9 ก.ย.2656- สำนักพระราชวังบักกิงแฮมประกาศว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 63 ของสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสที่ 8 กันยายนปี 2022 พระชนมายุ 96 พรรษา ที่พระตำหนักบัลมอรัล สกอตแลนด์ สถานที่ประทับแห่งสุดท้ายขณะดำรงพระชนม์ชีพ ทรงครองราชย์ครบ 70 ปีในปี 2022 นี้ ทำให้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระชนมายุสูงที่สุดในโลกที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อังกฤษและของโลก
เจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุคแห่งยอร์ก พระราชบิดา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 6 เมื่อเจ้าหญิงเอลิซาเบธมีพระชนมายุ 10 พรรษา ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1952 พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จสวรรคต ในขณะที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธและเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดิบะระ พระสวามีเสด็จเยือนเครือจักรภพอังกฤษและประทับอยู่ที่เคนยา ทำให้เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ในทันที
แต่พิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีขึ้นในอีก 1 ปีถัดมา ในวันที่ 2 มิถุนายนปี 1953 ขณะมีพระชนมายุ 27 พรรษา ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์และวิทยุไปทั่วโลก
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเริ่มต้นปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงพระราชดำรัสออกอากาศ ในรายการสำหรับเด็กในประเทศอังกฤษ และเครือจักรภพของบีบีซี ตั้งแต่พระชนมายุได้ 16 พรรษา และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ในฐานะนายทหารยศพันเอกแห่งกองทหารราบรักษาพระองค์ โดยทรงตรวจพลสวนสนามและยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนอีกมากมาย หลังจากที่ครบรอบพระชนมายุ 18 พรรษาได้ไม่นาน พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐบาล และได้เริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจแห่งองค์รัชทายาทเป็นครั้งแรก
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 องค์พระประมุขสหราชอาณาจักรและอีก 14 ประเทศ และองค์พระประมุขเครือจักรภพอังกฤษ ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายนปี 1926 ในย่านเมย์แฟร์ กรุงลอนดอน ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี วินด์เซอร์ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุคแห่งยอร์ก และเลดี้ เอลิซาเบธ โบวส์-ไลออน ดัชเชสแห่งยอร์ก
ในระหว่างที่ทรงครองราชย์ ทรงทำในสิ่งใหม่และเป็นต้นแบบในการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร ในปี 1975 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักพระองค์แรกที่เสด็จฯ เยือนญี่ปุ่น พระองค์ยังเสด็จฯ เยือนจีนพบกับ เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดของจีนในขณะนั้น และทรงเป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรพระองค์แรก ที่ทรงพระราชดำเนินบนกำแพงเมืองจีนในปี 1986 ส่วนในเดือนตุลาคมปี 1996 เสด็จฯ เยือนรัสเซีย เพื่อเยียวยาความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร-รัสเซีย ที่เคยเป็นศัตรูกันมานาน 5 ทศวรรษในช่วงสงครามเย็น
ก่อนสวรรคต สมเด็จพระราชินาถเอลิซาเบธที่ 2 ต้องทรงงดพระราชกรณียกิจเกือบทั้งหมดในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2021 และในปีนี้ด้วย ซึ่งรวมถึงทรงงดเข้าร่วมการประชุมโลกร้อน คอป26 (COP26) ที่สหราชอาณาจักรเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่เมืองกลา สโกวในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และงดการเสด็จฯ เปิดการประชุมสภาสหราชอาณาจักรในเดือนพฤษภาคมปีนี้
พระราชประวัติส่วนพระองค์ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟิลิป ในขณะที่่ยังทรงเป็นเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ในพระราชพิธีที่จัดขึ้นที่วิหารเวสต์มินสเตอร์เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนปี 1947 กายหลังการอภิเษกฯ เจ้าชายฟิลิปทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุคแห่งเอดินบะระ ทรงมีพระราชโอรสธิดารวม 4 พระองค์ คือเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมาร , เจ้าหญิงแอนน์ , เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์ก และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซกซ์
เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 เมษายนปี 2021 พระชนมายุ 99 พรรษา 17 เดือนก่อนหน้าการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีพระขนิษฐา 1 พระองค์คือเจ้าหญิงมาร์กาเร็ต สิ้นพระชนม์แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2002.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ในหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีถวายความอาลัยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควีนเอลิซาเบธที่ 2
ที่บริเวณประตูมณีนพรัตน์ พระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หน่วยราชการในพระองค์ ทำพิธีถวายความอาลัยหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ในการพระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
บรรยากาศไว้อาลัยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 หน้าพระราชวังบักกิงแฮม
ที่พระราชวังบักกิงแฮมในกรุงลอนดอน ประชาชนจำนวนมากพากันร่ำไห้เมื่อได้ทราบข่าวการสวรรคต ของสมเด็จพระราชินีนาถฯ
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จสวรรคต ที่เมืองบัลมอรัล ด้วยวัย 96 พรรษา หลังจากครองราชย์มากว่า 70 ปี
ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๑)
สถาบันพระมหากษัตริย์ของอังกฤษมีพระราชภารกิจต่างๆตามกฎหมาย (legal duties) ที่ต้องปฏิบัติ รวมทั้งการปฏิบัติพระราชภารกิจในพระราชพิธีต่างๆ (ceremonial) และการเป็นตัวแทนของประเทศในตำแหน่งประมุขของรัฐ ซึ่งในกรณีของการเป็นตัวแทน