ตั้ง “กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำสายบุรี” ร่วมดูแลหวังส่งต่อสู่ลูกหลาน

สายน้ำ คือหนึ่งในแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้อาศัยทั้งดำรงเลี้ยงชีพ และทำมาหากินมาอย่างยาวนาน ยิ่งในประเทศไทยที่ถูกเรียกว่าอู่ข้าวอู่น้ำก็ได้มีการใช้งานแหล่งน้ำ ทั้งห้วย หนอง คลอง บึง รวมถึงแม่น้ำมาโดยตลอด จากการทำเกษตรกรรม การทำปศุสัตว์ หรือการอุปโภคบริโภคของคนในพื้นที่นั้นๆ แม้ว่า ในปัจจุบันที่การพัฒนาของสังคมมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การทำอาชีพหรือการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว แต่แหล่งน้ำก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่

แต่หากแหล่งนั้นๆ ไม่ได้ถูกดูแล ถูกละเลย รวมถึงมีการใช้งานอย่างไม่รู้คุณค่าก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสังคม หรือชุมชนได้ เช่นเดียวกับที่แม่น้ำสายบุรี บ้านจะรังตาดง อ.รามัน จ.ยะลา เคยประสบมา...

บ้านจะรังตาดง เป็นชุมชนริมแม่น้ำสายบุรี เป็นที่ตั้งของ “พรุลานควาย” พรุน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 15,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 14 หมู่บ้าน 3 อำเภอ 2 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานีและยะลา ที่มีความสำคัญยิ่งในภาคใต้ตอนล่าง ลือเลื่องด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจุดเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อแม่น้ำสายบุรีนั้น เริ่มในปี 2535 เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ยุคการพัฒนาสมัยใหม่และเกิดโครงการใหญ่ที่ส่งผลกระทบมหาศาล และมีการสร้างโดยขาดการศึกษาผลกระทบ นั่นคือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง หรือโครงการสร้างเขื่อนสายบุรี

เพื่อหาทางออก ผู้นำศาสนา ผู้อาวุโสในบ้านจะรังตาดง ได้จัด “สภาซูรอ” ประชุมปรึกษาหารือกัน รวมทั้งทบทวนข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏของ “ครูเปาะสู” หรือนายเปาะสู วาแมดีซา ผู้นำ“นักพัฒนา”ในสายตาชาวบ้าน ที่ถูกภาครัฐตีตราว่า เป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนในยุคที่สังคมไทยอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งของอุดมการณ์การเมือง ซึ่งจากข้อกล่าวหานี้ หากชุมชนเคลื่อนไหว อาจถูกระบุว่าเป็นการขัดขวางการพัฒนา

จังหวัดยะลาในปี 2539 และในปี 2540 เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสมัชชาคนจน ที่เคลื่อนไหวประท้วงถึง 99 วัน โดยข้อเรียกร้องหนึ่งคือ ให้รัฐบาลยุติโครงการสร้างเขื่อนสายบุรีจนประสบความสำเร็จ

 เมื่อประเด็นร้อนจบ ชุมชนบ้านจะรังตาดงหันมาสร้างชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ผนวกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมลังกาสุกะ (สวนดูซง) เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง ทางอาหาร รักษาอัตลักษณ์วิถีชุมชน และเป็นพลังในการยืนยันวิถีและวิธีคิดของชุมชนกับอำนาจรัฐ ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ที่มุ่งพัฒนาโดยขาดความเคารพธรรมชาติ รวมทั้งก่อตั้ง “กลุ่มยุววิจัย” เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้ศึกษาชีวิตผ่านฐานทรัพยากรชุมชน และมีผลงานวิจัย การศึกษาเรื่องปลาในชุมชนบ้านจะรังตาดง ผลิตเป็นเอกสารให้แก่โรงเรียนและชุมชน เพื่อสร้างความรู้ในคุณค่าของ ฐานทรัพยากรชุมชน

ซึ่งในปี 2542 นักวิชาการ นักพัฒนา และชาวบ้าน ช่วยกันพัฒนาโครงการวิจัยเรื่องพรุลานควาย ตามแนวทางที่ชุมชนร่วมกันคิด โดยชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล มีการจัดเวทีพูดคุย สำรวจทรัพยากรในพรุ เก็บเรื่องเล่า มีการเดินสายไปทุกหมู่บ้านรอบพรุ มีนักวิชาการ นักศึกษาที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการวิจัย งานวิจัยนี้ทำให้เกิดการรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากโครงการพัฒนาพรุและสิ่งที่ชุมชนต้องปกป้อง

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามและมีแผนปฏิบัติการในการฟื้นฟู อนุรักษ์และเชื่อมโยงเครือข่าย เป็นกลุ่มที่เป็นการทำงานเคลื่อนไหว สร้างการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเติบโตขององค์กร โดยทางกลุ่มฯได้ทำงานด้านการอนุรักษ์โดยการนำคนจากข้างนอกมาช่วยกระตุ้นในการทำงานไม่ให้เกิดการปะทะโดยตรง มีการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนทดแทนกลุ่มเก่าอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยหมัก ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ ใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือที่สอดคล้องกับพื้นที่ เห็นปัญหาในการทำงานและหาทางแก้ไขปัญหา

รวมทั้งมีการเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้กับนักเรียนในโรงเรียน มีพลวัตรเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมในการสร้างคน รุ่นใหม่ รวมถึงได้ขยายผลไปยังเครือข่ายนอกชุมชน ให้ความรู้ เป็นวิทยากร การปลูกต้นไม้ เป็นการทำงานที่หยุดไม่ได้ เพราะมีผู้มาเรียนรู้ในชุมชนสม่ำเสมอ และมีการทำงานโดยการหาเพื่อนรอบพื้นที่พรุลานควาย แม่น้ำสายบุรี และมีการขยายกิจกรรม เพื่อเป็นการขยายจำนวนสมาชิกในเครือข่าย

จนถึงปัจจุบัน ชุมชนยังคงอนุรักษ์พื้นที่พรุลานควาย โดยได้มีการขยายไปยังชุมชนรอบๆ พรุ ในการร่วมกันอนุรักษ์พรุ ใน 2 ตำบลของ อ.รามัน จ.ยะลา และ 2 ตำบล อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี รวมถึงยังคงมีการรักษาแม่น้ำสายบุรี จัดทำวังปลา ทำนุบำรุงกุโบร์เก่าแก่ให้เป็นศูนย์รวมการพบปะของลูกหลาน และก่อตั้งกลุ่มเยาวชนปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกต้นไม้ ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อร่วมอบรมชาวบ้านถึงวิถีเก็บข้อมูลของหมู่บ้าน จากข้อมูลที่ได้ ได้เสนอให้กับทางจังหวัดยะลาเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนกับกรมป่าไม้ของหมู่บ้านอีกด้วย

ทำให้เห็นว่าจากความร่วมมือกันระหว่างชุมชนจนเกิดกลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำสายบุรีบ้านจะรังตาดงขึ้นมานั้น ส่งผลให้ลูกหลานและคนรุ่นต่อไปของชุมชน ทันได้เห็นความสวยงามของวิถีชีวิตชุมชน ได้ใช้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร รวมถึงยังเกิดแผนฟื้นฟู อนุรักษ์ และเชื่อมโยงเครือข่ายจนสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดีเยี่ยม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขอเชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไปร่วมส่งผลงานประเภทประติมากรรมสื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้ ในหัวข้อ ‘ชลวิถี นทีพัฒน์’

ขอเชิญชวนเยาวชนและบุคคลทั่วไป อายุ 18 ปีขึ้นไป ร่วมส่งผลงานประเภทประติมากรรมสื่อผสมจากวัสดุเหลือใช้ เข้าประกวดในหัวข้อ ‘ชลวิถี นทีพัฒน์’

ปตท. คว้าอันดับ 1 บริษัทชั้นนำในไทยและอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากนิตยสารฟอร์จูน สะท้อนผลการดำเนินงานและความสำเร็จที่เป็นเลิศในระดับสากล

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทชั้นนำอันดับหนึ่งของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

OR หนุน3สมาคมกีฬาฯ 4ปีรวม60ล้านบาท มุ่งพัฒนานักกีฬาไทยสู่สากล

ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และประธานอนุกรรมการพิจารณาจัดการสนับสนุนสมาคมกีฬาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน รับมอบเงินจำนวน 60 ล้านบาท สนับสนุน 4 ปีต่อเนื่อง (ปี 2567 - 2570) จาก นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมกีฬารักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาสควอชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมกีฬาคนพิการทางสมองแห่งประเทศไทย

ปตท. คว้า 7 รางวัลยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย สูงสุดในไทย สะท้อนความเป็นเลิศในระดับสากล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน พร้อมด้วย นางกนกพร รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม

EVme เปิดตัว EVme Mobility Studio แห่งแรก รองรับฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น เดินหน้ายกระดับประสบการณ์การใช้งานรถ EV อย่างครบวงจร

บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด (EVme) ผู้ให้บริการยานยนต์ไฟฟ้า (EV) บนแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดตัว EVme Mobility Studio

อรรถพล ส่งต่อภารกิจ CEO แก่ ดร.คงกระพัน ขับเคลื่อน ปตท. สู่ความยั่งยืน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ส่งต่อภารกิจ CEO ให้กับ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง