นายวันชัย กล่าว

นายวันชัย กล่าวด้วยว่าส่วนการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆนั้น ขอให้แข่งกันอย่างเสมอภาค ไม่ใช้อำนาจ อิทธิพล กำลังเงิน เป็นตัวกำหนด จากการติดตามข่าวของกมธ.พัฒนาการเมืองฯ เพื่อให้การเลือกตั้งสุจริต และการใช้อำนาจรัฐที่มีธรรมาภิบาล ยอมรับ ตลอด 8 ปีล้มเหลว ไม่สามารถปฏิรูปการเลือกตั้งให้สุจริตได้ การเลือกตั้งครั้งนี้กมธ.จะติดตามใกล้ชิด นำมาเปิดโปงตีแผ่ให้สังคมรับรู้ ใครใช้อำนาจให้เกิดความไม่สุจริต จะติดตามการใช้อำนาจรัฐระหว่างเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด ขอให้นักการเมืองเป็นตัวอย่างการทำการเมืองให้เหมาะสม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

สส.แพ้! กมธ.ประชามติ ฝั่ง สว. โหวตชนะ ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น แก้รัฐธรรมนูญ

นายกฤช เอื้อวงศ์ สว. พร้อมด้วย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แถลงผลการประชุมครั้งที่ 3 เพื่อหาข้อยุติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.