“กุดหมากไฟ” ชุมชนต้นแบบการเรียนรู้ ผู้อนุรักษ์น้ำ ป่า ธรรมชาติ

น้ำ หรือ แหล่งน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะเป็นการอยู่อาศัย หรือทำมาหากิน จึงทำให้การดูแลแหล่งน้ำเป็นเรื่องที่ต้องหยิบยกขึ้นมาให้พูดหรือถกเถียงกันอยู่เสมอ เพราะหากในพื้นที่นั้นๆ มีแหล่งน้ำที่ดีจะสามารถส่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการดูแลแหล่งน้ำนั้นมีความหลากหลายและเฉพาะทางแยกไปตามประเภท ซึ่งตัวอย่างการดูแลแหล่งน้ำที่ดีในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือ ชุมชนกุดหมากไฟ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

ชุมชนกุดหมากไฟ ปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนที่เป็นต้นแบบระดับประเทศ ซึ่งความเข้มแข็งจากการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ชุมชนได้รับรางวัล ระดับประเทศมากมาย เช่น รางวัลกล้ายิ้มของบริษัทไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ได้คาร์บอนเครดิตปีละ 50,000 บาท จาก ธกส. และสำนักงานพัฒนาชุมชน รางวัลธงพิทักษ์ป่า (ช้าง 1 เชือก) รางวัลชุมชนอุดมสุข ระดับ ภาค ของ ธกส. และรางวัลชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ระดับภาค ของ ธกส. เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการจัดการป่าร่วมกันเป็นลักษณะเครือข่ายป่าชุมชน กระจายรอบป่าอุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ เทือกเขาภูพานน้อย จำนวน 11 หมู่บ้าน เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน เช่น ด้านอาหาร ยา สมุนไพร การเก็บหาของป่า เป็นต้น และมีแผนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งยิ่งส่งเสริมให้ป่าชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ จนเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญ คือ ลำห้วยหลวง มีความยาวประมาณ 1,200 เมตร ที่หล่อเลี้ยงคนในพื้นที่ตำบลกุดหมากไฟ เพื่อใช้สำหรับการอุโภค บริโภค ตลอดทั้งการเกษตร

ผ่านความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก ให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ เช่น ธกส. ป่าไม้ ท้องที่ ท้องถิ่น โครงการปิดทองหลังพระ เป็นต้น ซึ่งเดิมตำบลกุดหมากไฟเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยหลายสายและมีกุดเป็นความยาวประมาณ 1,200 เมตร มีต้นมะไฟอยู่ริมทั้งสองฝั่งจึงขนานนามว่า “กุดหมากไฟ” อยู่ในการปกครองของบ้านห้วยไร่ ตำบลหมากหญ้า และต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นหมู่บ้าน และแยกการปกครองเป็นตำบลกุดหมากไฟจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 11 หมู่บ้าน

แต่ในปี 2556 เกิดการลุกลามของไฟป่าในพื้นที่ป่าของตำบลกุดหมากไฟอันเนื่องมาจากการเผาป่าของชาวบ้านทั้งในและนอกพื้นที่ป่า หน่วยงานด้านการควบคุมไฟป่าของกรมป่าไม้จึงขอประสานความร่วมมือกับกำนัน และผู้นำหมู่บ้านเข้าร่วมดับไฟป่าเพื่อป้องกันการลุกลามเข้าไปยังวัดป่า ที่มีอยู่ในท้องที่ตำบลกุดหมากไฟและตำบลอื่นๆ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นและจุดเปลี่ยนของชุมชนที่จะเข้ามาดูแลพื้นที่อย่างจริงจัง โดยได้มีการพัฒนาเป็นเครือข่ายป้องกันไฟป่าระดับหมู่บ้านขึ้นที่บ้านกุดหมากไฟ และขยายผลเป็นเครือข่ายป้องกันไฟป่าในระดับตำลในปีต่อมา ประกอบกับได้มีการอบรม ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ในปี 2557

