จบเห่! 'ปิยบุตร' ขู่ส.ว.อยากมีสนามการเมืองเล่นต่อ ควรเสียสละตัวเอง

‘ปิยบุตร’ ขู่ ส.ว. ถ้ายังอยากมีสนามการเมืองเล่นต่อ ควรเสียสละตัวเอง ให้ถูกยุบทิ้งไปซะ แย้ง ‘วิษณุ-รัฐบาล’ ปมพระราชอำนาจวีโต้ร่างพ.ร.บ. ไม่รวมร่างรัฐธรรมนูญ ด้าน’ไอติม’ เปรียบ ฉบับภาคปชช เป็นวัคซีนโควิดเข็มแรก ปลุกกรุยทางรื้อระบอบประยุทธ์

16 พ.ย.2564- นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม แกนนำกลุ่ม Re-Solution ร่วมกันแถลงข่าวถึงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ (แก้ไขเพิ่มเติม) ฉบับที่… พ.ศ…. ที่เสนอโดยภาคประชาชน กลุ่ม Re-Solution มีจำนวนประชาชนเข้าชื่อ 135,247 ชื่อ ต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณารับหลักการในวาระที่1

โดยนายพิจารณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่การจัดสรรเวลาในการชี้แจงค่อนข้างสั้นฝ่ายค้านได้เวลา 5 ชั่วโมง และเหลือให้พรรคก้าวไกลเพียง 1 ชั่วโมง ทั้งที่การพิจารณาในครั้งนี้มีเนื้อหาและรายละเอียดที่ละเอียดอ่อนมากมาย เมื่อเทียบร่างฯที่ผ่านการพิจารณาคราวที่แล้วที่แม้จะมีถึง7ญัตติ แต่เนื้อหาจับประเด็นไม่มากอะไร สำหรับพรรคก้าวไกลเป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมกับภาคประชาชนที่ล่ารายชื่อในร่างแก้ไขฉบับนี้

ด้านนายปิยบุตร กล่าวว่า ปีนี้ตนมาในฐานะผู้แทนประชาชน 135,247 คน ในการเสนอร่างฯที่เราให้ชื่อว่ารื้อระบอบประยุทธ์ หลักใหญ่ในร่างฯมี4ประเด็น 1.ยกเลิกวุฒิสภา ใช้ระบบสภาฯเดียว คือส.ส. 2.แก้ไขที่มาการตรวจสอบถ่วงดุลศาล และองค์กรอิสระ 3.ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และ4.ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 2557 และป้องกันการรัฐประหารในอนาคต ตนคาดหวังว่าส.ส.จะให้ความเห็นชอบ โดยไม่กังวลว่าพรรคใดเป็นฝ่ายค้าน หรือรัฐบาล เพราะเนื้อหามีความสำคัญ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

“สำหรับส.ว. เข้าใจดีว่าอาจเป็นเรื่องยากลำบากที่จะโหวตเห็นชอบในชั้นรับหลักการได้ แต่ผมเชื่อว่าคงมีส.ว.ที่ตระหนักถึงประโยชน์ประเทศชาติ ประชาชนเป็นหลัก และส.ว.ดำรงตำแหน่งอย่างไม่ถูกต้องชอบธรรมมานานแล้ว บางคนเป็นมาตั้งแต่รัฐประหาร2549” นายปิยบุตร กล่าว

นายปิยบุตร กล่าวด้วยว่า ขอฝากไปยังประชาชน ให้ติดตามฟังเหตุผลการชี้แจงของเรา รวมถึง ส.ส. ส.ว. แล้วลองชั่งน้ำหนักดูว่าเหตุผลใครดีกว่ากัน ก่อนจะมีการลงมติในวันรุ่งขึ้น เราก็จะทราบว่าใครลงมติไปในทิศทางใด ครั้งนี้ยังเป็นเพียงชั้นรับหลักการ ยังมีวาระ2 วาระ3 ถ้าผ่านไปได้ ยังต้องไปทำประชามติอีก ตนไม่เห็นเหตุผลอื่นใดที่สมาชิกจะไม่รับหลักการครั้งนี้ ควรจะรับไปก่อน แล้วค่อยมาถกเถียงพิจารณากันต่อไป เป็นการแสดงให้เห็นว่าสมาชิกให้ความสำคัญกับร่างฯฉบับประชาชน

นายปิยบุตร กล่าวว่า ร่างฯฉบับนี้ไม่ได้แตะระบบเลือกตั้ง เนื่องจากจะไปมีส่วนได้เสียกับพรรคการเมือง สุดท้ายถ้ามีส.ส.ร. ควรจะเปิดโอกาสให้ส.ส.ร.ที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับพรรคใดเลย เข้ามาออกแบบแทน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นต่างกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐบาล ว่า รัฐธรรมนูญปี60 แตกต่างกับรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือปี2550 รัฐธรรมนูญฉบับปี 40 และ50 เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระราชอำนาจในการยับยั้ง(วีโต้) ร่างกฎหมาย และร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเอาไว้ แต่รัฐธรรมนูญปี60 เขียนให้พระราชอำนาจในการวีโต้เฉพาะร่างพ.ร.บ. ไม่รวมร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

“ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนายกฯ ในฐานะผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ จำเป็นจะต้องถวายคำแนะนำไปส่วนนี้ไปว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการวีโต้ จะต้องทรงลงพระปรมาภิไธยในการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น แต่เมื่อนายกฯไม่ทำหน้าที่แบบนี้ รองนายกฯไม่เตือนนายกฯให้ถวายคำแนะนำแบบนี้ จะเกิดปัญหาขึ้น แต่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ เรายังไม่ทราบว่าการลงพระปรมาภิไธยในร่างฯเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ผมคิดว่า ถ้าวันนี้ผ่านไปได้ก่อน ยังมีโอกาสแก้ไขได้ต่อไป” นายปิยบุตร กล่าว

นายปิยบุตร กล่าวว่า ตนแปลกใจที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบันทุกครั้ง ต้องถามส.ว.ก่อนว่าจะให้ผ่านหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดประหลาด กลายเป็นว่าส.ว.เพียงไม่ถึง100คน สามารถสกัดขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญเสมอ ถ้าส.ว.ต้องการมีบทบาททางการเมืองต่อไป เรามีสนามทางการเมืองหลายสนาม รวมถึงการดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆในอนาคต ในเมื่อที่มาของคุณไม่ชอบธรรม ตนคิดว่าส.ว.ต้องเสียสละลงมติ ยุบส.ว.ทิ้งไป เข้ามาสู่ระบบปกติ อย่าปล่อยให้ส.ว.แบบนี้ดำรงอยู่ต่อไป หลายคนบอกว่ายาก แต่ตนยังหวัง ถ้าประชาชนช่วยกันส่งเสียง อย่างน้อยส.ว.ต้องฟัง ให้สมกับที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า ส.ว.เป็นหนึ่งในผู้แทนของปวงชนชาวไทย

ขณะที่นายพริษฐ์ กล่าวว่า เราเห็นปัญหาจากรัฐธรรมนูญปี2560 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจของระบอบประยุทธ์ จะบริหารประเทศได้ดีหรือไม่ ถูกใจแค่ไหน ก็ยังสามารถบริหารอำนาจตัวเองไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ร่างฯฉบับนี้ ถ้าเปรียบเป็นวัคซีนแก้โควิด-19 ถือเป็นเข็มแรก ที่ไม่ได้แก้ปัญหาทุกอย่างทั้งหมด แต่มุ่งแก้มาตราที่เป็นปัญหามากที่สุดในการรื้อกลไกสืบทอดอำนาจ ถึงแม้ร่างฯฉบับนี้จะผ่าน ก็ตามมาด้วยการตั้งส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีอำนาจแก้ไขทุกหมวด ทุกมาตรา

“เข้าใจว่าเราคงจะเห็นความพยายามของสมาชิกรัฐสภาหลายท่าน ที่จะวาดภาพให้ร่างฯฉบับนี้น่ากลัวสุดโต่ง แต่ร่างฯฉบับนี้ไม่ได้ซับซ้อน เราสร้างระบอบการเมืองที่เป็นกลาง ไว้ใจประชาชน กติกาเป็นธรรม ทุกฝ่ายไม่ว่าจะมีอุดมการณ์การเมืองแบบไหน ก็สามารถแข่งขันกันได้อย่างเป็นธรรม ไม่ใช่ผูกขาดอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็หวังว่าสมาชิกรัฐสภาจะโหวตบนหลักการประโยชน์ของประเทศ มากกว่าผลประโยชน์ตัวเอง” นายพริษฐ์ ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ

รักษาจุดยืนพรรค ’ชูศักดิ์’ ปัดตอบ ‘พริษฐ์’ มอง พท. มีโอกาสกลับลำไม่แก้ รธน. บางประเด็น

’ชูศักดิ์‘ ปัดคอมเมนต์ ‘พริษฐ์’ มอง ‘เพื่อไทย’ มีโอกาสกลับลำไม่แก้บางประเด็น ย้ำชัดต้องรักษาจุดยืนของพรรค โยน ‘วิสุทธิ์’ ตัดสินใจประชุมร่วมฯ แก้ รธน. 14-15 ม.ค.หรือไม่ เมิน เสียงวิจารณ์ พท.คว่ำร่าง ปชน.บอกเป็นแค่เสียง ต้องรอดูถกในสภาฯ

‘คำนูณ’ ยันแก้ รธน. มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ ต้องมีประชามติ สอบถาม ปชช.ก่อน

จะแก้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้วว่าทำได้ แต่จะต้องจัดให้มีประชามติสอบถามประชาชนเสียก่อน

'ชูศักดิ์' เผยครม.ติดจรวจ กม.เพื่อปชช. หาช่องแก้ม. 256 ดันรธน.ใหม่ทันรัฐบาลนี้

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอกฎหมายต่อสภาฯในนามรัฐบาล ว่า สิ่งที่รัฐบาลจะขับเคลื่อนนโยบายทางด้าน

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน