ในปี 2565 ที่ผ่านมาในโลกของธุรกิจมักจะมีการหยิบยกแนวคิดการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์(Net Zero) มาพูดถึงกันมาก เนื่องจากเป็นเทรนด์ของโลกที่คนกำลังให้ความสนใจ และถูกมองว่าเป็นทางออกของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังจะต้องพบเจอในอนาคต การปล่อยคาร์บอนให้ลดน้อยลงจะเข้าไปช่วยเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ลดโลกร้อน ที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหากับการเป็นอยู่ของมนุษย์ต่อไป
แน่นอนว่าเมื่อเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ในโลก จนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย ด้านการทำอุตสาหกรรม ทั้งธุรกิจสินค้าและบริการเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนไปด้วย จากเดิมที่เคยเป็นด้านหลักในการปล่อยคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และในบางกลุ่มอาจจะถูกมองว่าเป็นตัวร้าย และเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะฉุดรั้งให้แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ไม่เป็นผล แต่กลับกันในปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมหลายกลุ่มได้ออกมาเดินหน้าเรื่องนี้ก่อนที่ภาคประชาชนจะเริ่มเข้าใจด้วยซ้ำ
ในประเทศไทยเอง ปี 2565 ถือว่าเป็นปีสำคัญที่หลายกลุ่มบริษัทออกมาแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ ผ่านแนวคิดการดำเนินธุรกิจร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับที่บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) หรือโออาร์(OR) ได้ดำเนินงานอยู่ ผ่านธุรกิจหลักอย่าง คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) ที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจยึดหลักความยั่งยืน หรือ บีซีจี โมเดล (BCG Model)
ผ่านทั้ง 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) โดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ของใช้ภายในร้านทั้งแก้วร้อน BIO, แก้วเย็น PLA, หลอด Bio ที่ผลิตจากพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ในระยะเวลาประมาณ 6 – 24 เดือนรวมถึงการปรับมาใช้ถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกใส่เบเกอรี ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดสามารถช่วยลดประมาณขยะได้ถึงประมาณ 1,831 ตัน / ปี
2.ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นำวัสดุเหลือใช้มา Upcycling ผลิตเป็นสินค้า และเฟอร์นิเจอร์ภายในร้าน โดยแก้วพลาสติก PET และขวดน้ำพลาสติก ที่มีการใช้ไปแล้ว จะถูกนำไปรีไซเคิลและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการนำไปย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ และให้ความร้อนเพื่อให้พลาสติดหลอมละลายและขึ้นรูปเป็นเส้นใยรีไซเคิล ซึ่งเส้นใยดังกล่าวจะถูกส่งให้โรงงานทอ เพื่อทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บและนำมาผลิตเป็นชุดโซฟา ผ้ากันเปื้อนและเสื้อพนักงานใช้ในร้าน Café Amazon นอกจากนี้ยังถูกมาขึ้นรูปเป็นเส้นใย Non-woven เพื่อตัดเย็บเป็นกระเป๋าและที่รองแก้วอีกด้วย
ขณะที่วัตถุดิบที่อยู่ในกระบวนการต้นน้ำอย่างเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟเมล็ดกาแฟ ก็ได้ถูกนำมาอบเพื่อไล่ความชื้น จากนั้นนำมาผสมกับเม็ดพลาสติกและขึ้นรูปเป็นแผ่นแล้วจึงนำมาประกอบเป็นโต๊ะ เก้าอี้และชั้นวางของที่แข็งแรงทนทานใช้ภายในร้าน Café Amazon เช่นเดียวกับถาดพลาสติกชนิด Polystylene ที่ใช้ในร้าน Café Amazon กว่า 75,000 ชิ้นถูกนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆและนำไปผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 180-200 องศาเซลเซียส เพื่อผลิตออกมาเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จากนั้นจะถูกนำมาให้ความร้อนอีกครั้งและรีดเป็นแผ่น เพื่อนำมาผลิตเป็นเพดานสำหรับตกแต่งภายในร้าน โดยร้าน Café Amazon ในสถานี PTT STATION สาขา สามย่าน เป็นสาขาแรกที่มีวัสดุและเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งทั้งภายในและภายนอกร้าน ทำมาจากวัสดุเหลือใช้ทั้งจากภายในร้าน Café Amazon และโรงคั่วกาแฟ
