โออาร์ลุยโมเดล Cafe Amazon for Chance ปั้น 60 สาขาสร้างอาชีพผู้ด้อยโอกาส

แน่นอนว่าคอกาแฟ จะต้องรู้จักแบรนด์กาแฟที่ถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และครองส่วนแบ่งตลาดไปได้อย่างมาก เพราะกลยุทธ์ที่สร้างความเข้าถึงง่ายให้กับผู้บริโภค ทำให้สามารถตีตลาดได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะในเมืองหรือนอกเมือง และแน่นอนว่าผู้ใช้รถใช้ถนนกว่า 80-90% ก็น่าจะได้ลองลิ้มชิมรสชาติกาแฟของแบรนด์ Café Amazon ไปแล้ว และต้องการอีกหลายคนที่ถือว่าเป็นแฟนคลับ กลับมาใช้บริการอยู่เรื่อย ๆ อย่างแน่นอน  

จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจภายใต้สโลแกนที่ว่า "Taste of Nature" หรือ รสชาติของธรรมชาติ ที่มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งพักผ่อน คล้ายกับโอเอซิสเพื่อตอบสนองคนเดินทาง แต่ในปัจจุบันแนวคิดของ Café Amazon เริ่มแผ่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น และสามารถตอบสนองกับกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากนักเดินทาง ซึ่งนอกจากจะมีการตอบโจทย์ของกลุ่มคนดื่มกาแฟแล้ว การทำงานเพื่อสังคมก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ Café Amazon ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง  

ที่ผ่านมา Café Amazon ภายใต้การดูแลของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ มีโครงการมากมายที่ช่วยสนับสนุนสังคม ชุมชน และพัฒนาคนมากมาย ที่ผ่านการดำเนินธุรกิจรูปแฟรนไชส์ในอัตราส่วนกว่า 80% ส่งเสริมและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) ภายในประเทศ และยังทำให้เกิดอัตราการจ้างงานทั่วประเทศกว่า 24,000 รายต่อปี มีส่วนช่วยในการสร้างงานสร้างอาชีพและลดอัตราการว่างงานทั้งประเทศ  

จนมาถึงงานล่าสุดที่สามารถสร้างอาชีพให้กับคนในสังคมได้อย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาสซึ่งคือ ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนเพื่อการสร้างโอกาส (Café Amazon for Chance)” ที่เริ่มต้นจากการเป็นหนึ่งในโครงการวิสาหกิจชุมชนของ โออาร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานทางด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยได้นำความสำเร็จของธุรกิจคาเฟ่ อเมซอนที่มีมากกว่า 4,000 สาขาทั้งในและต่างประเทศในขณะนั้น มาสร้างคุณค่าให้สังคม ด้วยการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มต่างๆ  

ให้สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการเป็นบาริสต้าตามมาตรฐานของร้านคาเฟ่ อเมซอน ตามแนวความคิดที่ว่า “Café Amazon for Chance สร้างโอกาส สร้างงาน อย่างยั่งยืน” โดยสาขาแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561ที่ดำเนินการโดยผู้พิการด้านการได้ยินจนถึงปัจจุบัน Café Amazon for Chance เปิดให้บริการแล้ว 60  สาขา สามารถสร้างอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 137 คน ประกอบด้วย ผู้พิการทางการได้ยิน 30 คน ผู้สูงวัย 100 คน พิการทางการเรียนรู้ 3 คน ทหารผ่านศึกที่พิการและครอบครัว 2 คน คนไร้ที่พึ่ง 2 คน รวมทั้งสิ้น 137 คน  

จุดเริ่มต้นของโครงการมาจากการที่ กลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงพลังของการดำเนินงานธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่นำจุดแข็งของธุรกิจมาช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน จึงเริ่มจากการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่ผู้พิการทางการได้ยินเป็นกลุ่มแรก ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้พิการที่มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากผู้พิการทางร่างกาย และมักได้รับการจ้างงานต่ำกว่าวุฒิการศึกษา รวมทั้งไม่มีการอบรมพัฒนาความสามารถในสายอาชีพนี้อีกด้วย

