เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022” โดย มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับกรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วน ประกาศความพร้อมจัดงานต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด CHAOS : CALM โกลาหล : สงบสุข จัดเต็มผลงานศิลปะจาก 73 ศิลปินชั้นนำ จาก 35 สัญชาติทั่วโลก ที่จะมาสร้างความอลังการและความยิ่งใหญ่ให้กับวงการศิลปะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยผลงานศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 200 ผลงาน บนสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานครทั้งหมด 12 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2565 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ และผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Bangkok Art Biennale เปิดเผยว่า ในนามบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Bangkok Art Biennale เราตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรมไทย โดยงาน Bangkok Art Biennale 2022 หรือ BAB 2022 ถือเป็นโครงการสำคัญที่จัดขึ้นมา เพื่อให้กรุงเทพมหานครได้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญทางด้านศิลปะร่วมสมัยในอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะจากทั่วโลก เทศกาลศิลปะร่วมสมัย บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ถือเป็นการจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 จากการผสานความร่วมมือครั้งสำคัญ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และพันธมิตรทุกภาคส่วน นับเป็นการผลักดันคุณค่าทางศิลปะ คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรม สู่คุณค่าทางศิลปกรรม เพื่อยกระดับให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจ สร้างสรรค์แก่เมือง และชุมชน ทั้งชุมชนศิลปะ และชุมชนที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิต การบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สำหรับความพิเศษของปีนี้ นอกจากจะนำผลงานจากศิลปินทั่วโลกมาจัดแสดงไว้ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการจัดแสดงงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวบนพื้นที่ใจกลางเมืองได้เป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้เพิ่มพื้นที่จัดแสดงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้รักงานศิลปะที่จะเดินทางมาจากทั่วโลก
ทางด้าน ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ เปิดเผยว่า งานนี้ได้จัดมาแล้ว 2 ครั้งที่ประเทศไทย เมื่อปี 2018 และปี 2020 ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทั้งมุมของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างโอกาสให้ศิลปินไทย และศิลปินจากทั่วโลกได้แสดงผลงานในกรุงเทพมหานคร สำหรับปีนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิดใหม่ “CHAOS : CALM โกลาหล : สงบสุข” โดยมีแก่นของแนวคิดคือ การค้นพบความสงบสุขท่ามกลางความวุ่นวาย สามารถนำไปสู่ความรู้และโอกาสต่าง ๆ แม้ว่าเราจะเผชิญอยู่กับยุคการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทุกอย่างยังมีความโกลาหลก็ตาม ประสบการณ์แห่งความนิ่งและความสงบนั้นก็ยังมีอยู่ โดยผ่านผลงานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งศิลปินจะตีความมุมมองขั้วตรงข้ามของคำว่า โกลาหล : สงบสุข สองคำที่แม้จะดูขัดแย้งกันด้วยความหมายของมันเอง แต่กลับปรากฏอยู่ในชีวิตของเราทุกคน งานบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022 พร้อมจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 200 ผลงาน จากศิลปินชั้นนำของโลกจำนวน 73 ศิลปิน 35 สัญชาติ ตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ ในกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, สามย่านมิตรทาวน์, เดอะ ปาร์ค, เดอะพรีลูด วันแบงค็อก, JWD Art Space และในพื้นที่เสมือนจริง BAB Virtual Venue
“บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022” มีความตั้งใจสนับสนุนวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย โดยเน้นการใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของคนไทย มาเสริมสร้างภาพมุมมองของศิลปกรรมที่เพิ่มความงดงามและทันสมัยเพื่อผลักดันให้เกิดการสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้แก่คนไทย ในรูปของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยปีนี้ถือว่ามีความพิเศษเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเราจะนำผลงานจากศิลปินชั้นนำทั่วโลกมาจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่หลักในการจัดแสดงงาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวบนพื้นที่ใจกลางเมืองได้เป็นจำนวนมากแล้ว เรายังได้เพิ่มพื้นที่จัดแสดงงานแห่งใหม่ขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เรียกว่าเป็น BAB BOX แห่งใหม่ ที่พร้อมเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้รักงานศิลปะที่จะเดินทางมาจากทั่วโลก และยังถือเป็นโอกาสพิเศษในฐานะที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในการจัดประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC APEC 2022 Thailand ทำให้คณะประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC 2022 ได้มีโอกาสชมงานศิลปะชากเหล่าศิลปินที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เชื่อว่าจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผลงานศิลปะร่วมสมัยบนพื้นที่ขนาดใหญ่ รวมถึงกิจกรรมที่เตรียมจัดเต็มอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเพิ่มพื้นที่เสมือนจริง BAB Virtual Vanue ที่จะใช้จัดแสดงผลงาน Digital Art บนโลกออนไลน์แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นรูปแบบงานศิลปะที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในวงการศิลปะ นอกจากนี้ยังพบเหล่าศิลปินชื่อดังจากทั่วโลกที่จะเดินทางมากรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าร่วมงานพบปะแฟนๆผู้รักศิลปะในประเทศไทย นำโดย ทอม แซ็คส์ / มารีนา อบราโมวิช / ทัตสึโอะ มิยาจิมะ / เจค แชปแมน / เออีเอส+เอฟ เรียกว่าจะช่วยสร้างสีสันด้านการท่องเที่ยว สร้างความตื่นตัวให้คนในวงการแวดวงศิลปะ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะ โดยงานจะเริ่มในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
นุ่งโจงห่มสไบลอยกระทง ยลวิถีคืนเพ็ญที่ ’สุขสยาม’
Bangkok River Festival 2024 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 “ยลสายน้ำ ยินทำนอง” ที่เชิญชวนมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงริมสองฝั่งสายน้ำเจ้าพระยา
โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ
4 CEO ชั้นนำ เปิดแนวคิดฝ่าความท้าทายอนาคตที่ยั่งยืน บนเวที SX2024
ความพยายามของประชาคมโลกที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 2030 (Sustainable Development Goals) ในอีก 6 ปีข้างหน้า