พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทุกประเทศรวมถึงไทยจึงต้องการแหล่งพลังงานที่มั่นคง และจำเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศในระยะยาว โดยที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีปริมาณจำกัด และไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้อีก นอกจากนี้ ในขณะที่เชื้อเพลิงฟอสซิลถูกเผาไหม้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งก๊าซดังกล่าวจะดักจับและกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศของโลก ประเด็นดังกล่าวจึงกลายมาเป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในฐานะที่ไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก และเพื่อเป็นการเน้นย้ำว่าไทยให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว จึงมีการผลักดันการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยลดการผลิตและใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG Economy Model ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน โดยลดการผลิตและใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการปลูกสตรอว์เบอร์รีในโรงเรือนเพาะปลูกไม้เมืองหนาว ณ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดระยอง ที่มีการนำของเสียจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติมาสร้างโรงเรือนอุณหภูมิเย็นเพื่อปลูกพืชเมืองหนาว เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน, โครงการผลิตเชื้อเพลิงจากปาล์มน้ำมันหรือไบโอดีเซล และการใช้พลังงานโซลาเซลล์ เพื่อส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทางเลือกแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และโครงการโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น ไทยได้ประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีการผลักดันนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดมลภาวะและลดการใช้พลังงาน เช่น สนับสนุนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในไทยและการนำเข้ายานยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงดูดนักลงทุน เช่น การลดภาษีนำเข้า หรือการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่นักลงทุนที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย เป็นต้น พร้อมกันนี้ ยังส่งเสริมให้มีการลงทุนโดยลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานทดแทน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น หากมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล 3 ปี รวมถึงการยกระดับการดำเนินการให้ได้มาตรฐาน GAP, FSC และ ISO เป็นต้น นอกจากนี้ ในการประชุม APEC 2022 ยังเป็นโอกาสของไทยในการนำเสนอ “เป้าหมายกรุงเทพฯ เรื่องเศรษฐกิจ BCG (Bangkok Goals on BCG Economy)” ในเวทีโลก เพื่อนำแนวคิด BCG Economy Model มาส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายสำคัญ 4 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศซึ่งรวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' อัด 'ภูมิธรรม' ยังสับสนเรื่องเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานทราปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า นายภูมิธรรมยังสับสนเรื่องเกาะกูด
‘ภูมิธรรม’ ทุบฝ่ายต้านบิดเบือน MOU เกาะกูด ทำผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ผลประโยชน์ชาติสั่นคลอน เมื่อการเมืองบิดเบือน MOU เกาะกูด" ระบุว่าการจุดประเด็นทางการเมืองเรื่อง MOU 44 ในช่วงนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในหลา
'วรงค์' เหนื่อยใจกับนายกฯอิ๊งค์ พูดวกวน เหมือนดีใจที่กัมพูชาลากเส้นไหล่ทวีปอ้อมเกาะกูด
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "เหนื่อยใจกับอุ๊งอิ๊ง"
'หมอวรงค์' ประกาศล่า 1 แสนชื่อคนคลั่งชาติ ยกเลิก 'MOU 44'
'ไทยภักดี' ประกาศล่า 1 แสนรายชื่อคนคลั่งชาติ ยกเลิก MOU 44 แนะรัฐคุยกัมพูชา ลงสัตยาบัน UNCLOS ก่อนเจรจาผลประโยชน์