ซึ่งปัจจุบันร้าน Café Amazon for Chance ที่ดำเนินการโดยผู้พิการทางการได้ยิน มีทั้งสิ้น 11 สาขา จำนวนผู้พิการทางการได้ยิน 30 คน อาทิ Café Amazon สำนักงานคณะกรรมการกำกับ (ก.ล.ต.) , Cafe Amazon สาขา The Office@Central World , Index ชัยพฤกษ์ , Cafe Amazon โครงการป่าในกรุง และตึกปตท.สำนักงานใหญ่ อาคาร2 ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นต้น รวมถึงยังมีสาขาที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ Café Amazon คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล จ.นครปฐม , Cafe Amazon Sky Lane สุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ , Café Amazon รพ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เป็นต้น 

ต่อมาในปี 2563 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจร้าน Café Amazon ได้ริเริ่มขยายโอกาสในการทำงานสู่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ โดยเล็งเห็นถึง กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีผู้สูงอายุอีกมาก ที่ขาดโอกาสในการทำงานเนื่องจากวัยที่มากขึ้น ดังนั้น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จึงได้มีความร่วมมือกับ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดตั้ง “ร้าน Café Amazon for Chance สาขาที่ดำเนินการโดยบาริสต้าสูงวัย” สาขาแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563

โดยนำร่องด้วยการจ้างงานผู้สูงอายุระหว่างอายุ 60-65 ปี ที่สามารถเป็นบาริสต้าร้านกาแฟได้ โดยจะมีการออกแบบร้านให้เหมาะสมกับการทำงานของผู้สูงอายุ เช่น มีการคัดเลือกเมนูเครื่องดื่มเฉพาะเมนูขายดี มีใช้เครื่องชงอัตโนมัติเพื่อรสชาติที่เป็นมาตรฐานของคาเฟ่ อเมซอน การกำหนดความสูงของชั้นวางวัตถุดิบที่เหมาะสม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน โดยผ่านการอบรมโดยทีมพัฒนามาตรฐานและอบรมคาเฟ่อเมซอนเช่นเดียวกับบาริสต้า คาเฟ่ อเมซอนทั่วไป 

ซึ่งปัจจุบันร้าน Café Amazon for Chance ที่ดำเนินการโดยผู้สูงวัย มีทั้งสิ้น 49 สาขา ดำเนินการโดยบาริสต้าผู้สูงวัย จำนวน 100 คน กระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 22 สาขา อาทิ กรมพลังงานทหาร , Cafe Amazon อาคารรัชดาวัน , MRT ศูนย์วัฒนธรรม , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , ประชาอุทิศ 45 เป็นต้น ในขณะเดียวกันยังมีสาขาในต่างจังหวัด อาทิ CMU HEAT ม.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ , ม.ศิลปากร สนามจันทร์ (ศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ จ.นครปฐม , อาคารพาณิชย์ ถนนรัษฎา จ.ภูเก็ต , PTTLNG หนองแฟบ (ภายใน) จ.ระยอง , โรงพยาบาอำนาจเจริญ , จ.อำนาจเจริญ , สน.หาดใหญ่ (ช่องเขา) จ.สงขลา เป็นต้น  

นอกจากนี้ Café Amazon for Chance ยังมีสาขาอื่น ๆ ทั้งใน และต่างจังหวัดที่เป็นสาขาเพื่อพัฒนาผู้ด้อยโอกาสอีกหลายแห่งทั้ง Café Amazon for Chance สำหรับผู้พิการทหารผ่านศึก ที่ตั้งอยู่ในนาวิกโยธิน เตยงาม (ทหารผ่านศึกและครอบครัว) จ.ชลบุรี , สำหรับผู้พิการทางเรียนรู้ (กลุ่มออทิสติก) ที่มีทั้งสิ้น 2 สาขา และมีบาริสต้าผู้พิการทางการเรียนรู้ จำนวน 3 คน สาขา ทั้งสาขาสนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต (พิการทางการได้ยิน&ออทิสติก)  จ.สมุทรปราการ และ Café Amazon สาขา The Office@Central World รวมถึงสาขาสำหรับคนไร้ที่พึ่ง มีทั้งสิ้น 1 สาขา และมีบาริสต้าคนไร้ที่พึ่งจำนวน 2 คน โดยตั้งอยู่ที่ บ้านธัญญพร (ผู้ถูกกระทำ) รวมทั้งสิ้น 60 สาขา  

จากจุดเริ่มต้นของ Café Amazon ก้าวเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน แต่เป็นจุดเปลี่ยนที่มีแนวทางที่ดี เพราะนอกจากจะสามารถเสิร์ฟกาแฟ-เครื่องดื่มให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีมาตรฐานแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างโอกาสผ่านร้าน Café Amazon ของโออาร์นั้นไม่ใช่แค่เรื่องการจับมือและลงทุนในธุรกิจอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องการสร้างอาชีพให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย และเชื่อว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างสังคมความเป็นอยู่ที่ดีให้กับคนไทยได้ในอนาคต  

แน่นอนว่าคอกาแฟ จะต้องรู้จักแบรนด์กาแฟที่ถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และครองส่วนแบ่งตลาดไปได้อย่างมาก เพราะกลยุทธ์ที่สร้างความเข้าถึงง่ายให้กับผู้บริโภค ทำให้สามารถตีตลาดได้อย่างกว้างขวางไม่ว่าจะในเมืองหรือนอกเมือง และแน่นอนว่าผู้ใช้รถใช้ถนนกว่า 80-90% ก็น่าจะได้ลองลิ้มชิมรสชาติกาแฟของแบรนด์ Café Amazon ไปแล้ว และต้องการอีกหลายคนที่ถือว่าเป็นแฟนคลับ กลับมาใช้บริการอยู่เรื่อย ๆ อย่างแน่นอน  

จากจุดเริ่มต้นของธุรกิจภายใต้สโลแกนที่ว่า "Taste of Nature" หรือ รสชาติของธรรมชาติ ที่มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นจุดนัดพบ แหล่งพักผ่อน คล้ายกับโอเอซิสเพื่อตอบสนองคนเดินทาง แต่ในปัจจุบันแนวคิดของ Café Amazon เริ่มแผ่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น และสามารถตอบสนองกับกลุ่มผู้บริโภคได้หลากหลายมากขึ้นนอกเหนือจากนักเดินทาง ซึ่งนอกจากจะมีการตอบโจทย์ของกลุ่มคนดื่มกาแฟแล้ว การทำงานเพื่อสังคมก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่ Café Amazon ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง  

ที่ผ่านมา Café Amazon ภายใต้การดูแลของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ มีโครงการมากมายที่ช่วยสนับสนุนสังคม ชุมชน และพัฒนาคนมากมาย ที่ผ่านการดำเนินธุรกิจรูปแฟรนไชส์ในอัตราส่วนกว่า 80% ส่งเสริมและสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) ภายในประเทศ และยังทำให้เกิดอัตราการจ้างงานทั่วประเทศกว่า 24,000 รายต่อปี มีส่วนช่วยในการสร้างงานสร้างอาชีพและลดอัตราการว่างงานทั้งประเทศ  

จนมาถึงงานล่าสุดที่สามารถสร้างอาชีพให้กับคนในสังคมได้อย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาสซึ่งคือ ร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนเพื่อการสร้างโอกาส (Café Amazon for Chance)” ที่เริ่มต้นจากการเป็นหนึ่งในโครงการวิสาหกิจชุมชนของ โออาร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานทางด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยได้นำความสำเร็จของธุรกิจคาเฟ่ อเมซอนที่มีมากกว่า 4,000 สาขาทั้งในและต่างประเทศในขณะนั้น มาสร้างคุณค่าให้สังคม ด้วยการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มต่างๆ  

ให้สามารถเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการเป็นบาริสต้าตามมาตรฐานของร้านคาเฟ่ อเมซอน ตามแนวความคิดที่ว่า “Café Amazon for Chance สร้างโอกาส สร้างงาน อย่างยั่งยืน” โดยสาขาแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561ที่ดำเนินการโดยผู้พิการด้านการได้ยินจนถึงปัจจุบัน Café Amazon for Chance เปิดให้บริการแล้ว 60  สาขา สามารถสร้างอาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมกลุ่มต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องแล้วกว่า 137 คน ประกอบด้วย ผู้พิการทางการได้ยิน 30 คน ผู้สูงวัย 100 คน พิการทางการเรียนรู้ 3 คน ทหารผ่านศึกที่พิการและครอบครัว 2 คน คนไร้ที่พึ่ง 2 คน รวมทั้งสิ้น 137 คน  

จุดเริ่มต้นของโครงการมาจากการที่ กลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงพลังของการดำเนินงานธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่นำจุดแข็งของธุรกิจมาช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน จึงเริ่มจากการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่ผู้พิการทางการได้ยินเป็นกลุ่มแรก ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้พิการที่มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากผู้พิการทางร่างกาย และมักได้รับการจ้างงานต่ำกว่าวุฒิการศึกษา รวมทั้งไม่มีการอบรมพัฒนาความสามารถในสายอาชีพนี้อีกด้วย

ซึ่งปัจจุบันร้าน Café Amazon for Chance ที่ดำเนินการโดยผู้พิการทางการได้ยิน มีทั้งสิ้น 11 สาขา จำนวนผู้พิการทางการได้ยิน 30 คน อาทิ Café Amazon สำนักงานคณะกรรมการกำกับ (ก.ล.ต.) , Cafe Amazon สาขา The Office@Central World , Index ชัยพฤกษ์ , Cafe Amazon โครงการป่าในกรุง และตึกปตท.สำนักงานใหญ่ อาคาร2 ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นต้น รวมถึงยังมีสาขาที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด อาทิ Café Amazon คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล จ.นครปฐม , Cafe Amazon Sky Lane สุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ , Café Amazon รพ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี เป็นต้น 

ต่อมาในปี 2563 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจร้าน Café Amazon ได้ริเริ่มขยายโอกาสในการทำงานสู่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ โดยเล็งเห็นถึง กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและมีผู้สูงอายุอีกมาก ที่ขาดโอกาสในการทำงานเนื่องจากวัยที่มากขึ้น ดังนั้น บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ จึงได้มีความร่วมมือกับ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดตั้ง “ร้าน Café Amazon for Chance สาขาที่ดำเนินการโดยบาริสต้าสูงวัย” สาขาแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563

โดยนำร่องด้วยการจ้างงานผู้สูงอายุระหว่างอายุ 60-65 ปี ที่สามารถเป็นบาริสต้าร้านกาแฟได้ โดยจะมีการออกแบบร้านให้เหมาะสมกับการทำงานของผู้สูงอายุ เช่น มีการคัดเลือกเมนูเครื่องดื่มเฉพาะเมนูขายดี มีใช้เครื่องชงอัตโนมัติเพื่อรสชาติที่เป็นมาตรฐานของคาเฟ่ อเมซอน การกำหนดความสูงของชั้นวางวัตถุดิบที่เหมาะสม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ฉุกเฉิน โดยผ่านการอบรมโดยทีมพัฒนามาตรฐานและอบรมคาเฟ่อเมซอนเช่นเดียวกับบาริสต้า คาเฟ่ อเมซอนทั่วไป 

ซึ่งปัจจุบันร้าน Café Amazon for Chance ที่ดำเนินการโดยผู้สูงวัย มีทั้งสิ้น 49 สาขา ดำเนินการโดยบาริสต้าผู้สูงวัย จำนวน 100 คน กระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 22 สาขา อาทิ กรมพลังงานทหาร , Cafe Amazon อาคารรัชดาวัน , MRT ศูนย์วัฒนธรรม , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , ประชาอุทิศ 45 เป็นต้น ในขณะเดียวกันยังมีสาขาในต่างจังหวัด อาทิ CMU HEAT ม.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ , ม.ศิลปากร สนามจันทร์ (ศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ จ.นครปฐม , อาคารพาณิชย์ ถนนรัษฎา จ.ภูเก็ต , PTTLNG หนองแฟบ (ภายใน) จ.ระยอง , โรงพยาบาอำนาจเจริญ , จ.อำนาจเจริญ , สน.หาดใหญ่ (ช่องเขา) จ.สงขลา เป็นต้น  

นอกจากนี้ Café Amazon for Chance ยังมีสาขาอื่น ๆ ทั้งใน และต่างจังหวัดที่เป็นสาขาเพื่อพัฒนาผู้ด้อยโอกาสอีกหลายแห่งทั้ง Café Amazon for Chance สำหรับผู้พิการทหารผ่านศึก ที่ตั้งอยู่ในนาวิกโยธิน เตยงาม (ทหารผ่านศึกและครอบครัว) จ.ชลบุรี , สำหรับผู้พิการทางเรียนรู้ (กลุ่มออทิสติก) ที่มีทั้งสิ้น 2 สาขา และมีบาริสต้าผู้พิการทางการเรียนรู้ จำนวน 3 คน สาขา ทั้งสาขาสนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต (พิการทางการได้ยิน&ออทิสติก)  จ.สมุทรปราการ และ Café Amazon สาขา The Office@Central World รวมถึงสาขาสำหรับคนไร้ที่พึ่ง มีทั้งสิ้น 1 สาขา และมีบาริสต้าคนไร้ที่พึ่งจำนวน 2 คน โดยตั้งอยู่ที่ บ้านธัญญพร (ผู้ถูกกระทำ) รวมทั้งสิ้น 60 สาขา  

จากจุดเริ่มต้นของ Café Amazon ก้าวเข้ามาถึงจุดเปลี่ยน แต่เป็นจุดเปลี่ยนที่มีแนวทางที่ดี เพราะนอกจากจะสามารถเสิร์ฟกาแฟ-เครื่องดื่มให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีมาตรฐานแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างโอกาสผ่านร้าน Café Amazon ของโออาร์นั้นไม่ใช่แค่เรื่องการจับมือและลงทุนในธุรกิจอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องการสร้างอาชีพให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย และเชื่อว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสร้างสังคมความเป็นอยู่ที่ดีให้กับคนไทยได้ในอนาคต  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

OR เปิดตัว "OR Space รามคำแหง 129" มิติใหม่ของศูนย์การค้า “พื้นที่ความสุข ครบทุกไลฟ์สไตล์ใกล้บ้านคุณ”

OR Space รามคำแหง 129 มิติใหม่ของศูนย์การค้า พื้นที่แห่งความสุขที่จะเติมเต็มความสุขให้ทุกคน พรั่งพร้อมด้วยสินค้าและบริการที่หลากหลาย

OR ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน ในฐานะหุ้นยั่งยืนระดับ AAA คว้ารางวัล Highly Commended Sustainability Awards จาก SET Awards 2024 ขับเคลื่อนแนวคิด OR SDG สร้างการเติบโตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ

OR คว้ารางวัล Sustainability Awards ในระดับ Highly Commended Sustainability Awards จาก SET Awards 2024 ตอกย้ำความสำเร็จการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

OR เดินหน้า “ไทยเด็ด” ต่อยอดภูมิปัญญาสินค้าไทย ช่วยคนตัวเล็กมีงาน มีเงิน

ประเทศไทยที่ถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ดีไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบทางธรรมชาติที่มีความหลากหลาย ผนวกกับความชำนาญของคนไทยที่สามารถพัฒนาวัตถุดิบเหล่านั้นให้กลายมาเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง

OR เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมรักษ์โลก มอบถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการ Green Innovation Contest แก่ทีมชนะเลิศ

นางสาวราชสุดา รังสิยากูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกิจการพิเศษ 1 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR

OR มุ่งส่งเสริม “โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน” จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ตอกย้ำจุดยืนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ปลูกกาแฟภาคเหนือ

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR พร้อมด้วยนายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สิงห์ปาร์ค เชียงราย จับมือ คาเฟ่ อเมซอน เบลนด์พรีเมียมชาอู่หลง 3 เมนูใหม่ เสิร์ฟกว่า 4,200 สาขาทั่วประเทศ

“สิงห์ปาร์ค เชียงราย” ตอกย้ำความเป็นผู้ผลิตชาคุณภาพแถวหน้าเมืองไทย สานต่อความเชี่ยวชาญในธุรกิจ พร้อมส่งมอบชาอู่หลงคุณภาพ