SX2022 ย้ำความสำเร็จ ดึงคนร่วมงาน 2.8 แสน สร้างพลังร่วมเพื่อโลกที่ดีกว่า

งานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน Sustainability Expo 2022 (SX 2022) ตลอด 7 วัน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เพิ่งปิดฉากไปเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา สะท้อนความมุ่งมั่นสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ร่วมผลักดันการปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนในทุกมิติ

ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานอำนวยการ SX 2022

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานอำนวยการ SX 2022 กล่าวในพิธีปิดงาน SX 2022 ว่า ขอบคุณทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้ร่วมงานที่หันมาตระหนักเรื่องการสร้างประโยชน์ให้โลกใบนี้ รวมทั้งความมีจิตอาสาและอยากร่วมกันสร้างสรรประโยชน์ดี ๆ ให้ส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเน้นว่า วันนี้ไม่ใช่งานปิด SX 2022 แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่เข้มแข็งของพลังในการร่วมมือของทุกคน

“ผมมีโอกาสเรียนรู้เรื่องงานพัฒนาจาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงรับสั่งเรื่องงานพัฒนากับท่านว่า ‘สุเมธต้องทำงานต่อ เพราะงานยังไม่เสร็จ’ ประโยคดังกล่าวหมายถึงว่า งานพัฒนาไม่มีวันสิ้นสุด เราต้องช่วยกันทำต่อไป รวมถึงต้องปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป"

ผู้บริหารองค์กรชั้นนำร่วมใจเดินหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

นายฐาปน กล่าวอีกว่า งาน SX 2022 สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ ที่กำหนดให้ปี 2020-2030 เป็นทศวรรษแห่งการลงมือทำ หรือ Decade of Action เพื่อต้องการเปลี่ยนจากการตระหนักรู้สู่การลงมือทำด้วยความคุ้นชินจนกลายเป็นนิสัย นอกจากนี้ ผู้นำทุกศาสนายังชวนให้ทุกคนคิดความยั่งยืนในมุมมองศาสนา ซึ่งทุกศาสนาต่างสอนให้คนไม่ทำร้ายหรือเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก

นอกจากนี้ ยังเปิดมุมและทัศนะจากผู้บริหารสื่อต่อการจัดงาน SX 2022 โดยนายเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจ Media and Event อัมรินทร์ กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า ปีนี้ ไม่ใช่แค่งานใหญ่ขึ้น 10 เท่าจากปีแรก แต่มีการจัดแบ่งโซนชัดเจน และแสดงให้เห็นการดำเนินงานด้านความความยั่งยืนของธุรกิจขนาดใหญ่ ขณะที่โซน SX Marketplace สะท้อนธุรกิจเล็กๆ ที่มีความยั่งยืนเต็มเปี่ยม เวทีนี้ได้เห็นคนตัวใหญ่ ขนาดกลาง และคนตัวเล็กๆ มาพูดในเรื่องเดียวกัน นอกจากนี้ หลังงานจบ โครงสร้างนิทรรศการและต้นไม้ต่างๆ จะนำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ไม่สร้างขยะ

ร่วมคิด ร่วมทำ ลดโลกร้อนสู่สมดุลที่ดี

ด้าน นายมนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล ผู้ประกาศข่าว TNN ช่อง 16 กล่าวว่า ตนเองไม่คิดว่าจะมีเวทีคุยเรื่องความยั่งยืนใหญ่ขนาดนี้ และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม อีกทั้งเห็นความตั้งใจองค์กรชั้นนำในการขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านกลยุทธ์ต่างๆ เช่นเดียวกับงาน WORLD ECONOMIC FORUM 2022 ที่จัดขึ้น ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  ซึ่งทั่วโลกหาทางแก้ปัญหาโลกมากกว่าสร้างการรับรู้ และแสดงเจตนารมณ์ที่ต้องก้าวไปด้วยกัน นอกจากนี้ ยังมี Kids Zone ให้เด็กๆ มาสนุกสนานและเรียนรู้เรื่องความยั่งยืน

“งาน SX2022 แสดงให้เห็นว่า ความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับทุกมิติ และสร้างความร่วมมือเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดสมดุลที่ดี ซึ่งผมคาดหวังว่า จากจุดเริ่มต้นที่ดีนี้ จะเป็นหมุดหมายให้ผู้มีบทบาทในอาเซียนอยากมาร่วมงานในครั้งต่อ ๆ ไป“ นายมนต์ชัย กล่าว 

SX Food Festival เสนอความยั่งยืนผ่านอาหาร

ขณะที่ นายทัศนะ วันชนะ จิตต์การงาน บรรณาธิการอำนวยการ และผู้ก่อตั้งนิตยสาร Urban Creature กล่าวว่า 5 ปีก่อนหัวข้อความยั่งยืนยังเป็นแค่เทรนด์หรือการใช้ถุงผ้า ปัจจุบัน ความยั่งยืนแทรกเข้าไปอยู่ในไลฟ์สไตล์ หรือต่อยอดทางธุรกิจ ในงาน SX 2022 โดดเด่นเรื่ององค์ความรู้และนวัตกรรมที่นำเสนอภายใต้บริบทประเทศไทย อีกทั้งพื้นที่นี้ ได้ฉายสปอตไลท์ให้กับคนตัวเล็กที่ขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ซึ่งคนตัวใหญ่ควรส่งเสริมให้คนตัวเล็กเดินต่อไปได้มั่นคง

นางต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้อำนวยการคณะจัดงาน SX 2022 กล่าวสรุปผลการจัดงานว่า ตลอด 7 วัน มีผู้เข้าชมงาน  SX 2022 กว่า 277,023 คน ในจำนวนนี้เข้าร่วมโซน SX Food Festival มากกว่า 200,000 คน เข้าช้อปใน SX Marketplace 42,000 คน มีผู้ปกครองและเยาวชนเข้าร่วม Kids Zone 26,000 คน มีนิสิตนักศึกษาจาก 30 มหาวิทยาลัย เข้าชมงาน 8,000 คน และมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาเข้าชมงาน 500 คน

ผู้เข้าชมงาน SX2022 กว่า 2.7 แสนคน

ในโซน Food Festival มีร้านอาหารและร้านค้าตลาดออร์แกนิก 126 ร้าน มียอดขายรวม 18.6 ล้านบาทส่วนร้านค้าและเครือข่ายธุรกิจยั่งยืน รวมทั้งร้านค้าชุมชนจาก 50 จังหวัด ในโซน SX Marketplace มี 294 ร้าน สร้างยอดขายมากกว่า 9.3 ล้านบาท

สำหรับการจัดการขยะภายในงาน พบว่า มีขวด PET หลังการบริโภคที่ทิ้งลงถังคัดแยกและเครื่อง RVM ที่นำมาแลกผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก จำนวน 50,867 ขวด  น้ำหนักรวม 763 กิโลกรัม มีกระป๋องหลังการบริโภคจากศูนย์คัดแยกและเครื่อง RVM จำนวน 20,200 กระป๋อง น้ำหนักรวม 303 กิโลกรัม และมีขวดแก้วหลังการบริโภคจากศูนย์คัดแยกและเครื่อง RVM จำนวน 3,927  ขวดแก้ว น้ำหนัก 1,021 กิโลกรัม ช่วยลดปริมาณคาร์บอน 4.1 ตันคาร์บอน

ขยะเศษอาหาร (food waste) มีอาหารเหลือทิ้งที่เข้าสู่กระบวนการทำเป็นปุ๋ย จำนวน 1,770 กิโลกรัม และได้ปุ๋ยจากการกำจัดขยะอาหารเหลือทิ้งลงเครื่อง Oklin จำนวน 117 กิโลกรัม ลดปริมาณคาร์บอน 4.5 ตันคาร์บอน นอกจากนี้ ยังมีอาหารนับเป็นเสิร์ฟจากตู้เย็นปันสุขเข้าสู่โครงการรักษ์อาหารโดย SOS นำอาหารไปส่งต่อให้ 760 คนใน 8 ชุมชนรับประทาน จำนวน 3,154 มื้อ ลดปริมาณคาร์บอน 1.9 ตันคาร์บอน

งาน SX 2022 จัดขึ้นจากการผนึกกลังของ 5 องค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืน ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี, บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด ” พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” สร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน

ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา

นุ่งโจงห่มสไบลอยกระทง ยลวิถีคืนเพ็ญที่ ’สุขสยาม’

Bangkok River Festival 2024 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 “ยลสายน้ำ ยินทำนอง” ที่เชิญชวนมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงริมสองฝั่งสายน้ำเจ้าพระยา

โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”

จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