‘เรวดีโซน 2’ ตัวอย่างชุมชนเมืองเข้มแข็ง เดินหน้าพัฒนา-แก้ไขปัญหาสะสม

ในปี 2565 นี้ ปัญหาขยะยังเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญที่สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมอยู่ ไม่ใช่แค่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ แต่ในระดับชุมชน หรือหมู่บ้านนอกเมืองก็ต้องประสบกับปัญหานี้เช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าความเข้าใจในเรื่องของขยะในประเทศไทยนั้นยังจำกัดวงแคบอยู่ จึงทำให้หลายพื้นที่หรือหลายครัวเรือนอาจจะมีการจัดการในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง นำมาซึ่งปัญหาทั้งตัวขยะเอง และการเก็บกวาด แม้ที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่ามีโครงการออกมาพูดถึงหรือรณรงค์ในเรื่องนี้อย่างมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยนความเคยชินของคนในสังคมได้เลยทันที

แน่นอนว่ายิ่งในพื้นที่ที่เป็นชุมชน ที่มีประชากรหนาแน่น มีพื้นที่จำกัดปัญหาขยะก็มักจะเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่างๆ จนนำไปสู่ผลเสียทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนชุมชนอีกด้วย เช่นเดียวกับในอดีตของชุมชนเรวดีโซน 2 ที่ถือว่าเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ประชากรอาศัยหนาแน่นในรูปแบบห้องเช่า และทาวเฮาส์บ้านเดี่ยว คอนโดมิเนี่ยม โรงงาน โรงเรียน เดิมผู้คนมีวิถีชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ จึงขาดการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนร่วมกัน และนำไปสู่การประสบปัญหาขยะล้นถัง ส่งกลิ่นรบกวน

โดยผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหาส่วนใหญ่มาจากประชากรแฝง และชุมชนไม่มีการจัดการขยะที่ดีพอ มีแต่รอทางเทศบาลมาจัดเก็บ แต่ด้วยปัญหาที่เริ่มหนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ในปี 2549 ประธานชุมชน เริ่มชักชวนเพื่อนบ้านพูดคุยถึงปัญหาและวิถีชีวิตคนชุมชนเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมาก จากปัญหาจัดการขยะนำไปสู่การขยายการรวมตัวกันในชุมชน ลุกขึ้นมารณรงค์จัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนร่วมกิจกรรมอย่างดี และนำความรู้กลับไปทำต่อในชีวิตประจำวัน

ชุมชนเรวดีโซน 2 ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาดขวัญ อยู่ในพื้นที่ของเทศบาลนครนนทบุรี มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ และมีประชากรหนาแน่น จำนวน 625 ครัวเรือน / 3,418 คน ซึ่งจากการรวมกลุ่มกันนั้นมีการทำงานในลักษณะจิตอาสา ที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยผู้คนหลายวัย ทั้งผู้ใหญ่-เด็ก และมีความหลากหลายในอาชีพ อาทิ กลุ่มรักษ์เรวดี กลุ่ม อสม. กลุ่มฝึกอาชีพในกลุ่มสตรี กลุ่มสองขาพิทักษ์โลก เป็นต้น ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ รวมทั้งความเป็นอยู่ของคนในชุมชน

โดยแผนการดำเนินงานถูกต่อยอดมาในหลายรูปแบบ อาทิ เมื่อปี 2550 เกิดกิจกรรมคัดแยกขยะรีไซเคิลในชุมชน โดยคณะกรรมการชุมชนประชาสัมพันธ์ในชุมชนเรวดี โซน 2 ให้ช่วยกันคัดแยกขยะรีไซเคิล มีการแจกแบบสำรวจการซื้อขายขยะรีไซเคิลเพื่อจะได้ทราบปริมาณขยะรีไซเคิลในชุมชน และหลังจากกิจกรรมเริ่มเดินหน้า ถนนสะอาดขึ้น ไม่ล้นด้วยขยะเหมือนแต่ก่อน มีเศษวัสดุเหลือใช้ที่นำมาดัดแปลงเป็นโต๊ะ/เก้าอี้ใช้ในศูนย์เรียนรู้

รวมทั้งยังมีการจัดการขยะที่เป็นแบบอย่างของชุมชนเมือง (คัดแยก ทำปุ๋ยหมัก รีไซเคิล) เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนเมือง และมีการจัดการขยะ โดยชาวบ้านที่เป็นคุณครู หลังเลิกงาน จะมีกิจกรรมชวน เด็กๆ นักเรียนที่หลังเลิกเรียนแล้วในชุมชน ปั่นจักรยานเก็บขยะ ซอย 10,12 ,14 ,16 และซอย 8 เข้าเป็นบางครั้งเพราะในซอยมีการดูแลดี

กรรมการชุมชนยังได้มีการประสานงานชาวบ้านรณรงค์ติดตั้งถังดักไขมัน เพื่อลดปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน โดยเริ่มทำบ้านแกนนำกระจายไปทุกซอยประมาณ 20 หลัง จึงทำให้มีการติดตั้งถังดักไขมัน เพื่อลดปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือน รวมทั้งยังใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการอนุรักษ์ฯ จนสามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้หลากหลาย เข้าใจง่าย น่าสนใจ ประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่าย ร่วมสมัย/สื่อใหม่ เช่น สื่อออนไลน์ คิวอาร์โค้ด ฯลฯ ซึ่งได้รับการ สนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

นอกจากนี้ยังมีการปรับภูมิทัศน์ด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียว มีการถ่ายทอดให้เด็กมีจิตใจรักธรรมชาติ ด้วยการให้ผู้ปกครองพาเด็กๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมในวันเสาร์/อาทิตย์ เพื่อส่งเสริมให้สร้างพื้นที่สีเขียวหลายระดับ ด้วยการเพิ่มไม้สวยงาม รวมทั้งการปลูกพืชแนวตั้ง เช่น บ้านพื้นที่น้อย ทาวน์เฮ้าส์ ห้องแถว คอนโด เป็นต้น และทำการอบรมให้ความรู้การขยายพันธุ์พืช โดยประสานผู้เชี่ยวชาญสาธิตการปลูกต้นไม้ การขยายพันธุ์พืชอย่างถูกวิธี

รวมทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกของชุมชนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมมือกับเทศบาลนครนนทบุรี กศน.นนทบุรี กระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นเครือข่ายในการแก้ไขมลพิษ และตั้งเป้าที่จะเป็นชุมชนต้นแบบการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านกิจกรรมชุมชนคาร์บอนต่ำ ประจำปี 2564 “โครงการนครนนท์สู่เมืองคาร์บอนต่ำ(Low Carbon City)”

ขณะเดียวกันกลุ่มจิตอาสายังขยายผลไปชุมชนข้างเคียงและยังเริ่มศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้มาปรับใช้ต่อยอดสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในบริบทสังคมเมืองใหญ่ ทั้งในภาคประชาชน และการประสานงานกับภาครัฐและภาคธุรกิจ เช่นนักเรียน กศน. ตำบลตลาดขวัญ ใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนเป็นห้องเรียนการขยายพันธุ์พืช และการรักษาพืช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง

มูลนิธิบูรณะนิเวศ และเทศบาลตำบลนาดี จ.สมุทรสาคร ศึกษาดูงานการรักษาคูคลองเพื่อเป็นข้อมูลในการทำวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยจากสหประชาติ (UN) รวมถึง มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ศึกษาดูงานด้านการรักษา สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค รวมถึงยังมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ การลดใช้พลังงาน การอนุรักษ์คูคลอง รวมทั้งการนำความรู้การปลูกผักสวนครัว การทำปุ๋ยไปใช้ในพื้นที่ๆ จำกัด ในคอนโดมิเนียม เป็นต้น

โดยชุมชนเรวดีโซน 2 ได้ชื่อว่ามีความโดดเด่น เพราะมีการทำงานอย่างต่อเนื่องในทุกๆ มิติ มีทีมงานที่เข้มแข็ง และสร้างพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือมีคนรุ่นใหม่มาสืบทอดการทำงาน พัฒนาต่อให้เป็นพื้นที่สีเขียว ที่คนในชุมชนรอบข้าง มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น เปตอง เดิน วิ่งออกกำลังกาย และมีระบบการดูแลสุขภาพกาย ใจ ของคนในชุมชนและผู้สูงอายุ เป็นรูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนในเมืองที่น่าสนใจ จนกลายเป็นชุมชนเข้มแข็งในปัจจุบัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ไปทรงเปิดสวน “เปรมประชาวนารักษ์” แลนด์มาร์กสีเขียวแห่งใหม่ริมคลองเปรมประชากร พระราชทานแก่ประชาชน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ “เปรมประชาวนารักษ์”

'พีระพันธุ์' สั่ง ปตท. ระดมน้ำมัน-ก๊าซเข้าภาคใต้ป้องกันขาดแคลน

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้นิ่งนอนใจ และขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องประชาชนที่ประสบเหตุอยู่ขณะนี้

กลุ่ม ปตท. และกลุ่มฯ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ส.อ.ท. พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยพลังงานสะอาด และคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 68

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า งานสัมมนา The Annual Petroleum Outlook Forum

สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี

IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน