เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ได้จัดขึ้น ณ อาคารมหาศาลาประชาชนในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน การประชุมผู้แทนระดับชาติแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เป็นการประชุมครั้งสำคัญที่จัดขึ้นในยามที่พรรคฯ และประชาชนชาติพันธุ์ต่างๆ ทั้งหลายเดินทางครั้งใหม่เพื่อสร้างบ้านเมืองให้เป็นสังคมนิยมที่ทันสมัยอย่างรอบด้านและมุ่งสู่ “เป้าหมายศตวรรษที่2” เลขาธิการใหญ่สีจิ้นผิง ชี้ให้เห็นในรายงานว่า จีนจะยึดมั่นในวัตถุประสงค์ด้านนโยบายการต่างประเทศที่พิทักษ์สันติภาพของโลกและส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันมาโดยตลอด ทุ่มเทขับคลื่อนการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งมนุษยชาติ จีนยืนหยัดหลักการ 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ผลักดันการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่ ลงลึกการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนที่เท่าเทียม เปิดกว้าง และร่วมมือ ขยายจุดร่วมของผลประโยชน์กับประเทศต่างๆ
เนื่องในโอกาสการเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่20 และครบรอบ 10 ปีแห่งการก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น สถานกงสุลใหญ่จีนฯ จึงอยากบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาระหว่างสถานกงสุลใหญ่จีนฯ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
สิบปีแห่งความรุ่งโรจน์ ทะยานสู่ความสำเร็จด้วยพลัง
รำลึกครบรอบสิบปีการก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่น
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2555 สถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่นได้เปิดอย่างเป็นทางการที่เทศบาลนครขอนแก่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2565 ถือเป็นวาระครบรอบ 10 ปีของการก่อตั้งความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างครอบคลุมระหว่างจีน-ไทยและกำลังจะเข้าสู่ปีที่ 10 ของข้อริเริ่ม "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ส่วนสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่นก็ถึงวาระครบรอบ 10 ปีด้วยเช่นกัน
ในวัฒนธรรมจีน "10" ถือว่าเป็นตัวเลขที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ "สิบปีแห่งความหนาวเหน็บ" หมายถึง ความสำเร็จของนักเรียนต้องอาศัยความเพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนในระยะยาว "สิบปีในการลับดาบ" หมายถึง ความสำเร็จของกิจการต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะในระยะยาว "สิบสมบูรณ์แบบ" หมายถึง กระบวนการที่สวยงามและมีผลสำเร็จ "10" แสดงถึงความคงอยู่และความสมบูรณ์ โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเป็นบันทึกที่แท้จริงของสถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่นก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งขันและสร้างมิตรภาพระหว่างจีน-ไทยให้แข็งแกร่ง
วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2555 สถานกงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จังหวัดขอนแก่นเปิดอย่างเป็นทางการ โดยฯพณฯท่าน เซี่ย ฝู๋เกิน กงสุลใหญ่ในขณะนั้น กล่าวแสดงความขอบคุณ
ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทยที่แน่นแฟ้นและการร่วมสร้างแรงขับเคลื่อน "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" สถานกงสุลใหญ่จีนฯ ใช้หลักการแนวคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยการทูตในยุคสมัยใหม่ ดำเนินการตามแนวคิดในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมวลมนุษยชาติ อยู่บนพื้นฐานขั้นตอนการพัฒนาใหม่ ดำเนินการตามแนวคิดการพัฒนาใหม่ เดินหน้าผลักดันความร่วมมือเชิงปฏิบัติระดับทวิภาคีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการเรียนรู้ร่วมกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมถึงปลูกฝังมิตรภาพของ "จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน"
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การสื่อสารเชิงนโยบายยังคงมีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถานกงสุลใหญ่จีนฯได้มีการเยือน 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอย่างกว้างขวาง มีการเข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ ทำความเข้าใจเอกลักษณ์ท้องถิ่นและสภาพการพัฒนาในปัจจุบัน อธิบายถึงนโยบายล่าสุดของจีนได้อย่างทันท่วงที ร่วมหารือเกี่ยวกับโอกาสความร่วมมือในอนาคตตามประสบการณ์การพัฒนาของจีน สร้างแพลตฟอร์มที่ดีในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งยังเปิดช่องทางการสื่อสารเชิงนโยบายกับรัฐบาลท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วย สร้างความร่วมมืออย่างแข็งขันกับหน่วยงานภาครัฐและสื่อกระแสหลัก อาทิเช่น สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น หนังสือพิมพ์ข่าวอีสานไทยแลนด์นิวส์ เป็นต้น บอกเล่าเรื่องราวของประเทศจีนสู่ทุกสาขาอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แนะนำการสร้างพัฒนาของจีนในยุคสมัยใหม่และความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในร้อยปีที่ผ่านมา นโยบายการเปิดประเทศของจีนและความสำเร็จของการเสริมสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" รวมถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่ของมหกรรมโอลิมปิกฤดูหนาว ณ กรุงปักกิ่ง ฯลฯ ได้รวมรากฐานที่สำคัญของการแลกเปลี่ยนทวิภาคีและความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองประเทศ สร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับตำรวจภูธรภาค 3 และ ตำรวจภูธรภาค 4 ของประเทศไทย มีการจัดตั้งกลไกการเจรจาร่วมกับกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองภาค 4 ของประเทศไทยและด่านศุลกากรหนองคายเขตชายแดนไทย-ลาว จัดหลักสูตรอบรมการเรียนการสอนภาษาจีนแก่หน่วยงานราชการ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการดำรงชีวิตและการประกอบกิจการให้แก่พี่น้องชาวจีนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2555 ฯพณฯท่าน เซี่ย ฝู๋เกิน กงสุลใหญ่ในขณะนั้น เข้าเยี่ยมคารวะท่านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ในปี พ.ศ. 2559 ฯพณฯท่าน หลี่ หมิงกัง กงสุลใหญ่ในขณะนั้น เข้าเยี่ยมชมกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง4
ในปี พ.ศ. 2562 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุน กงสุลใหญ่ เข้าร่วมหลักสูตรอบรมภาษาจีนสำหรับตำรวจท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2565 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุน กงสุลใหญ่ เข้าเยี่ยมชมสำนักประประชาสัมพันธ์เขต1 ขอนแก่น
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ว่าด้วยการพัฒนาด้านคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อกับการดำรงชีวิตของประชาชนให้เป็นไปได้อย่างกว้างขวาง การพัฒนาเส้นทางรถไฟจีน-ไทยที่วิ่งผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย คือโครงการความร่วมมือ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญระหว่างจีนและไทย กล่าวคือ การสนับสนุนและพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพด้านการก่อสร้างรถไฟนั้น ถือเป็นงานสำคัญหลักๆของสถานกงสุลใหญ่จีนฯ ที่ถูกเน้นย้ำ นับตั้งแต่ก่อตั้งสถานกงสุลใหญ่จีนฯ เป็นต้นมา ได้มีการเยี่ยมชมสถานที่ก่อสร้างหลายครั้งเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคืบหน้าและปัญหาที่พบขณะปฏิบัติของโครงการ โดยมุ่งเน้นที่การก่อสร้างทางรถไฟจีนไทย โดยได้มีการหารือกับหน่วยงานราชการท้องถิ่นของไทยและองค์กรชาวจีนโพ้นทะเลหลายครั้ง เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟจีน-ไทย ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการจัดอบรม "หลักสูตรฝึกอบรมการรถไฟจีน-ไทย" สนับสนุนการจัดอบรมภายใต้ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาของท้องถิ่นและวิทยาลัยเทคนิคการรถไฟอู่ฮั่นประเทศจีนที่จัดโครงการฝึกอบรม"วิทยาลัยรถไฟความเร็วสูงลู่ปัน" เพื่อส่งเสริมความสามารถและปลูกฝังเทคนิคเฉพาะทางสำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจีน-ไทย
ในปี พ.ศ. 2560 ฯพณฯท่าน หลี่ หมิงกัง กงสุลใหญ่ในขณะนั้น ได้เข้าร่วมสัมมนาเรื่องการวางแผนระยะยาวในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2565 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุน กงสุลใหญ่ เยือนสองจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพื่อศึกษาดูงานความคืบหน้าของการเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟจีน-ลาว-ไทย
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การประกอบการธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นจนได้ผลลัพธ์ที่มีความชัดเจน สถานกงสุลใหญ่จีนฯมีความมุ่งมั่นอย่างแข็งขันที่จะเร่งพัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ ประการแรก คือการศึกษาดูงานเชิงลึกในภาคธุรกิจหลักๆในพื้นที่เขตรับผิดชอบของสถานกงสุลใหญ่จีน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และบริษัทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอย่างเป็นทางการทั้งในด้านเทคโนโลยีและการเกษตร และส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเข้าสู่นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” และ “ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC)”ร่วมกับการก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย ประการที่สอง คือการสนับสนุนอย่างเป็นทางการในด้านการพัฒนาบริษัทจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เยี่ยมเยือนและแสดงความห่วงใยต่อบริษัทจีนเป็นประจำ อาทิเช่น บริษัท กว๋างเขิ่น รับเบอร์ บริษัท กว่างซี คอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่งกรุ๊ป ยีอาน (ประเทศไทย) จำกัดและอื่นๆในพื้นที่รับผิดชอบของสถานกงสุลใหญ่จีนฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ ขจัดความกังวลของบริษัทและพนักงาน และช่วยให้บริษัทจีนพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และเติมเต็มพลังเพื่อเป็นแรงผลักดันอย่างแข็งขันในการพัฒนาสังคม ประการที่สาม คือการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างรัฐบาลและหอการค้าของทั้งสองประเทศ ได้เป็นพยานในการพัฒนาตามลำดับในด้านการเชื่อมความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องจีน-ไทย ทั้ง 8จังหวัดมณฑล ได้แก่ มณฑลเสฉวนกับจังหวัดนครราชสีมา มณฑลฝู๋เจี้ยนกับจังหวัดขอนแก่น เมืองลั่วหยางกับจังหวัดอุดรธานี เทศบาลหนานหนิงกับเทศบาลนครขอนแก่น โดยรัฐบาลจังหวัดและเมืองได้หล่อหลอมความสัมพันธ์ฉันมิตรและความร่วมมือทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ซึ่งยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นำพาประโยชน์สู่ประชาชนของทั้งสองประเทศอย่างทั่วถึงและก่อให้เกิดผลลัพธ์จากการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมในแนวคิดแบบชนะร่วมกัน
ในปี พ.ศ. 2560 ฯพณฯท่าน หลี่ หมิงกัง กงสุลใหญ่ในขณะนั้น ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานสัมมนาเรื่อง การพัฒนาจังหวัดขอนแก่นและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2565 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุนได้เข้าร่วมพิธีลงนามหนังสือแสดงเจตจำนงการสร้างความสัมพันธ์เมืองมิตรไมตรีระหว่างเมืองลี่เจียง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนและเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ราชอาณาจักรไทย
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทำความเข้าใจกันระหว่างประชาชนได้บรรลุเป็นผลสำเร็จ สายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความใกล้ชิดของประชาชน และความใกล้ชิดของประชาชนเกิดจากความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กิจการงานอันเป็นเจตนาร่วมของประชาชนทั้งสองคือร่วมกันทำความดีและให้ความช่วยเหลือในยามคับขัน เมื่อจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความต้องการในการขจัดความยากจนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นของประชาชน สถานกงสุลใหญ่จีนฯ ได้แบ่งปันประสบการณ์ที่ผ่านมาของประเทศจีนในการบรรเทาความยากจนตามเป้าหมายกับฝ่ายไทยอย่างแข็งขัน และยังได้จัดตั้งคณะผู้แทนของหน่วยงานราชการท้องถิ่นเพื่อเยี่ยมชมโครงการบรรเทาความยากจนในมณฑลกว่างซีของประเทศจีน หลังจากความพยายามและทุ่มเทมานานนับปี การดำเนินงานในการลดระดับความยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จอย่างราบรื่น เมื่อเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่รุนแรงทั่วโลก ผู้คนจากทุกสาขาอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ยื่นมือช่วยเหลือและแสดงความสนับสนุนด้วยการบริจาคเงินและสิ่งของต่าง ๆ ให้กับพื้นที่ที่เกิดการแพร่ระบาดของประเทศจีนผ่านทางสถานกงสุลใหญ่จีนฯ ในด้านของสถานกงสุลใหญ่จีนฯเอง ยังดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ให้การสนับสนุนด้านปัจจัยและสิ่งของ ประสานงานในการรับบริจาคเงินและสิ่งของภายในประเทศ และมอบ“ถุงยังชีพ”เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ร่วมกันสร้างประชาคมสาธารณสุขของมนุษยชาติ
ในปี พ.ศ. 2562 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุน กงสุลใหญ่ได้ทำการบริจาคสิ่งของปัจจัยให้แก่ผุ้ประสบปัญหาความยากจนในจังหวัดขอนแก่น
ในปี พ.ศ. 2565 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุน กงสุลใหญ่ได้มอบบริจาคเวชภัณฑ์ในการป้องกันโรคระบาดให้แก่จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และบุรีรัมย์
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การผสมผสานและรวมตัวกันด้านวัฒนธรรมได้รับการชื่นชมอย่างเป็นวงกว้าง สถานกงสุลใหญ่จีนฯ มุ่งมั่นที่จะใช้วัฒนธรรมในการถ่ายทอดแนวทาง เป็นกระบอกเสียงและสร้างมิตรภาพขึ้นมา อธิบายและแนะนำวัฒนธรรมอันโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์แบบจีน สะท้อนจิตวิญญาณและภูมิปัญญาแบบจีนให้แก่พี่น้องชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ผ่านการส่งเสริมให้กลุ่มศิลปะพื้นบ้านของจีนมาเยือนยังประเทศไทย ให้วัฒนธรรมจีนดั้งเดิมได้แย้มบานในต่างประเทศ ผ่านการช่วยเหลือโรงเรียนสอนภาษาจีนที่เผชิญกับความยากลำบากและแก้ไขปัญหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนด้านการศึกษาภาษาจีน ผ่านการจัดตั้งโครงการ "ทุนการศึกษากงสุลใหญ่" และการจัดค่ายทัศนศึกษาในภาคฤดูร้อน สนับสนุนให้นักเรียนในท้องถิ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศจีนและวัฒนธรรมจีน ดำเนินการจัดการแข่งขันภาษาจีน "ถ้วยรางวัลเส้นทางสายไหม" เพื่อดึงดูดคนรักภาษาจีนให้มากขึ้น ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองเทศกาลต่าง ๆ เช่น "เทศกาลสงกรานต์" และ "เทศกาลผ้าไหมไทย" เพื่อส่งเสริมและบูรณาการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรมจีนและไทย สถานกงสุลใหญ่จีนฯ ได้ส่งเสริมผลักดันกิจกรรมทางวัฒนธรรม การศึกษาและการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลากรของทั้งสองประเทศ ในระดับต่างๆและในหลากหลายสาขาวิชาชีพ ซึ่งได้รับการยอมรับและชื่นชมจากทุกสาขาอาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2556 ฯพณฯท่าน เซี่ย ฝูเกิน กงสุลใหญ่ในขณะนั้นได้เข้าร่วมชมการแสดงของคณะนาฏกรรม China Sihai Tongchun Art
ในปี พ.ศ. 2565 ฯพณฯท่าน เหลี้ยว จวิ้นหยุน กงสุลใหญ่มอบ "ทุนการศึกษากงสุลใหญ่" ให้แก่นักเรียนที่ชนะการแข่งขันภาษาจีน
สิบปีแห่งความรุ่งเรืองและการเดินทางอีกนับหลายหมื่นลี้ภายภาคหน้า เมื่อมองย้อนกลับไปยังอดีต สถานกงสุลใหญ่จีนฯ เติบโตอย่างเข้มแข็งภายใต้มิตรภาพจีน-ไทยที่แน่นแฟ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อมองไปยังอนาคตข้างหน้า สถานกงสุลใหญ่ฯ จะยังคงส่งเสริมและผลักดันการเสริมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ร่วมกันระหว่างจีนและไทย กระตือรือร้นต่อการสร้างคุณูปการเพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันทางการเมือง การหลอมรวมกันทางเศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนและวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่บทใหม่ของความสัมพันธ์จีน-ไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ศุภชัย' โพสต์ แสดงปาฐกถา ในประเทศจีน ชื่นชมนโยบาย 'Green and Belt' ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตไปพร้อมๆ กับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นายศุภชัย ใจสมุทร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวระบุเรื่อง การไปร่วมประชุมหัวข้อ "การสัมมนาพรรคการเมืองและอารยธรรมนิเวศน์ โครงการความริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Political Parties and ecological civilization seminar,Belt and Road Initiative) ระหว่างวันที่ 8-14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา