แน่นอนว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายในชุมชนด้วยแล้วยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องมีการจัดการที่ดีพอสมควร เนื่องจากต้องมองว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน สิ่งแวดล้อมที่ดีก็จะสามารถสะท้อนการเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมที่ดีตามไปด้วย ซึ่งสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีแค่เรื่องของธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องอื่นๆ อาทิ การจัดการขยะ การจัดการพื้นที่สาธารณะ การดูแลต้นไม้ ป่าไม้ แหล่งน้ำ รวมถึงด้านพลังงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนในสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี
และการดูแลสิ่งแวดล้อมนี้ไม่ใช่งานของคนใดคนหนึ่งในสังคม แต่ต้องเกิดจากความตระหนักรู้ และร่วมมือกันของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงทุกคนในชุมชนต้องเห็นถึงความสำคัญกับงานและแนวทางที่กำลังดำเนินการอยู่ซึ่งต้องยอมรับว่าต้องอาศัยความเข้าใจกันเป็นอย่างมากกว่าจะทำให้เกิดความร่วมมือที่ดีได้ ด้วยเหตุนี้เองที่ผ่านมาอาจจะเห็นหลายชุมชนที่มีแนวคิด มีวิธีปฏิบัติที่ดี แต่ยังไม่สามารถประสบความสำเร็จได้จนต้องปล่อยไอเดียนั้นๆ เสียเปล่า เพราะอาจจะยังไม่สามารถลงมือทำได้อย่างจริงจัง รวมถึงความร่วมมือนั้นๆ ไม่ประสบความสำเร็จ
แต่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาก็ใช่ว่าจะมีแต่ความล้มเหลว เนื่องจากหลายๆ ชุมชนในประเทศไทยก็ประสบความสำเร็จจากการร่วมมือดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และต่อยอดไปถึงการได้รับรางวัลระดับจังหวัด หรือระดับประเทศมาแล้ว ซึ่งในช่วงกว่า 7 ปีที่ผ่านมา หากใครอยู่ในแวดวงด้านสิ่งแวดล้อมก็อาจจะเคยได้ยินหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน (Community Energy Management Program: CEMP) ที่เป็นหลักสูตรสำคัญในการสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการพลังงาน เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานที่จริงจัง ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
หลักสูตรดังกล่าวนี้เริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มองเห็นถึงอุปสรรค คุณค่า และความสำคัญของการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระดับชุมชน อย่างที่กล่าวมาข้างต้นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านพลังงานในชุมชน เป็นสิ่งสำคัญแต่หากยังขาดองค์ความรู้ แนวทางปฏิบัติ หรือการผลักดันที่จริงจังก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งหลักสูตรนี้จึงเกิดขึ้น โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้านการจัดการพลังงาน และสร้างเครือข่ายผู้นำการจัดการพลังงานระดับชุมชน
ตลอดระยะเวลากว่า 7 ปีที่ผ่านมา หลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน มีผู้ผ่านการอบรม 389 คน และเกิดโครงงานเชิงปฏิบัติการด้านพลังงานชุมชน 73 โครงงาน ซึ่งผู้เข้าอบรมได้นำองค์ความรู้จากการอบรม มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพลังงานให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และสร้างการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งตัวโครงการนั้นได้เผยแพร่องค์ความรู้ด้านสถานการณ์พลังงาน ระดับโลกและประเทศไทย เทคโนโลยีพลังงานทดแทนภายในชุมชน การจัดการพลังงานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาโครงงานพลังงานชุมชนที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เกิดความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนาศักยภาพ และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าอบรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ต่อสังคมส่วนรวม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม และพัฒนาขีดความสามารถให้ประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้ง ผู้บริหาร หน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำทางความคิด ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน นักพัฒนาอิสระ สื่อมวลชนท้องถิ่น และเยาวชน ผ่านกระบวนการเรียนการสอนภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการศึกษาดูงาน โดยการควบคุมดูแลจากกลุ่มนักวิชาการ ชำนาญการ ผู้บริหารและพนักงาน ปตท.
โดยในปี 2565 ปตท. จัดอบรมหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชนเป็นรุ่นที่ 8 ไปเมื่อช่วงกรกฎาคม – กันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 12 ทีม ซึ่งผ่านขั้นตอนการปฏิบัติงานมามากมาย อาทิ การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่ โดยต้องมีการวาดภาพฝันของชุมชนด้านพลังงาน รวมถึงการออกแบบชุมชนเชิงนิเวศ และการสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพ รวมทั้งได้รับความรู้ด้านพลังงานทั้งสถานการณ์ระดับโลก ในประเทศไทย และพลังงานในชีวิตประจำวัน รวมถึงหลักการวิเคราะห์การลงทุนด้านพลังงาน นอกจากนี้ยังต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเพื่อจัดการเกษตร และการจัดการพลังงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อมาต้องมีการออกแบบโครงการพลังงานชุมชนอย่างจริงจัง โดยต้องออกแบบแนวความคิด การเขียนโครงงานพลังงานชุมชน การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) อีกด้วย
โดยหลักสูตรดังกล่าวในปี 2565 นั้นได้มีการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และทั้ง 12 ทีมที่เข้าร่วมโครงการยังได้รับมอบประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรพลังงานเพื่อชุมชน รุ่นที่ 8 จาก ปตท. ไปอีกด้วย ซึ่งหลังจากนี้โครงการต่างๆ จะเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการนำไปประยุกต์ใช้ต่อ รวมทั้งการขยายเครือข่ายเพื่อสร้างความพร้อมในกาทำงานร่วมกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันวิทยสิริเมธี พร้อมทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการศึกษาตลอด 10 ปี
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันวิทยสิริเมธี
IRPC ร่วมกับกลุ่มปตท. สร้างองค์กร “คนดี คนเก่ง” ในงาน PTT Group CG Day 2024
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน
ปตท. คว้าคะแนน CGR ระดับ “ดีเลิศ” ต่อเนื่อง 16 ปีซ้อน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellent CG Scoring) หรือ 5 ตราสัญลักษณ์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 และติดหนึ่งใน TOP QUARTILE ของบริษัท จดทะเบียนที่มีมูลค่าทางการตลาดไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท
ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024
ปตท. มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ ผลักดันทักษะ STEM ให้เยาวชนไทย ในโครงการ PTT Group STEM Camp 2024
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ PTT Group STEM Camp 2024 เพื่อมุ่งสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้าน STEM ให้กับเยาวชนในดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากทั่วประเทศ