ส่งเสริมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดันไทยให้เป็นศูนย์กลางรับมือภัยพิบัติของอาเซียน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นับเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงทิศทางการพัฒนาประเทศ จึงมีความจำเป็นที่ทุกภาคส่วนและทุกมิติ จะต้องร่วมมือร่วมใจกันเตรียมความพร้อมในการจัดการสาธารณภัยเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้น โดยในการประชุม APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ได้มีการจัดการประชุมคณะทำงานด้านการเตรียมความพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน ครั้งที่ 18 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการจัดการภัยพิบัติ ครั้งที่ 15 โดยไทยได้มุ่งผลักดันและเน้นย้ำประเด็น “การส่งเสริมการลดความเสี่ยงและการส่งเสริมความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อการฟื้นฟูภายหลังโควิด-19” รวมถึงผลักดันความร่วมมือในการขับเคลื่อนกรอบเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการสร้างเมืองและสาธารณูปโภคที่ปลอดภัย ให้สามารถรับมือและฟื้นตัวกลับจากภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็ว

รัฐบาลได้ดำเนินการสร้างแผนรับมือและบรรเทาสาธารณภัย โดยส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการรับมือภัยพิบัติในอาเซียน ภายใต้โครงการ คลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยของอาเซียน (Disaster Emergency Logistics System for ASEAN: DELSA) ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 16 ชัยนาท โดยอาเซียนกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการจัดเก็บและกระจายสิ่งของช่วยเหลือให้แก่ประเทศอาเซียนที่ประสบภัยพิบัติ ทำให้กลไกการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภูมิภาคเป็นระบบ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีการเรียนรู้การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติจากต่างประเทศแล้วนำมาปรับใช้ในไทย พร้อมทั้งวางแผนป้องกันด้านอุปกรณ์และวิธีการให้พร้อมตลอดเวลา นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างแผนการรับมือและบรรเทาสาธารณภัยในระดับประเทศและระดับชุมชน เช่น การจัดเวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติของไทยในมิติต่าง ๆ โดยมีทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP

โครงการ Care the Bear ลดโลกร้อนเป็นรูปธรรมวัดผลได้ใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” ขานรับเป้าหมายการประชุมเอเปค 2565 สู่เศรษฐกิจ BCG อย่างสมดุลและยั่งยืน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ร่วมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำในการประชุมเอเปค 2565

ชู ความ “BALANCE” จากสถานที่จัดการประชุมเอเปคสู่ของที่ระลึกสื่อมวลชน

แนวคิดหลักของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ คือ OPEN.CONNECT.BALANCE ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิดหลักดังกล่าวคือ “Balance.”

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”

เปิดกว้าง สร้างโอกาสให้กับทุก ๆ คน

แรงงาน คือ ฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การเปิดโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่แรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวจึงเป็นประเด็นที่ไทยให้การสนับสนุนมาตลอด