ทั้งนี้ มีการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันผ่านเวทีประชุมสัญจรตำบลที่จัดขึ้นทุกเดือน และกรณีมีปัญหาเฉพาะเรื่องที่สำคัญจะมีการประชุมหารือและร่วมกันแก้ไขหรือดำเนินการในรูปเครือข่าย การจัดหาทุนจะร่วมกันพิจารณาเพื่อเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุน ตลอดจนมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนเพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยคนในชุมชนมีกฎ-กติกาการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน ดังนี้ 1.ห้ามตัดไม้ ทำลายป่าทุกชนิดในเขตป่าชุมชน 2.ห้ามเผาป่า ในเขตป่าชุมชน 3.ห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด 4.ห้ามบุกรุกพื้นที่ในเขตป่าชุมชน 5.ห้ามเก็บหาหน่อไม้ ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี 6.ห้ามเท ทิ้งขยะในเขตป่าชุมชน และ 7.ห้ามนำกล้วยไม้ออกจากป่าชุมชน

นอกจากนี้ชุมชนยังมีกระบวนการการสืบทอดของคนรุ่นใหม่ โดยเครือข่ายได้มีการพัฒนากลุ่มเยาวชนผ่านการจัดทำค่ายเยาวชนรักษ์ป่า การพัฒนาเยาวชนผู้นำเที่ยว ชุมชน และมีการถ่ายทอดงานด้านการจัดการป่าชุมชนให้กับคณะกรรมการป่าชุมชนและสมาชิกป่าชุมชนแต่ละหมู่บ้าน เช่น การปรับปรุงคณะกรรมการให้มีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยบริหารจัดการ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ทางการบริหารที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการป่าที่ต้องอาศัยคนรุ่นใหม่ เป็นต้น

และทางชุมชนเองก็ยังมีแผนงานในอนาคต โดยพัฒนาให้ป่าชุมชนมีฐานข้อมูลด้านความหลากหลายชีวภาพและมีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในและนอกพื้นที่ รวมทั้งมีการพัฒนาต่อยอดผลผลิตความหลากหลายทางชีวภาพในป่าให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์จากไผ่ เครือและเถาวัลย์ สมุนไพรในป่า ขณะเดียวกันยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการบริหารจัดการไปยังชุมชนสาธารณชนโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน

แน่นอนว่าจากการดำเนินงานที่หลากหลายของชุมชน จึงทำให้ “กุดหมากไฟ” เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านการจัดการป่าแบบมีส่วนร่วมสู่การจัดการที่ยั่งยืนของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) และถือว่าเป็นชุมชนต้นแบบที่สามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องป่า เรื่องน้ำ เนื่องจากเป็นชุมชนที่นำเอาประโยชน์ด้านการบริการของป่า เช่น น้ำ ทิวทัศน์ ธรณีสัณฐาน น้ำตก เป็นต้น มาเป็นแหล่งเรียนรู้และป่านันทนาการ เชื่อมโยงกับเกษตรกรรมและวิถีชีวิตอย่างสมดุล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พีระพันธุ์' สั่ง ปตท. ระดมน้ำมัน-ก๊าซเข้าภาคใต้ป้องกันขาดแคลน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่ประสบเหตุอยู่ขณะนี้

'ภูมิธรรม' สดุดี 'ทักษิณ' ครองใจคนอุดรฯ พา พท. ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.

'ภูมิธรรม' ฟุ้งอุดรธานีหัวใจคนเพื่อไทยโดยแท้ ชนะเป็นเรื่องธรรมดา ยํ้า ปชช. ยังรัก 'ทักษิณ' ชอบผลงานที่ทำมา อุบ 'อิ๊งค์' ลงพื้นที่ขอบคุณ

กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum

เทพไท ชี้ ทักษิณ ปั่นหุ้นกวาด 200 ส.ส. แท้จริงขายฝันแค่หลอกชนชั้นนำ

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่าทักษิณ ปั่นหุ้นกวาด200ส.ส. หลอกชนชั้นนำ

เจ้าสำนักอุดรโพล ชี้ทางสว่าง 'พท.' อยากชนะขาดคู่แข่งต้องป่าล้อมเมือง

เจ้าสำนัก”อุดรโพล”ชี้ หากพท.อยากชนะ พิธา-พรรคส้มให้ขาด ต้องใช้วิธี”ป่าล้อมเมือง”สถานเดียว ยอมรับ แม้ว-ทิม ยกทัพใหญ่มา มีผล แพ้-ชนะ เผยสู้กันเดือด โค้งสุดท้ายระวัง คืนหมาหอน