ทอ. ลงนามซื้อเครื่องบินโจมตี AT-6 จากสหรัฐฯ 8 เครื่อง โครงการงบฯปี 2564 ทดแทน L-39 ที่ปลดประจำการ ยันโครงการต่อเนื่อง ทำเอ็มโอยูคุณธรรมร่วมกับคณะกรรมการฯร่วมป้องกันการทุจริต
17 พ.ย.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเว็บไซต์ต่างประเทศนำเสนอข่าว บริษัทเอกชนที่ผลิตเครื่องบินประกาศในงาน “ดูไบ แอร์โชว์” ถึงกองทัพอากาศ ( ทอ.)ไทยได้ลงนามจัดซื้อเครื่องบินใหม่นั้น แหล่งข่าวจาก ทอ. เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวได้มีการลงนามไปเมื่อเดือน ส.ค.2564 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องในการจัดหาเครื่องบินฝูงใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบิน L-39 ที่ปลดประจำการ ไม่ใช่เป็นการตั้งโครงการใหม่ในงบฯปี 65 โดย ทอ.พิจารณาเครื่องบินโจมตีแบบเบารุ่น AT-6 จากอเมริกา 8 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์อะไหล่ ระบบสนับสนุนการฝึกอบรม และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น รองรับภารกิจการโจมตีทางอากาศ การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ รวมถึงบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนการป้องกันประเทศ และรักษาผลประโยชน์แห่งชาติกับหน่วยงานอื่น วงเงินงบประมาณ 4,500 ล้านบาท (143,396.000 USD)
ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณอาจมีความผันผวนตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในห้วงนั้น (หากอ้างอิงตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ วันที่ 16 พ.ย.64 เป็นเงิน 4,688,260,522 บาท) ซึ่งเป็นโครงการผูกพันงบประมาณ 5 ปี ระหว่างปี 64-68
สำหรับการพิจารณาเลือกเครื่องบินแบบเบา AT-6 ของบริษัท Textron Aviation Defense LLC ประเทศสหรัฐอเมริกา มีข้อพิจารณาที่สำคัญประกอบด้วย ความประหยัด ในการส่งกำลังและซ่อมบำรุงจากการใช้ อะไหล่ร่วมกันได้กับอากาศยานที่มีอยู่ก่อนแล้ว ระยะเวลาในการฝึกที่ลดลงเนื่องจากเป็นอากาศยานในตระกูล เดียวกับที่ใช้ฝึก แต่เพิ่มขีดความสามารถให้สูงขึ้น และมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติภารกิจบริเวณแนวชายแดน ในการลาดตระเวนติดอาวุธ เป็นต้น
โดยโครงการนี้กองทัพอากาศได้รับการคัดเลือกโครงการจัดซื้อจัดจ้างในการเข้าร่วมจัดทำข้อตกลง คุณธรรมจากคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต และกรมบัญชีกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และได้ดำเนินการลงนามข้อตกลงคุณธรรมความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่าง กองทัพอากาศ (หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ, ผู้ประกอบการ (บริษัท Textron Aviation Defense LLCสหรัฐอเมริกา) และคณะผู้สังเกตการณ์ จำนวน 3 ท่าน (คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต)
ประกอบด้วย พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ รศ.ดร.คณิต วัฒนวิเชียร และ อาจารย์วิชา เมฆตระการ ทั้งนี้ คณะผู้สังเกตการณ์ ได้เข้ามาร่วมตรวจสอบขั้นตอนและกระบวนการจัดหาเครื่องบินโจมตีแบบเบา โดยมีการรายงานผลอย่างต่อเนื่องพบว่า กองทัพอากาศดำเนินการได้อย่างถูกต้องและโปร่งใส
สำหรับความก้าวหน้าของโครงการในปัจจุบันได้ดำเนินการในกระบวนการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างเรียบร้อยแล้ว ทอ.ได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อแล้ว เมื่อ 24 ส.ค.64 ที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทอ. ส่งเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 สกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย ชายแดนไทย-เมียนมา
กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบินเพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก
ทอ.ปรับโครงสร้างใหญ่ เตรียมเปลี่ยนชื่อเป็น 'กองทัพอากาศและอวกาศ'
พล.อ.ท.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แถลงภายหลังประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ถึงการปรับโครงสร้างกองทัพอากาศ ตามที่ พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งการ
'ภูมิธรรม' แบ่งรับแบ่งสู้ สอบปมฉาวบริษัทสหรัฐ ติดสินบนจนท.กองทัพอากาศ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบกรณี “สินบนข้ามชาติ” ได้รับรายงานจากกองทัพอากาศแล้วหรือไม่ว่า ยังไม่ได้รับรายงาน
ป.ป.ช. เร่งตรวจสอบ ปมบริษัทเอกชนสหรัฐฯ จ่ายสินบนหน่วยงานรัฐไทย
นายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะรองโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ตามที่ปรากฏข่าวว่า เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567
ผบ.ทอ. เคลียร์ปมฉาว! บริษัทรถไถดังสหรัฐฯ ติดสินบนเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศ
พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวถึงกรณี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC) หรือ ก.ล.ต.สหรัฐ ลงโทษ บริษัท เดียร์ แอนด์ คอมพานี" (Deere & Company) ซึ่งดำเนินธุรกิจรถแทรกเตอร์ในชื่อ จอห์น เดียร์ (John Deere) หลังพบข้อมูลการจ่ายสินบนแก่เจ้าหน้าที่ของไทย
ผบ.ทอ. เปิดแผนสู้น้ำท่วม ส่งกำลังส่วนกลางหมุนเวียนช่วยเชียงราย
พล.อ.อ.พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานส่ง เครื่องบินซี130 บรรทุกสิ่งของกำลังพล ร่วมกับ หน่วยในสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทยไป ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงรายว่