กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำระยองและป่าชายเลน ริเริ่ม ร่วมมือ สานต่อการดูแลอย่างเป็นระบบ

ป่าชายเลน ถือว่าเป็นประเภทของป่าที่คนในเมือง อย่างคนกรุงเทพ น่าจะคุ้นเคยมากที่สุด เนื่องจากมีสถานที่สำคัญๆ แหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้กรุงเทพ และรวบรวมแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ที่สำคัญได้รับการดูแลจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติทำให้ป่าชายเลนยังคงมีความอุดมสมบูรณ์มาอย่างต่อเนื่อง

ซึ่ง “ป่าชายเลน” ในประเทศไทยนั้น มีพื้นที่รวมกันกว่า 1 ล้านไร่ กระจายไปในหลายจังหวัดของประเทศไทย อาทิ ตราด ชลบุรี สมุทรสาคร ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ปัตตานี เป็นต้น แม้จะมองว่าพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยนั้นยังมีอีกมากมาย และกระจายวงกว้างในหลายจังหวัด พื้นที่ของป่าชายเลนก็ทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความเจริญของเมือง ความต้องการของคนในสังคมที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดการขยายพื้นที่อาศัย หรือพื้นที่ทำกินในรูปแบบโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเติบโตของสังคมจนทำให้พื้นที่ป่าชายเลนของชุมชนนั้นเริ่มลดน้อยลง แต่ยังโชคดีที่มีกลุ่มคนในพื้นที่เห็นถึงความสำคัญ และเร่งมือที่จะร่วมกันพัฒนาและดูแลป่าชายเลนให้คงอยู่ได้ทันอย่าง 7 ชุมชนใน ต.ท่าประดู่ อ.เมือง จ.ระยอง ที่ปัจจุบันมี กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำระยองและป่าชายเลนเกิดขึ้น

กลุ่มอนุรักษ์ฯ นี้ ทำหน้าที่เหมือนเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาป่า และแหล่งน้ำในจังหวังระยองโดยมีการสร้างความร่วมมืออย่างเป็นปึกแผ่น ซึ่งจุดเริ่มต้นมาจาก “ลุงคิน” นายคิน นาวงศ์ และ “ลุงบุญ” นายสมบุญ สุขอินทร์ ทั้งสองคนเป็นคนดั้งเดิมในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้จุดประกายการอนุรักษ์ โดยการสร้างสะพานไม้เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติบนพื้นที่ป่าชายเลน ในปี 2547 และในปี 2549 เทศบาลเมืองระยองได้จัดให้ชาวบ้านไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่บ้านเปร็ดใน จ.ตราด

รวมถึงในพื้นที่ สถานีพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จ.จันทบุรี และศูนย์ศึกษารรมชาติธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี ซึ่งการไปดูงานหลายพื้นที่ทำให้เกิดความประทับใจ ชุมชนจึงมีแนวคิดที่จะบริหารจัดการป่าชายเลนเหมือนอย่าง บ้านเปร็ดใน และได้ก่อตั้ง “กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำระยองและป่าชายเลน” โดยมีสมาชิกเป็นตัวแทนจาก 7 ชุมชน ที่อยู่รอบบริเวณป่าชายเลน ได้แก่ 1.ชุมชนสมุทรเจดีย์ 2.ชุมชนสัมฤทธิ์ 3. ชุมชนปากน้ำ 1 4.ชุมชนปากน้ำ 2 5.ชุมชนเนินพระ 6.ชุมชนทุ่งโตนด และ 7.ชุมชนก้นปึกปากคลอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนและแม่น้ำระยอง มีการกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลนที่ชัดเจน และส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์น้ำบริเวณแม่น้ำระยองและป่าชายเลน

ขณะที่ในปี 2552 กลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้ทำกิจกรรมใหญ่เพื่อรวมพลังฟื้นภูมิปัญญารักษ์ป่าชายเลน เพื่อปลูกฝังเยาวชนสำนึกรักบ้านเกิด ได้จัดทำโครงการฟื้นภูมิปัญญารักษ์ป่าชายเลน โดยการสนับสนุนจากกองงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครระยอง ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากชาวบ้านในชุมชนต้องการปลูกจิตสำนึกรักบ้านเกิดและร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดนเฉพาะผืนป่าชายเลนของชุมชนจำนวนเกือบ 300 ไร่ ซึ่งเป็นป่าชายเลนผืนสุดท้ายที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะฟักสัตว์น้ำวัยอ่อนหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นกุ้งแชบ๊วย หอยพอก ปลากะพงขาว ฯลฯ

และหลังจากนั้นในปี 2563 ทางกลุ่มได้ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1(ระยอง) และเทศบาลนครระยอง ได้ร่วมกันเก็บขยะจาก ทุ่นกักขยะ หรือ BOOM ที่ร่วมกับธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี พัฒนาและติดตั้งทุ่นกัก ขยะดังกล่าวในบริเวณแม่นำระยอง และคลองสำคัญต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเล เพื่อกักไม่ให้ขยะมูลฝอยที่ลอยน้ำได้จากแผ่นดินไหลลงสู่ทะเล ซึ่งสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดต่อระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์ทะเลหายากได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริเวณพระเจดีย์กลางน้ำ ต.ปากน้ำ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง พบขยะเป็นจำนวนมากติดที่ทุ่นกักขยะ ส่วนใหญ่เป็นขยะขวดแก้ว ถุงหูหิว แก้วพลาสติก และโฟม โดยขยะที่เก็บได้ดังกล่าวไปรีไซเคิล และขายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ต่อไป

จนถึงปัจจุบันทางกลุ่มฯ ก็ยังมีการเดินหน้าเรื่องการดูแลอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดพื้นที่ฟื้นฟูป่าชายเลน เป็น 4โซนพื้นที่ โดย โซนที่ 1 และโซนที่ 2 เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปูแสม ซึ่งในโซนที่ 2 ยังมีเรือนเพาะชำกล้าไม้ ส่วนในโซนที่ 3 ปัจจุบันมีเส้นทางเดินเชื่อมต่อระหว่างโซนที่ 3, 2, 1 และ 4 ขณะที่ โซนที่ 4 เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ซึ่งโซนที่ 1, 2 และ 4 ได้รับการประเมินว่าสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 2,847 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ในปี 2551-2559)

นอกจากนี้ยังมีการออกไปเรียนรู้เพิ่มเติมกับเครือข่ายภายนอกเพื่อมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ขณะเดียวกันกลุ่มอนุรักษ์ฯ ยังมีการสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับกรมทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่งในการเจรจาพูดคุยกับผู้ที่สร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ พื้นที่เนื่องจากเป็นภารกิจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยตรง

ส่งผลให้ปัจจุบันสามารถสร้างภาคีการร่วมมือทั้ง 5 ภาคี ได้แก่ 1.กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 3.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 4.สำนักงานคุมประพฤติ และ 5. บริษัทเอกชน , โรงงานอุตสาหกรรม เป็นแบบอย่างที่ดีของการทำงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและองค์กร-ปกครองท้องถิ่น มีศักยภาพที่ดี จึงเป็นที่ยอมรับของเอกชน และหน่วยงานรัฐ แสดงถึงความยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี

IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน

ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท

ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024

ปตท. มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ ผลักดันทักษะ STEM ให้เยาวชนไทย ในโครงการ PTT Group STEM Camp 2024

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ PTT Group STEM Camp 2024 เพื่อมุ่งสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้าน STEM ให้กับเยาวชนในดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากทั่วประเทศ