ปตท. สืบสานแนวพระราชดำริการปลูกและใช้ประโยชน์ ‘หญ้าแฝก’ จัดพิธีมอบรางวัลการประกวดครั้งที่ 12

การชะล้างพังทลายของดินเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ มีผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ในปี 2534 พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริให้พสกนิกรชาวไทย ทั้งผู้เป็นเกษตรกรและราษฎรทั่วไป ปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดิน เพราะหญ้าแฝกนั้นเป็นพืชมหัศจรรย์ ที่ระบบรากจะไม่เหมือนกับหญ้าชนิดอื่น ด้วยหญ้าแฝกเป็นหญ้าที่มีรากฝอยยาว 2 - 3 เมตร ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากรากของหญ้าแฝกในการยึดจับดิน ป้องกันปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน อีกทั้งยังคงทำให้ผืนดินคงความชุ่มชื้น เป็นการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

จากความเข้าใจเดิมว่าหญ้าแฝกคือวัชพืช กว่าที่ความรู้เรื่องประโยชน์ของหญ้าแฝกจะเข้าถึงประชาชนอย่างแพร่หลาย ต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ทศวรรษ ในการช่วยกันสืบสาน รักษา ต่อยอดแนวพระราชดำริการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และกรมพัฒนาที่ดิน ได้ร่วมกันจัด “โครงการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ขึ้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ กระตุ้นให้ประชาชนนำหญ้าแฝกมาใช้แก้ปัญหาทรัพยากรดินและน้ำ ซึ่งล่าสุดเพิ่งมีการจัดพิธีมอบรางวัลการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ครั้งที่ 12 (ประจำปี 2563 – 2565) ภายใต้แนวคิด “รักษ์น้ำ ป่า ดิน ด้วยแฝกองค์ภูมินทร์ ฟื้นถิ่น ยั่งยืน” โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานในพิธี

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ได้ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายดำเนินงานโครงการประกวดการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 16 ปี เพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอด แนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่งผลให้เกิดการขยายผลการปลูกและใช้ประโยชน์หญ้าแฝกอย่างแพร่หลายในภาคประชาชน ทั้งในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ มีแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ  โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรเกิดการตื่นตัวหันมาปลูกหญ้าแฝกเพิ่มมากขึ้น เกิดการรวมตัวเป็นเครือข่ายคนรักษ์แฝก ซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่ร่วมขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ดินและน้ำรวมถึงการต่อยอดจากรากสู่ใบ นำมาใบหญ้าแฝกมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ทันสมัยเป็นผลิตภัณฑ์ครัวเรือน กระเป๋า ฯลฯ สามารถผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายภายใต้แบรนด์ “ภัทรพัฒน์” ของมูลนิธิชัยพัฒนา ช่วยเสริมสร้างรายได้และพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย

การจัดการประกวดครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวด โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 58 ผลงาน ซึ่งแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภทผลงาน คือ

  1. ประเภทส่งเสริมการปลูกและขยายผล จำนวน 38 ผลงาน แบ่งออกเป็น พื้นที่ลาดชัน พื้นที่เชิงลาดแหล่งน้ำไหล่ทาง พื้นที่ดินเสื่อมโทรมและดินที่มีปัญหา พื้นที่แหล่งเรียนรู้และขยายผลความยั่งยืน และหน่วยงานและส่วนราชการที่ร่วมส่งเสริมการปลูกและขยายผลการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ มีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 14 ผลงาน
  2. ประเภทส่งเสริมหัตถกรรมผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก จำนวน 20 ผลงาน แบ่งออกเป็น ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านออกแบบและถ่ายทอดองค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ มีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 11 ผลงาน

กว่า 16 ปี แห่งความร่วมมือของ ปตท. กับองค์กรภาคีเครือข่าย กว่า 490 ผลงานจากการประกวดที่ผ่านมา คือตัวอย่างความสำเร็จที่เผยแพร่สู่สาธารณชน เกิดการขยายผลไปสู่เกษตรกร ชุมชน และหน่วยงานทั่วประเทศ ทำให้เห็นประโยชน์ของหญ้าแฝกในหลากมิติ ทั้งการป้องกันการพังทลายของดิน การฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ การเอื้อประโยชน์ต่อปัจจัยการผลิตของเกษตรกร การนำใบหญ้าแฝกมาเพิ่มมูลค่าด้วยการสร้างงานหัตถกรรม รวมถึงได้เห็นคุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น เห็นองค์ความรู้มากมายในการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำอย่างยั่งยืน 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปทรงเปิดสวน “เปรมประชาวนารักษ์” แลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ริมคลองเปรมประชากร พระราชทานแก่ประชาชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ “เปรมประชาวนารักษ์”

'พีระพันธุ์' สั่ง ปตท. ระดมน้ำมัน-ก๊าซเข้าภาคใต้ป้องกันขาดแคลน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่ประสบเหตุอยู่ขณะนี้

กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี

IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน