'ไทย-จีน' สุดแน่นแฟ้น 'ครม.' เห็นชอบร่างถ้อยแถลง มุ่งสู่ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน

แฟ้มภาพ

15 พ.ย.2565 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย – จีน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมซึ่งเป็นข้อหารือราชการระหว่างกันโดยไม่มีการลงนาม ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นายสี จิ้นผิง ช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ระหว่างวันที่ 17 – 19 พ.ย. 2565 ร่างถ้อยแถลงร่วมมีประเด็นข้อราชการที่สำคัญ อาทิ1.การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ะหว่างไทยกับจีน ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านในปี 2565 นี้ และการเตรียมการสู่การครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ในปี 25682.การย้ำท่าทีทางการเมืองในการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของกันและกัน3.การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง รวมถึงการขับเคลื่อนแนวคิดการสร้างระเบียงการพัฒนาความเชื่อมโยงไทย - ลาว - จีน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ของไทยกับกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง - ฮ่องกง - มาเก๊า และเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีของจีน โดยเฉพาะสาขาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า4.การส่งเสริมความร่วมมือในด้านอื่น ๆ อาทิ สาธารณสุข การลดความยากจนและการพัฒนาชนบท และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะยาเสพติด การพนันออนไลน์ และขบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์5.การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน การกลับมาทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศไทยกับจีน ร่วมมือกันฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง และเพิ่มความร่วมมือด้านการศึกษาวัฒนธรรม สื่อ และข้อมูลข่าวสารนางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ร่างถ้อยแถลงได้ระบุถึงการดำเนินการร่วมกันตามแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย - จีน พ.ศ.2565 - 2569 และแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งวันนี้ ครม.มีมติเห็นชอบเอกสารทั้ง 2 ฉบับเช่นกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ฉบับแรก คือ แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย - จีน พ.ศ.2565 – 2569 นี้ เป็นแผนฉบับที่ 4 ที่ทั้งสองฝ่ายร่วมกันจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินความสัมพันธ์และกรอบความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในระยะ 5 ปี โดยกำหนดกรอบความร่วมมือที่จะดำเนินการร่วมกันใน 18 สาขา อาทิ 1.การเมือง เช่น ฝ่ายจีนเคารพเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย 2.การทหารและความมั่นคง เช่น แลกเปลี่ยนการเยือนและการหารือในทุกระดับระหว่างกองทัพและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย 3.เศรษฐกิจการค้าและการลงทุน เช่น ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการค้า อำนวย ความสะดวกทางการค้า ประสานและวางแผนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในด้านต่างๆ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเชียน - จีน เสริมสร้างการประสานระหว่างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย กับกรอบความร่วมมือเขตอ่าวกวางตุ้ง - ฮ่องกง - มาเก๊า (GBA) ของจีน 4.เกษตรกรรม เช่น เพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการเกษตร อำนวยความสะดวกการนำเข้าผลไม้ กระชับการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในประเด็นเกษตรอัจฉริยะ เกษตรสีเขียว เทคโนโลยี ดิจิทัล และนวัตกรรมทางการเกษตร ความปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหารฉบับที่สอง คือ แผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ อาทิ เพื่อให้การพัฒนามีมาตรฐานสูง มีความยั่งยืน และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมการพัฒนาความร่วมมือสายแถบและเส้นทางที่มีคุณภาพสูง ส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละฝ่าย เพิ่มพูนความร่วมมือด้านรถไฟ ทางหลวง การขนส่งทางทะเล ท่าอากาศยาน พลังงาน การสื่อสาร อวกาศ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มการอำนวยความสะดวกในการลงทุน การค้า และพิธีการทางศุลกากร โดยขับเคลื่อนความร่วมมือใน 5 สาขา ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ได้แก่ การประสานนโยบาย การเชื่อมโยงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การค้าอย่างไร้อุปสรรค การบูรณาการทางการเงิน และความสัมพันธ์ในระดับประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถึงบางอ้อ ดร.เสรี เผยเหตุ 'กัมพูชา' ยอมตกลง MOU44

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงนาม MOU44 มีหรือจะพูดว่า MOU44 ไม่ดีสำหรับประเทศไทย เขาย่อมพูดว่าเป็นผลดี

‘อิ๊งค์’ โชว์30บ. เวทีผู้นำเอเปก

นายกฯ อิ๊งค์โชว์ผลงาน 30 บาทรักษาทุกที่ บนเวทีผู้นำภาคเอกชนเอเปก พร้อมชวนลงทุนด้านธุรกิจดูแลสุขภาพในไทย มั่นใจหลังให้นโยบาย “บีโอไอ”

นายกฯอิ๊งค์ โชว์ 30 บาทรักษาทุกโรค บนเวทีสุดยอดผู้นำภาคเอกชนเอเปก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 16.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ซึ่งช้ากว่ากรุงเทพฯ 12 ชม.) ณ the Grand National Theater of Peru กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมน

'แพทองธาร' หารือทวิภาคี 'สี จิ้นผิง' จีนยันสนับสนุนไทยในเวทีระดับโลกทุกมิติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อ 15 พ.ย. 2567 เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่นกรุงลิมา ประเทศเปรู ซึ่งช้ากว่าไทย 12 ชั่วโมง) โรงแรม Delfines Hotel