และ 3.ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยเป็นการจัดการของเสียจากกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสียจากการแปรรูปกาแฟ และการจัดการขยะจากเปลือกกาแฟ อย่างการนำไปพัฒนาเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของ โออาร์ ในการมุ่งเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment)
ขณะที่การจัดการกับขยะอีกหนึ่งเรื่องก็คือการเปลี่ยนถุงฟอยด์ใส่เมล็ดกาแฟ ที่เหลือใช้ในโรงคั่ว Café Amazon อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาเป็นสินค้าพรีเมียมพิเศษ ’The Upcycling Collection’ ได้แก่ กระเป๋าเครื่องสำอางรักษ์โลก ราคาใบละ 299.-, กระเป๋าคาดเอวรักษ์โลก ราคาใบละ 399.- , กระเป๋าแมสเซนเจอร์รักษ์โลก ราคาใบละ 599.- และ กระเป๋าโน๊ตบุ๊ครักษ์โลก ราคาใบละ 499.-
ซึ่งสินค้าทั้งหมดผลิตโดยกลุ่มชาวบ้านในโครงการกระจายรายได้สู่ชุมชน เขตจังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มผู้ต้องขังในโครงการคืนคนดีสู่สังคม (สร้างงานสร้างอาชีพ) จากเรือนจำเขาพริก จังหวัดนครราชสีมาตัวกระเป๋ากระเป๋าสามารถกันน้ำและมีความทนทาน ส่วนของสายกระเป๋าและตัวล็อคของกระเป๋าแมสเซนเจอร์ทำมาจากสายรัดเข็มขัดบนเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งาน
จากแผนดำเนินงานทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่า โออาร์ ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการของธุรกิจ ในฐานะเจ้าของแบรนด์ Café Amazon ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่มีสาขามากเป็นลำดับที่ 6 ของโลก จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก้วและวัสดุต่างๆ ภายในร้าน Café Amazon ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สามารถตอบโจทย์ BCG Economy ในทุกด้าน โดยเน้นการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน รวมถึงผลักดันให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนับตั้งแต่กระบวนการผลิตเริ่มต้นจนถึงการบริหารจัดการของเสียหลังการอุปโภคและบริโภค
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
OR คว้าอันดับ 1 ดัชนีความยั่งยืนระดับโลก DJSI ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก
OR ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (DJSI) ปี 2024 ในกลุ่มดัชนีการตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Index) โดยได้รับคะแนนสูงสุดอันดับ 1 ของโลกในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก (Retailing) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินธุรกิจบนรากฐานของความยั่งยืนและได้รับการยอมรับในระดับสากล
GC จับมือ Honeywell ศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีดักจับและใช้ประโยชน์จากคาร์บอนอย่างคุ้มค่า เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero มุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต และ Honeywell
‘ดิษทัต’ วางรากฐาน OR เสริมแกร่งธุรกิจรอบด้าน เตรียมพร้อมส่งไม้ต่อ
ดิษทัต’ วางรากฐาน OR เสริมแกร่งธุรกิจรอบด้าน เตรียม ส่งไม้ต่อให้ OR ก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน
OR เสริมความแกร่งธุรกิจไลฟ์สไตล์ เปิดร้าน found & found สาขาที่ 5 ณ ศูนย์การค้าแพชชั่น ช้อปปิ้งเดสติเนชั่น ระยอง
นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR พร้อมด้วย นายไกรพิท เปรมมณี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจไลฟ์สไตล์