ผ่านพ้นไปแล้วกับงานประเพณีอันดีงามของไทยที่มีความยั่งยืนอย่างแท้จริง “Bangkok River Festival 2022 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย” ที่จัดต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 8 ภายใต้แนวคิด “รักษ์ ณ สายน้ำ” บนพื้นที่จัดงาน 10 ท่าน้ำสำคัญทางประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร / วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร / วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร / วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร /วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร / ท่ามหาราช / เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ / เดอะ ล้ง 1919 ริเวอร์ไซด์ เฮอริเทจ เดสติเนชั่น/ สุขสยาม ณ ไอคอนสยาม และท่าศาลเจ้ากวนอู (คลองสาน) ท่ามกลางบรรยากาศคึกคักของบรรดานักเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
และ “Lamphun River Festival” ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 “ร้อยสายบุญ ถวายโคม ตามประทีป เชื่อมพระธาตุ-พระรอด” กระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยพบกับเปิดตลาดชุมชน พร้อมเดิมชม Lighting Display ต๋ามประทีป ส่องเมือง ยามค่ำคืน บนถนนรถแก้ว ขบวนถวายโคมพระรอด เคลื่อนขบวนผ่านถนนรถแก้ว สักการะพระรอดหลวงวัดมหาวัน ชมการแสดงดนตรีวงเครื่องเป่าและเครื่องสาย เวทีหลัก ณ คุ้มเจ้าสุริยา และ นิทรรศการเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง คุ้มเจ้ายอดเรือน และอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย ณ ถนนรถแก้ว สะพานบุญ เชื่อมพระธาตุ-พระรอด จังหวัดลำพูน
“Bangkok River Festival 2022 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย” เรียกได้ว่าเป็นงานเดียวที่นักท่องเที่ยวจะได้สักการะไหว้พระ ทั้ง 5 พระอารามหลวงในยามค่ำคืน และชมความงดงามของสายน้ำเจ้าพระยาจากทั้ง 10 ท่าน้ำ รวมถึงร่วมชมอัตลักษณ์ที่งดงามจากสถาปัตยกรรมที่ผสานเรื่องเล่าประจำชุมชนริมน้ำ สุขไปกับกิจกรรมสรรค์สุข สนุกไปกับแสงสี และอิ่มเอมไปกับมรดกศิลป์ทรงคุณค่า เชื่อมโยงวิถีแห่งวัฒนธรรมอันดีงาม พบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ พิธีขอขมาพระแม่คงคา พิธีสวดกระทงเสริมมงคลชีวิต ลอยประทีปบูชารอยพระพุทธบาท สวดมนต์เจริญสมาธิ สาธิตประดิษฐ์กระทงและการทำเครื่องแขวนเอกลักษณ์ไทย ซุ้มอาหารชุมชนชวนชิม และตลาดนัดชุมชนรวมของดีของเด่นประจำท้องถิ่นมารวมไว้ในงานให้ได้ ช้อป ชม ชิม นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เน้นยกระดับการจัดงานให้มีความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมสังคม และการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน (ESG) เป็นการสร้างประโยชน์เพื่อชุมชน โดยการจัดการของชุมชน ด้วยกลยุทธ์ บ.ว.ร.ยกกำลังสอง อันประกอบไปด้วย บ้าน วัด โรงเรียน โดยการสนับสนุนของภาคส่วนภายนอก ได้แก่ บริษัท วิสาหกิจเพื่อสังคม และราชการ อีกทั้งยังได้ขยายเครือข่ายให้กว้างขึ้นต่อยอดกิจกรรม River Talk รับฟังเรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่านตำรับขนมหวาน 2 วัฒนธรรมโปรตุเกสและไทย และยังคงสานต่อกิจกรรม KAYAK The Series ครั้งที่ 2 ลอยละล่อง 3 ศิลป์ ยกถิ่นบางกอกใหญ่ และ “ศิลป์ร่วมสร้าง ชุมชนร่วมสุข” ครั้งที่ 3 เชื่อมโยงงาน Bangkok Art Biennale 2022 (BAB2022) เป็นต้น เป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และสร้างโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างชุมชนเข้มแข็งไปในตัว
โดยในแต่ละพื้นที่จะมีกิจกรรมและไฮท์ไลท์มีรายละเอียดในแต่ละพื้นที่พอสังเขปดังนี้
1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ร่วมสักการะพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) จุดประทีปรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อสร้างมงคลร่มเย็นเป็นสุขในชีวิตร่วมลอยประทีปเทียนหอม พบกับการแสดงดนตรีไทย และร้านค้าชุมชน
2. วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
ร่วมสักการะพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก ขอพรหลวงพ่อรุ่งอรุณเสริมสิริมงคลให้กับตนเอง เวียนเทียนพระปรางค์ 4 ทิศ ทำประทักษิณโดยรอบ บ่อลอยประทีปเทียนหอม และสวดมนต์เจริญสมาธิ และร้านค้าชุมชน
3. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
สักการะพระประธานยิ้มรับฟ้า พระประธานวัดระฆังฯ และรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) และสวดพระคาถาชินบัญชร บ่อลอยประทีปเทียนหอม และพบกับการออกร้านค้าจากชุมชน การแสดงดนตรีจากสถานศึกษาและการแสดงศิลปวัฒนธรรม
4. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
ร่วมสักการะหลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อซำปอกง) และพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ทำบุญหีบสมบัติเจ้าสัวโต มงคลมั่งคั่ง บ่อลอยประทีปเทียนหอม และร้านค้าชุมชน
5. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
5. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ลอดพระบรมธาตุเจดีย์เสริมสิริมงคล และ สักการะพระพุทธนาค ลอยประทีปเทียนหอมบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และร้านค้าชุมชน และการแสดงดนตรีจากสถานศึกษาและการแสดงศิลปวัฒนธรรม
6. ท่ามหาราช
ช้อป ชม ชิม ริมเจ้าพระยา เส้นทางสัญจรระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี ลอยกระทงบุฟเฟ่ต์ ประกวดมิสวันเพ็ญ พบกับตลาดอาหารและขนมไทยมากมาย
7. สุขสยาม ณ ไอคอนสยาม
สัมผัสเสน่ห์ความงามหลากมิติของไทย ลิ้มรสอาหารคาวหวานจาก 4 ภาค รื่นเริงไปกับการละเล่นดั้งเดิมและร่วมสมัย ตื่นตากับผลงานจากภูมิปัญญา งานหัตถศิลป์
8. เอเชียทีค เดอะริเวอร์ ฟร้อนท์
อิ่มเอมไปกับ ประเพณีลอยกระทง และกิจกรรมมากมาย ตระการตากับทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยา รื่นเริงงานวัดร่วมสมัย คอนเสิร์ตชิลล์ ชิลล์ จากศิลปิน กิจกรรมร่วมประดิษฐ์กระทงด้วยตนเอง พบกับการออกร้านค้าชุมชนของกินอร่อยมากมาย ซุ้มเกมงานวัด และซุ้มจำหน่ายกระทงจากนักศึกษา
9. เดอะ ล้ง 1919 ริเวอร์ไซด์ เฮอริเทจ เดสติเนชั่น
ก้าวแรกบนแผ่นดินสยาม คุณค่าแห่งศิลปะและวิถีชีวิตอารยธรรมไทย-จีนโบราณ สักการะเจ้าแม่หม้าโจ่ว และเพลิดเพลินกับหนังกลางแปลง วันที่ 5 - 8 พ.ย. 2565 (4 วัน)
10. ท่าศาลเจ้ากวนอู (คลองสาน)
เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งชาวจีนฮกเกี้ยนได้อัญเชิญมาจากมณฑลฮกเกี้ยนทางเรือเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.2279 สมัยกรุงศรีอยุธยา สักการะเทพเจ้ากวนอู บ่อลอยประทีปเทียนหอม พบกับการออกร้านค้าชุมชนของกินอร่อย
นับเป็นอีกหนึ่งงานดีๆ ที่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และพันธมิตรทุกภาคส่วนได้ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อขานรับนโยบายเปิดประเทศ ต้อนรับนักท่องเที่ยว ตอกย้ำการเป็นเทศกาลวัฒนธรรมอันดีงาม นับเป็นอีกหนึ่งงานที่ยกระดับการบริหารจัดงานอย่างยั่งยืนทุกมิติพร้อมผลักดันสู่การเป็น Festival ระดับโลก “เพื่อบอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
นุ่งโจงห่มสไบลอยกระทง ยลวิถีคืนเพ็ญที่ ’สุขสยาม’
Bangkok River Festival 2024 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 “ยลสายน้ำ ยินทำนอง” ที่เชิญชวนมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงริมสองฝั่งสายน้ำเจ้าพระยา
โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ
4 CEO ชั้นนำ เปิดแนวคิดฝ่าความท้าทายอนาคตที่ยั่งยืน บนเวที SX2024
ความพยายามของประชาคมโลกที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 2030 (Sustainable Development Goals) ในอีก 6 ปีข้างหน้า