การดูแลธรรมชาติที่สมบูรณ์ ไม่ใช่เพียงทำแค่ตอนนี้ แต่ต้องทำตลอดไป การสืบสานหรือการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องมีแบบแผนที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นการดูและรักษาของคนในรุ่นเก่าจะไร้ประโยชน์ แน่นอนว่าที่ผ่านมามีหลายพื้นที่ที่มีแนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมไว้อย่างดี มีการร่วมมือร่วมใจลงแรงอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่มีการสืบต่อ จึงทำให้งานเหล่านั้นไม่สามารถยั่งยืนได้ แต่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับพื้นที่ ชุมชนบ้านเขาวัง เนื่องจากแนวทางการดูแลธรรมชาติของชุมชนแห่งนี้การสืบทอดสวนสมรมจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นใหม่ยังคงรักษาสวนดั้งเดิมที่มีความหลากหลายของพันธุกรรมพืช
การปลูกป่า รักษาน้ำ รักษาระบบนิเวศ มีแบบแผนอย่างชัดเจน และมีการทำงานร่วมกันในชุมชนสูงมาก ทั้งยังมีการส่งเสริมให้กลุ่มต่างๆ ทำงาน ทั้งด้านการแปรรูปและการตลาด ทำให้เกิดการขยายความเข้าใจกับคนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย มาร่วมและรับรู้ ตัดสินใจในการทำงานของชุมชน จนทุกกลุ่มมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตอย่างกลมกลืน
ชุมชนบ้านเขาวัง ตั้งอยู่ที่ ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นชุมชนในหุบเขา ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำที่เกิดแหล่งน้ำสำคัญของลุ่มน้ำปากพนัง ก่อตั้งชุมชนเมื่อปี 2499 จากชาวมุสลิมกลุ่มแรกๆ ที่อพยพมาจากบ้านท่าชัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เดิมยึดอาชีพปลูกพืชหลากหลายแบบสวนสมรม การเดินทางเข้าออกชุมชนในยุคแรกๆ จะต้องเดินลอดถ้ำจากด้านนอกเข้าไปเท่านั้น ต่อมาชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นญาติมิตรของคนในชุมชน ซึ่งได้รับการชักชวนให้อพยพและเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกัน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงช่วยกันขุดเส้นทางเดินลัดเลาะตามความลาดชันของพื้นที่ และต่อมาชาวบ้านร่วมกันซื้อที่ดินเพื่อขยายเส้นทางบางช่วง ให้กว้างมากขึ้น
แม้ว่าในปัจจุบันชุมชนบ้านเขาวังนับเป็นแบบอย่างของการบริหารจัดการป่าในพื้นที่สูงของภาคใต้ และยังเป็นกรณีศึกษาการปรับเปลี่ยนวิถีเกษตรเพื่อการอยู่รอดในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ แต่กว่าทุกอย่างจะสามารถพัฒนาและต่อยอดให้เกิดความสมบูรณ์ได้ขนาดนี้ ก็ผ่านเรื่องราวต่างๆ มามากมาย จากเมื่อประมาณ ปี 2530 ภายหลังที่มีการขยายพื้นที่การเกษตรด้วยประชากรเพิ่มขึ้น มีการโค่นไม้ใหญ่ และช่วงที่ยางพารามีราคาสูง หลายครอบครัวปรับสวนสมรมมาเป็นปลูกยางพารา และปลูกมะนาว กับทุเรียนหมอนทอง
เน้นการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตและใช้ยาฆ่าหญ้า ต่อมาประสบกับปัญหาน้ำแล้งในหน้าแล้ง คลองหลายสายแห้งขอด แต่ถึงหน้าฝนปริมาณน้ำฝนไหลแรง และดินไม่สามารถกักเก็บน้ำ เพราะต้นไม้ถูกตัดโค่นทำลายไปมาก ทำให้ชุมชนหันมาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ในปี 2548 เกิดการรวมตัวกันเป็น “กลุ่มอนุรักษ์บ้านเขาวัง” ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นๆ อายุ 40 ปีเป็นต้นไป
ทางกลุ่มเริ่มทำกิจกรรมฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนในชุมชน ได้แก่ การส่งเสริมระบบสวนสมรม คือปลูกไม้หลากหลายชนิดแซมในสวนยางพารา เป็นทางเลือกและทางรอดให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ยิ่งโดยเฉพาะภายหลังปัญหาราคายางตกต่ำ เพราะยังมีรายได้จากไม้ผลและพืชพันธุ์อื่นๆ ในสวน รวมถึงยังมีการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนป่า ได้แก่ การปลูกป่าต้นน้ำ และรณรงค์ให้ช่วยกันรักษาต้นไม้บริเวณริมสองฝั่งสายห้วยและริมคลอง ริมฝาย ปลายไร่หัวสวน และบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์น้้าริมสองฝั่งคลองเขาวัง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น
นอกจากนี้ ชุมชนยังเป็นเอกภาพในด้านทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งไปสู่การใช้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตใจ ให้คนรู้จักตนเอง ตามแนวทางของศาสนาอิสลามและอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม มีกลยุทธและมีความเป็นตัวของตัวเองในแนวทางการพัฒนาและมีภาคีเชิงกลยุทธ คือ โรงเรียน ตชด.บ้านเขาวัง และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยถือว่าเป็นการส่งมอบไปสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างดีเยี่ยม โดยชุมชนมีการบริหารความร่วมมือค่อนข้างสูงของคนในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย เป็นแบบอย่างของชุมชนภายนอก องค์กรอื่นๆ กิจกรรมส่วนใหญ่เริ่มจากชุมชน จากนั้นมีหน่วยงานภายนอกมาร่วมต่อยอด สนับสนุน ขยายเครือข่ายภาคีที่เป็นกลยุทธ์และภาคีทั่วไป รวมทั้งยังให้เด็กๆ และเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากสวนสมรม ทำฝาย และให้เยาวชนเป็นผู้น้าทางในการเที่ยวในชุมชน การเชื่อมโยง บ้าน มัสยิด โรงเรียน จึงเป็นรูปแบบที่มองเห็นได้ คือ ความสามารถในการจัดการตนเองของชุมชนด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ทำให้ปัจจุบัน มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตของมุสลิมที่มี 95% ของชุมชน มีการบริหารจัดการการเงินโดยมีการกระจายไปยังกลุ่มต่างๆ ในชุมชน รวมถึงยังได้รางวัลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและเป็นชุมชนต้นแบบสำหรับศึกษาดูงาน
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม อย่างไรก็ตาม พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นพื้นที่วิจัยของสถาบันการศึกษาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และส่วนราชการต่างๆ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมทั้งเขตภูเขาและลำธาร น้ำ การปลูกเสริมชายห้วย การสร้างฝาย ทำเส้นทางเดินในธรรมชาติ ปุ๋ยหมัก แปรรูปและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับของเครือข่าย ในการดูแลพันธุกรรมพืชพื้นบ้านและผืนดิน สายน้ำให้คงอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พีระพันธุ์' สั่ง ปตท. ระดมน้ำมัน-ก๊าซเข้าภาคใต้ป้องกันขาดแคลน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่ประสบเหตุอยู่ขณะนี้
กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท