เขย่าผู้ว่าฯกทม.! เปิดหนังสือ จี้มท.1 สอบ 'ชัชชาติ' เปิดพื้นที่ซ่องสุมผู้ต้องหาม.112

แฟ้มภาพ

21 พ.ย.2565 - จากกรณีศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (คปปส.) กลุ่มนักรบองค์ดำ และศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) เตรียมเดินทางไปยังกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 22 พ.ย.นี้ เพื่อยื่นหนังสือต่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ตรวจสอบ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ผู้ว่าฯกทม.) หลังเปิดพื้นที่ลานคนเมืองให้มีการชุมนุมม็อบหยุดเอเปก จนกระทั่งมีเหตุการณ์วุ่นวาย

ล่าสุดมีการเผยแพร่หนังสือดังกล่าว โดยมีเนื้อหาว่าสืบเนื่องด้วยวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 มีการจัดประชุมเอเปก 2022 ณ กรุงเทพมหานครประเทศไทย ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรงกลาโหม ลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 พฤจิกายน 2565 เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่ตามนัยมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การชุมนุมสาธารณะ โดยกำหนดสถานที่ในการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC และสถานที่พำนักของผู้แทนประเทศในการเข้าร่วมประชุมตังกล่าว ตาม พ.ร.บ.เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ.2561 จึงมีการห้ามชุมนุมที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิดิ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐ

นอกจากนี้ยังอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ห้ามชุมนุมบริเวณ 19 โรงแรม ซึ่งเป็นที่พำนักผู้แทนประเทศในการประชุมครั้งนี้ และเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าวนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ควรจะอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.การชุมนุมสาธารณะ ประกาศให้กรุงเทพมหานครทั้งหมดเป็นพื้นที่ห้ามจัดการชุมนุม 100 เปอร์เซ็นต์ด้วย เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้แทนประเทศต่างๆที่เข้าร่วมการประชุมเอเปก 2022 ในครั้งนี้ รวมถึงความสง่างามและเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่สายตาประชาคมโลก แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กลับได้เปิดพื้นที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่การกรุงเทพมหานคร อนุญาตให้เป็นพื้นที่จัดการชุมนุม (ม็อบ) ต่อต้านและล้มการประชุมเอเปก 2022 และเป็นที่ช่องสุมกำลังเพื่อทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ยิ่งไปกว่านั้นการจัดการชุมนุม (ม็อบ) ที่นำโดย

น.ส.ภัสราวลีหรือมายต์ ธนกิจวิบูลย์ผล จำเลยม.112
น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ จำเลยม.112
นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ดาวดิน ผู้ต้องหาม.112
น.ส.เนติพรหรือบุ้ง เสน่ห์สังคม จำเลยม.112
น.ส.ณัฐนิชหรือใบปอ ดวงมุสิทธิ์ จำเลยม.112

และรวมถึงผู้ต้องหาหรือจำเลยม. 112 รายอื่นๆที่เข้าร่วมการชุมนุม (ม็อบ) ในครั้งนี้ ซึ่งเท่ากับว่าการจัดการชุมนุม (ม็อบ) ที่อ้างว่าต่อต้านการประชุมเอเปกและไล่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นั้นกลับกลายเป็นแหล่งช่องสุมกำลังของผู้ต้องหาและจำเลยในมาตรา 112 ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และการที่นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดพื้นที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ให้กับผู้ต้องหาและจำเลยในมาตรา 112 ได้มีพื้นที่ช่องสุมกำลัง นั่นก็เท่ากับว่าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันอย่างนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รู้เห็นเป็นใจด้วยหรือไม่ และหรือเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่

ดังนั้นทางศูนย์รวมประชาชปกป้องสถาบัน (คปปส.) กลุ่มนักรบองค์ดำและศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) จึงนำเรียนหนังสือฉบับนี้แก่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่การกระทรวงมหาดไทย ได้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่วและนำไปพิจารณาอย่างเร่งด่วนต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คปท. ลั่น 2568 ปีเช็กบิล!

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า ปีเช็กบิล

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด