ถอดผลลัพธ์จากการประชุมเอเปค สู่การเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 29 ได้สิ้นสุดไปแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ถือเป็นการปิดฉากการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565 ของไทย นอกจากแนวคิดหลักของการประชุมอย่างการใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG มาขับเคลื่อนวาระการประชุมแล้ว ผลลัพธ์ของการประชุมเอเปคครั้งที่ไทยเป็นเจ้าภาพนี้ ยังเป็นการสานต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบเพื่อให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์โลก รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ และสร้างประโยชน์ให้ประชาชนได้ตรงตามแนวคิดหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ Open. Connect. Balance.” อย่างสมบูรณ์

ด้านการเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ หรือ OPEN. ไทยประสบความสำเร็จในเปิดโอกาสการค้าการลงุทน ผ่านการผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย – แปซิฟิก (FTAAP) ในบริบทหลังโควิด-19 ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมคือการร่วมกับนักวิชาการและนักธุรกิจ จัดทำแผนงานการขับเคลื่อนการหารือต่อเนื่องระหว่างปี ค.ศ.2023 – 2026 เพื่อเพิ่มขีดเความสามารถของสมาชิกและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับประเด็นการค้าการลงทุนใหม่ ๆ เช่น เศรษฐกิจดิจิทัล การมีส่วนร่วมในอีคอมเมิร์ซของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ระหว่างเขตเศรษฐกิจสมาชิก การค้ากับสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะช่วยลดอุปสรรค และทำให้โอกาสการค้าการลงทุนมีความครอบคลุมถึงคนทุกกลุ่มมากขึ้น

ด้านการสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค หรือ CONNECT. เอเปคเคยเสียโอกาสทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐจากข้อจำกัดด้านการเดินทางข้ามพรมแดน ไทยประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูการเดินทางข้ามแดนให้สะดวก ปลอดภัย และไร้รอยต่อ ผ่านผลงานที่เป็นรูปธรรม 3 ชิ้น คือ (1) การรับรองหลักการในการนำใบรับรองการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปใช้ในทางปฏิบัติ (2) จัดทำฐานข้อมูลเอเปคเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการเดินทางเข้าเมือง และมาตรการสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเดินทาง (3) ขยายกลุ่มผู้ใช้งานบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (ABTC) เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม MSMEs และสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ คณะทำงานเฉพาะกิจที่ไทยเป็นประธานยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อให้เอเปคมีกลไกและแนวทางการรับมือกับ disruption ในอนาคต

นอกจากนี้ ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับแขกพิเศษ ได้แก่ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย รวมถึงหารือกับภาคเอกชนผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การประชุม APEC 2022 CEO Summit เวทีการประชุมสุดยอดผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และได้หารือกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคด้วย

ด้านการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน หรือ BALANCE. ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 ไทยจัดการเสวนาโต๊ะกลมเพื่อตอกย้ำความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยผู้แทนจากทุกภาคส่วนในสังคม มาเล่าถึงความสำเร็จและแนวปฏิบัติในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 2 ฉบับ คือ (1) ปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ค.ศ. 2022 และ (2) เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG (Bangkok Goals on BCG Economy Model) ที่สะท้อนว่าไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ BCG เป็นกลไกขับเคลื่อนให้เอเปคเดินหน้าท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเป้าหมายส่งเสริมความยั่งยืนฉบับแรกของเอเปคที่เน้นการดำเนินการ 4 ข้อ คือ (1) การดำเนินการเพื่อจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ (2) การดำเนินการเพื่อบรรลุการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน (3) การดำเนินการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน (4) การดำเนินการเพื่อลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์และความสำเร็จทั้งหมดของไทยนี้ จะเป็นมรดกให้แก่ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคทั้ง สานต่อการผลักดันเศรษฐกิจที่ครอบคลุม สมดุล และยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งไทยได้ฝากสัญลักษณ์ของการเปิดกว้าง เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล ไว้ให้เอเปค ผ่านการส่งมอบ “ชะลอม”ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย โดยนายกรัฐมนตรีไทยสู่มือของนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่จะเป็นเจ้าภาพเอเปคต่อในปีหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิชัย' ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกันลงทุนไทยเพิ่ม

“พิชัย” ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกัน AMCHAM ลงทุนไทยเพิ่ม เร่งใช้แต้มต่อ FTA ไทย ผลักดัน ศก. ไทยเติบโตรวดเร็ว หลังเตรียมเยือนดาวอส ประกาศความสำเร็จ FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกกับยุโรป

นายกฯอิ๊งค์ลั่นประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยช่วงเวลา 18 นาฬิกาของวันนี้ (วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน) ตามเวลาเปรู ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 ชั่วโมง โดยจะถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ประมาณ 11 นาฬิกา ตามเวลาในประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สรุปภาพรวมภารกิจ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ดังนี้

นายกฯ ถึงสหรัฐ เตรียมประชุมเอกอัครราชทูต-กงสุลใหญ่ หารือภาคธุรกิจ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

เปิดภารกิจนายกฯบินพบนักธุรกิจ-คนไทยในแอลเอ. ชวน ‘บิ๊กระดับโลก’ ลงทุนไทย

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อม ด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะออกเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

'คำป่าหลายโมเดล' ตีแผ่ 'นโยบายฟอกเขียว' ขยายวงกว้างแย่งยึดที่ดินทำกินชาวบ้าน

ยกขบวนชี้หลุมพรางใหญ่ BCG นโยบายฟอกเขียว – คาร์บอนเครดิต นำไปสู่ปัญหาการแย่งยึดที่ดินในวงกว้าง ผลักประชาชนให้ตกสู่ภาวะความยากจนเรื้อรัง หนุนรัฐบาลให้อำนาจประชาชนในการจัดการทรัพยากร

เดอะมอลล์ กรุ๊ป หนุน กทม. ลดฝุ่นพิษ เพิ่มสถานีชาร์จรถEV

2 ก.พ.2567 - วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่าเดอะมอลล์  กรุ๊ป ในฐานะองค์กรแห่งความยั่งยืนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้แนวคิด ESG  ตอกย้ำการเป็นศูนย์การค้ารักษ์โลกขานรับนโยบายกรุงเทพมหานครในโครงการ“