31 ธ.ค.2565 - นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของ กกต.ในการจัดการเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไปในปี 2566 ว่า กกต.ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จะมีขึ้นไว้แล้วโดยทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับแก้ไข) มีผลใช้บังคับ กกต.จะเร่งพิจารณาออกระเบียบและประกาศที่สืบเนื่องจาก พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งเรื่องวิธีการสรรหาผู้สมัครไพรมารีโหวต และการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
ทั้งนี้ รวมทั้งการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งการแบ่งเขตเลือกตั้ง ทางสำนักงานกกต.ประจำจังหวัด (กกต.จว.) เตรียมจัดทำเขตเลือกตั้งตามรูปแบบไว้แล้วอย่างน้อย 3 รูปแบบ โดยยึดตามจำนวนประชากรปี 2564 แต่หากช่วงต้นปีหน้ามีการประกาศจำนวนประชากรปี 2565 จะต้องมีการคำนวณจำนวนส.ส.ในแต่ละจังหวัดใหม่ และดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนส.ส.ใหม่ แต่คาดว่าไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก
นายอิทธิพร กล่าวถึงความพร้อมของสำนักงานกกต. ว่า ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (ผอ.กกต.จว.)ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนงานจัดการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด เตรียมความพร้อมและซักซ้อมความเข้าใจการปฏิบัติในรายละเอียดแล้ว 2 ครั้งเมื่อวันที่ 17-19 สิงหาคม และวันที่ 30 พฤศจิกายน -2 ธันวาคม 2565 สำหรับการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเลือกตั้งและบุคลากรอยู่ระหว่างการจัดเตรียมเพื่อให้เป็นไปตามแผนดำเนินการ
นอกจากนี้ กกต.ยังได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นฉลาดเลือก Smart Vote เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น การตรวจสอบหน่วยเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้นั้นมีสิทธิลงคะแนน ข้อมูลผู้สมัครส.ส.ทั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แยกตามเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แยกตามพรรคการเมือง และรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้อมูลของพรรคการเมือง เป็นต้น
“สำหรับงบประมาณจัดการเลือกตั้งได้จัดทำคำขอต่อสำนักงบประมาณเรียบร้อยแล้ว โดยเสนอคำขอไปประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อการเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไป ปี 2562 กกต.ของบไปประมาณ 4,200 ล้านบาท สาเหตุที่มากกว่าเดิม เนื่องจากเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจาก 350 เขตเลือกตั้งเป็น 400 เขตเลือกตั้ง และใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ รวมทั้งจำนวนกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง(กปน.) เพิ่มขึ้นจากหน่วยละ 5 คน เป็นหน่วยละ 9 คน” นายอิทธิพร กล่าว
นายอิทธิพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในส่วนของการสืบสวนไต่สวนการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ทาง กกต.ได้เตรียมการแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด และชุดเคลื่อนที่เร็วไว้ในทุกพื้นที่ รวมทั้งมีชุดปฏิบัติการข่าวทำหน้าที่สืบสวนหาข่าวในพื้นที่อยู่โดยตลอด โดยขอเชิญชวนประชาชนร่วมเป็นผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งหากการแจ้งเบาะแสนำไปสู่การลงโทษผู้กระทำผิด จะมีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัลตามที่ระเบียบกำหนด และหากบุคคลนั้นถูกข่มขู่ หรือคุกคาม ทางกกต.ได้มีมาตรการคุ้มครองพยานให้ด้วย ดังนั้น ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่ากกต.ได้เตรียมความพร้อมและมีแผนสำหรับรองรับสถานการณ์ไว้แล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กกต. เตือนข้อพึงระวังหาเสียงและยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง อบจ.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกเอกสารประชาสัมพันธ์ข้อพึงระวังในการหาเสียง การรายงานค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อให้
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
กกต.ปลุก‘กปน.’ จับโกงเลือกอบจ. พท.ทุบพรรคส้ม
กกต.ติวเข้มวิทยากรเตรียมพร้อมเลือกตั้ง อบจ. กำชับ 3 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนปิดหีบต้องทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น