APEC 2022 ประกาศศักยภาพปตท. ก้าวย่างสู่พลังงานแห่งอนาคต

ปิดฉากไปแล้วสำหรับการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 19 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากผู้นำประเทศต่างๆ ที่มาประชุม หลังจากหลายภาคส่วนช่วยกันแสดงความพร้อมเปิดบ้านต้อนรับผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก

ความสำเร็จที่ชัดเจนของการประชุมครั้งนี้ อยู่ที่ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว นับเป็นการก้าวออกจากจุดสตาร์ทร่วมกันของนานาประเทศ รวมถึงไทย ในการเดินไปที่เป้าหมาย 4 เรื่อง ทั้งการจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ และไปสู่ความยั่งยืนในเรื่องการค้าและการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากร การลดและจัดการของเสีย

สำหรับประเทศไทยได้เริ่มเดินหน้าในเรื่อง BCG อย่างเป็นรูปธรรมมาก่อนแล้ว โดยมี กลุ่ม ปตท. เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ในงาน APEC CEO SUMMIT 2022  การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปคภายใต้แนวคิด “EMBRACE ENGAGE ENABLE” เวทีคู่ขนานกับการประชุม APEC 2022 นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็ได้แสดงเจตนารมณ์ให้สังคมโลกรับรู้ถึงการดำเนินธุรกิจของ ปตท. ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายจะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2050 สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการบรรลุเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ นายอรรถพล ประกาศให้ทั่วโลกโฟกัสธุรกิจของ ปตท. หลังจากนี้ที่จะมุ่งเน้นเรื่องของพลังงานหมุนเวียน ระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้า และนวัตกรรมที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนไทยด้วยธุรกิจที่ไกลกว่าพลังงาน ได้แก่ ธุรกิจยา อาหาร โภชนาการ และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG 

นอกจากนี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาช่วยตอกย้ำในช่วงของการเสวนาหัวข้อ “Rethinking Healthcare After The Pandemic” ร่วมกับ Dr. Jos Vandelaer จากองค์การอนามัยโลก (WHO) และ Mr. Calvin W. Schmidt จากบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน โดยแลกเปลี่ยนมุมมองถึงบทบาทของภาคเอกชน ที่ช่วยส่งเสริมระบบสุขภาพภายหลังสถานการณ์ระบาดโควิด 19 เป็นที่มาของธุรกิจ Life Science ของ ปตท. ก็เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมในระดับท้องถิ่นให้ประชาชนเข้าถึงการบริการ

ทั้งนี้เพื่อให้นานาประเทศได้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ภายในงานประชุม APEC 2022 ปตท. ได้จัดแสดงนิทรรศการแนวคิด Igniting Life’s Potential” จุดพลังชีวิต ขับเคลื่อนอนาคต ใน 4 แนวคิดหลัก ประกอบด้วย 1. Power Innovation and Living Solution” ที่บอกถึงทิศทางพลังงานแห่งอนาคตของ ปตท. ในการมุ่งสู่พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินธุรกิจ EV Ecosystem ครบวงจร ขณะเดียวกันก็แสดงความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรมในโครงการวังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง เมืองอัจฉริยะ บนพื้นที่ยุทธศาสตร์เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่จะช่วยผลักดันประเทศไปสู่อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

2.หัวข้อ Fostering Wellness” แสดงเส้นทางการดำเนินธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เป็นการต่อยอดความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ มาสู่ธุรกิจด้าน Pharmaceutical การวิจัยพัฒนายา วัคซีน และโมเลกุลมณีแดง Nutrition การผลิตพืชสมุนไพรไทย ต่อยอดในธุรกิจอาหาร การลงทุนในธุรกิจอาหารทางเลือก Plant Based Food รวมถึงการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น วัสดุปิดแผล หน้ากากอนามัย

นอกจากนี้ ยังนำเสนอโครงการต่างๆ ของ ปตท. ที่มาสร้างมูลค่าเพิ่มจากพลังงานและวัสดุหมุนเวียน อาทิ การนำความเย็นจากกระบวนเปลี่ยนสถานะของก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG มาปรับใช้เพาะปลูกพืชเมืองหนาว การพัฒนาเฟอร์นิเจอร์จากการแปรรูปเยื่อกาแฟ และของเหลือใช้ช่วยลดภาระสิ่งแวดล้อม

3.หัวข้อ “Innovate Low Carbon Society” แสดงทิศทางการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างพื้นที่สีเขียว มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ 4.หัวข้อ “Advancing Future Capabilities for All” เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร เช่น โครงการ “นวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท.” ที่ส่งเสริมภาคการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำไปสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farming) โดยนำองค์ความรู้และนวัตกรรม กลุ่ม ปตท. มาใช้ การเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตผ่านกระบวนการแปรรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ พัฒนาช่องทางตลาด และการท่องเที่ยวชุมชน ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ 48 ชุมชนนำร่อง รวม 29 จังหวัดทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน กลุ่มปตท. ยังได้จัดแสดงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน อาทิ “ฟิล์มพลาสติกคลุมโรงเรือนกระจายแสง” เพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง และการเจริญเติบโตของพืช “โดรนเจ้าเอี้ยง” ช่วยลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และเพิ่มความปลอดภัยให้กับเกษตรกรที่ไม่ต้องสัมผัสสารเคมีโดยตรง “โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ” ที่ใช้ระบบ IoT ช่วยบริหารจัดการระบบน้ำ เทคโนโลยี Solar Cell” เพื่อจัดการพลังงานในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น

การตอกย้ำเจตนารมณ์ และรูปธรรมจากการดำเนินโครงการต่างๆ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืนของ ปตท. บริษัทพลังงานแห่งชาติของไทยที่ทั่วโลกรู้จักดี จะทำให้นานาประเทศเห็นถึงภาพรวมความตั้งใจของประเทศไทย ที่จะมีส่วนทำให้ เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ตามพันธสัญญาของ APEC 2022 เดินหน้าไปสู่ความจริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขอเชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปร่วมส่งผลงานประเภทประติมากรรมสื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้ ในหัวข้อ ‘ชลวิถี นทีพัฒน์’

ขอเชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไป อายุ 18 ปีขึ้นไป ร่วมส่งผลงานประเภทประติมากรรมสื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้ เข้าประกวดในหัวข้อ ‘ชลวิถี นทีพัฒน์’

ปตท. คว้าอันดับ 1 บริษัทชั้นนำในไทยและอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนิตยสารฟอร์จูน สะท้อนผลการดำเนินงานและความสำเร็จที่เป็นเลิศในระดับสากล

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทชั้นนำอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

OR หนุน3สมาคมกีฬาฯ 4ปีรวม60ล้านบาท มุ่งพัฒนานักกีฬาไทยสู่สากล

ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานอนุกรรมการพิจารณาจัดการสนับสนุนสมาคมกีฬาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน รับมอบเงินจำนวน 60 ล้านบาท สนับสนุน 4 ปีต่อเนื่อง (ปี 2567 - 2570) จาก นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมกีฬารักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาสควอชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย

ปตท. คว้า 7 รางวัลยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย สูงสุดในไทย สะท้อนความเป็นเลิศในระดับสากล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน พร้อมด้วย นางกนกพร รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม

EVme เปิดตัว EVme Mobility Studio แห่งแรก รองรับฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น เดินหน้ายกระดับประสบการณ์การใช้งานรถ EV อย่างครบวงจร

บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVme) ผู้ให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า (EV) บนแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดตัว EVme Mobility Studio

อรรถพล ส่งต่อภารกิจ CEO แก่ ดร.คงกระพัน ขับเคลื่อน ปตท. สู่ความยั่งยืน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่งต่อภารกิจ CEO ให้กับ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง