จับโป๊ะ 'ม็อบป่วนเอเปก' ขอใช้สถานที่ชุมนุม ชาวเน็ตข้องใจ 'ชัชชาติ' ถูกหลอกหรือเต็มใจให้หลอก!

ม็อบเอเปก22 พ.ย.2565 - สื่บเนื่องจากกรณีเมื่อ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุมที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎรหยุกเอเปก 2022" ได้จัดชุมนุมบริเวณลานคนเมือง ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปยังสถานที่จัดการประชุมเอเปก แต่ถูกสกัดกั้นโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน บริเวณถนนดินสอ เกิดการปะทะเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจฯ

ต่อมาหลายฝ่ายเรียกร้องให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มราษฎรหยุดเอเปก 2022 ที่บริเวณถนนดินสอ โดยยืนยันว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้แจ้งขออนุญาตจัดการชุมนุมตามกฎหมายแล้ว

อย่างไรก็ตามล่าสุดในสังคมออนไลน์ มีการแชร์ต่อหนังสือลงชื่อโดยนายพีรพงศ์ เพิ่มพูล ส่งถึงผู้อำนวยการเขตพระนคร เพื่อแจ้งใช้สถานที่จัดการชุมนุมสาธารณะ

โดยมีวัตถุประสงค์การชุมนุม 2 ข้อ ประกอบด้วย 1. สื่อสารสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค 2. สื่อสารถึงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล

จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 500 คนระยะเวลาการชุมนุม 3 วันเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. ของวันที่ 16 พ.ย 2565 ถึงเวลา 23.00 น.วันที่ 18 พ.ย 2565

ในรายละเอียดการแจ้งใช้สถานที่จัดการชุมนุมสาธารณะ ระบุว่า "เป็นการชุมนุมแบบปักหลักค้างคืนตั้งแต่วันที่ 16 - 18 พ.ย. 2565 เนื่องจากมีชาวบ้านเดินทางมาร่วมชุมนุมจากหลายจังหวัดในทุกภูมิภาคและต้องดำเนินกิจกรรมเป็นเวลา 3 วัน จึงมีความจำเป็นที่ต้องปักหลักค้างคืนบริเวณลานคนเมือง โดยจะเริ่มใช้เครื่องขยายเสียงตั้งแต่เวลา 08.00 น.ถึง 23.00 น.เป็นต้นไป ข้าพเจ้ารับรองว่าข้อมูลข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ"

เป็นที่น่าสังเกตว่าในหนังสือดังกล่าว เน้นย้ำถึงการชุมนุมปักหลักค้างคืนบริเวณลานคนเมือง ไม่ได้มีการแจ้งว่าจะมีการเคลื่อนขบวนออกนอกพื้นที่ลานคนเมืองแต่อย่างใด

ทั้งนี้มีความเห็นของชาวเน็ตบางรายตั้งข้อสังเกตว่า "ถึงเขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก ผู้ว่าเต็มใจมาก เชิญม็อบหลอกได้ตามสบาย"

ก่อนหน้านี้ เมื่อ 11 พ.ย.2565 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่ตามนัยมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

โดยที่การชุมนุมสาธารณะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฏิบัติงาน หรือการใช้ บริการสถานที่ตามนัยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

จึงสมควรกำหนดสถานที่ในการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และสถานที่พำนัก ของผู้แทนประเทศในการเข้าร่วมประชุมดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2561 เป็นสถานที่ตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และและมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 นายกรัฐมนตรีจึงออกประกาศให้สถานที่และถนนบริเวณอาณา โดยรอบสถานที่ตามแนบท้ายประกาศนี้ให้เป็นสถานที่ตามนัยมาตรา 8 (5) ตั้งแต่วันที่ 14 – 19 พฤศจิกายน 2565

ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติวางระเบียบหรือคำสั่งกำหนดหลักเกณฑ์และพื้นที่ถนน และบริเวณอาณาโดยรอบของสถานที่ตามประกาศ และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้เป็นไปตามประกาศนี้ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

สำหรับแนบท้ายประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดสถานที่ตามนัยมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558

1. สถานที่จัดการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

2. สถานที่พำนักผู้แทนประเทศในการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐ

2.1 โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ ผู้แทน บูรไน

2.2 โรงแรมอนันตรา สยาม ผู้แทน สหรัฐอเมริกา

2.3 โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพ ผู้แทน สิงคโปร์

2.4 โรงแรมโรสวูด กรุงเทพ ผู้แทน นิวซีแลนด์

2.5 โรงแรมดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพ ผู้แทน เปรู

2.6 โรงแรมดิ แอทธินี ผู้แทน ไต้หวันและเวียดนาม

2.7 โรงแรมคอนราด กรุงเทพ ผู้แทน ญี่ปุ่น

2.8 โรงแรมคิมป์ตัน มาลัย กรุงเทพ ผู้แทน อินโดนีเซีย

2.9 โรงแรมสินธร เคมปินสกี้ กรุงเทพ ผู้แทน ฮ่องกงและกัมพูชา

2.10 โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท ผู้แทน ชิลีและปาปัวนิวกินี

2.11 โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพ ผู้แทน แคนาดา

2.12 โรงแรมโซ แบงคอก ผู้แทน ฝรั่งเศส

2.13 โรงแรมวอลดอร์ฟแอสโทเรีย ผู้แทน มาเลเซีย

2.14 โรงแรมเดอะ เซนต์ รีจิส ผู้แทน ซาอุดิอาราเบีย

2.15 โรงแรมแบงคอก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ ปาร์ค ผู้แทน ฟิลิปปินส์

2.16 โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพ ผู้แทน ออสเตรเลีย

2.17 โรงแรมบันยันทรี ผู้แทน เม็กซิโก

2.18 โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ผู้แทน จีน

2.19 โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด