'กรมอุตุฯ'ประกาศเตือนภาคใต้ฝนตกหนัก

14 พ.ย. 2564 – กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง “ฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้(มีผลกระทบจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564)”

ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564

หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงยังคงปกคลุมภาคใต้ตอนกลาง คาดว่าจะเคลื่อนลงทะเลอันดามันตอนบนในวันนี้ (14 พฤศจิกายน 2564) ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักบางแห่ง ได้แก่ บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยและทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 11.00 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โล่ง! ระยะนี้ไม่พบสัญญาณก่อตัว 'พายุหมุนเขตร้อน' ใกล้ไทย

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อุตุฯ เตือนฝนตกหนัก 42 จังหวัด 'กทม.-ปริมณฑล' ฟ้าคะนอง 70%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน

กรมอุตุฯ เตือนร่องมรสุมพาดผ่าน 44 จว.ฝนตกหนัก ‘กทม.’ ร้อยละ 80 ของพื้นที่

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน