'วิษณุ' เล่าย้อนยุคพฤษภาทมิฬ รักษาการนายกฯขณะนั้นไม่ยุบสภา รอให้นายกฯคนใหม่ยุบสภา

12 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมตรี ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงวิพากษ์วิจารณ์คำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญของพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ที่ระบุมีการตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิจารณาประเด็นการดำรงค์ตำแหน่ง 8 ปี เป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่เพราะทำเพื่อคนๆเดียวว่า ไม่ขัดหลักการ เพราะเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เป็นตำแหน่งทางราชการ และตำแหน่งนายกฯเป็นปัญหาของประเทศ มีการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวตั้งแต่วันที่17 ม.ค. 2565

เมื่อถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์คำชี้แจงประเด็นที่ระบุว่าการเป็นนายกฯขาดตอนนั้นหมายความว่าอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่าไม่ทราบ ขอให้รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตนไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ แต่ในส่วนของนายกฯตามบทเฉพาะกาล เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 264 สิ่งที่สื่อถามถือเป็นคำให้การของพล.อ.ประยุทธ์ ถูกบ้าง ผิดบ้าง จริงบ้างไม่รู้ เขาก็ให้การไปแล้วตอบไปตามประเด็นที่ผู้ร้องตั้งประเด็นไว้สุดท้ายจะฟังขึ้นหรือไม่อยู่ที่ศาล อย่างคำชี้แจงบางประเด็นของพล.อ.ประยุทธ์ ตนก็ไม่เห็นด้วยเพราะไม่จำเป็นต้องไปตอบ แต่ทีมกฎหมายเห็นว่าควรตอบทุกข้อ อย่างเช่นการอ้างคำวินิจฉัยต่างๆก่อนหน้านี้ซึ่งก็ไม่ตรงกับประเด็นที่ถูกร้องแล้วจะไปชี้แจงทำไมแต่ไม่เป็นไรอย่างมากก็เสมอตัวไม่ขาดทุนอะไร ดังนั้นขอให้รอฟังคำพิพากษาไม่มีประโยชน์ที่ตนจะไปวิพากษ์วิจารณ์ ขอให้รอฟังคำวิจฉัยของศาลซึ่งจะตัดสินในเร็วๆนี้

เมื่อถามว่าศาลนัดประชุมวันที่ 14 ก.ย. ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมาหรือไม่ในส่วนของรัฐบาลต้องเตรียมแนวทางรับมือไว้อย่างไรบ้าง นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่รู้ว่าวันที่ 14 จะมีคำวินิจฉัยหรือไม่ ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้เตรียมแนวทางรองรับไว้ ถ้าศาลตัดสินว่ายังไม่ครบ 8 ปี วันรุ่งขึ้นพล.อ.ประยุทธ์ ก็กลับมาทำงาน ถ้าศาลบอกว่านับตั้งแต่ปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ก็ไม่ต้องกลับมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯในฐานะรักษาราชการแทนนายกฯ ก็รักษาการไป ไม่รู้กี่วันขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภาจะเรียกประชุมเพื่อเลือกนายกฯ และจนกว่านายกฯและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าถวายสัตย์ฯ ถึงจะพ้นไป การกระทำอะไรที่ผ่านมาจะไม่ถือว่าเป็นโมฆะ

“สมมุติศาลตัดสินว่านับตั้งแต่ปี 57 เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ พ้นไปก็สามารถรักษาการเองได้ แต่ควรหรือไม่นั้นไม่ควร พล.อ.ประวิตร ก็รักษาการไปจะกว่ารัฐสภาจะเลือกนายกฯคนใหม่ ส่วนอำนาจยุบสภาฯสามารถทำได้หรือไม่นั้น ผมพูดมา 9 ครั้งแล้วว่าทางทฤษฎีทำได้ แต่ทางปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างสมัยพฤษภาทมิฬ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออก นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นรองนายกฯ รักษาราชการแทนนายกฯในขณะนั้นเตรียมคิดว่าจะยุบสภาฯซึ่งมีอำนาจ แต่คิดไปคิดมาให้เขาไปหานายกฯใหม่มายุบสภาดีกว่า จนได้นายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกฯแล้วเข้ามายุบสภาฯในที่สุด ดังนั้นมันต้องคำนึงถึงความเหมาะสมอะไรหลายๆอย่าง” นายวิษณุ กล่าว

ถามว่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาได้คุยกับนายมีชัย หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ได้พบในงานสังคม แต่ไม่ได้คุยในเรื่องนี้ และเรื่องเกี่ยวกับปม 8 ปีไม่จำเป็นต้องคุย สื่อก็ถามแต่นายมีชัย แล้วไม่ถามถึง นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤฎีกาและอดีตเลขาธิการคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาตนบ้างหรือ เมื่อสื่อถามว่าแล้วได้คุยกับนายปกรณ์หรือไม่ นายวิษณุ ระบุว่า “ไม่ตอบ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพจพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ปลื้ม ‘คนคุณภาพประชาธิปัตย์’ ได้เป็นขรก.การเมือง

เฟซบุ๊กเพจ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความว่า ครม. เห็นชอบ แต่งตั้ง “คนคุณภาพประชาธิปัตย์” เป็นข้าราชการการเมือง สังกัด ทส. และ สธ.

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร