ไปกันใหญ่แล้ว 'สุทิน-เพื่อไทย' อ้างพระราชอำนาจ ขู่ตุลาการศาลรธน.

แฟ้มภาพ

6 ก.ย.2565 - นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารตาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงกรณีการวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของศาลรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญมิอาจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น นอกจากวินิจฉัยชี้ขาดให้ความเป็น นายกฯของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบกำหนด 8 ปี ตามมาตรา 170 วรรคสอง และมาตรา 158 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ 2560 เนื่องจากการดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นไปตามประกาศพระบรมราชโองการเพื่อให้มีหน้าที่ และอำนาจในการบริหารประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามพระบรมราชโองการลงวันที่ 24 ส.ค.2557 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ และพระบรมราชโองการลงวันที่ 9 มิ.ย.2562 อันเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ที่บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ตามมาตรา 2 และพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 158 ซึ่งสืบเนื่องจากมาตรา 3 ที่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชอำนาจในการใช้อำนาจบริหาร ผ่านคณะรัฐมนตรี และแต่งตั้งนายกฯ อันเป็นพระราชอำนาจโดยแท้ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ตามมาตรา 6

เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดเป็นนายกฯแล้วบุคคลนั้นย่อมเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ และบุคคลดังกล่าวมิอาจดำรงตำแหน่งเกินกว่าที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งภายใต้เงื่อนไขตามกำหนดระยะเวลาในมาตรา 158 ที่มิให้ดำรงตำแหน่งรวมกันเกินกว่า 8 ปีได้

ประกอบกับบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 ได้บัญญัติ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ และให้นําความในมาตรา 263 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม อันเป็นการบัญญัติในลักษณะให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นนายกฯและรัฐมนตรีต่อเนื่องตลอดไม่ขาดช่วง

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2561 และ 7/2562 ขึ้นมาด้วยว่า วางหลักไว้ว่าการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2557 ให้ถือเป็นรัฐธรรมนูญ 2560 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 264 และเทียบกับคำวินิจฉัยที่ 24/2564 แล้ว จะเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญใช้บังคับเมื่อใด แม้ลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของ นายสิระ เจนจาคะ กรณีถูกพิพากษาอันถึงที่สุดว่า กระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตจะเกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับ แต่ก็ยังอยู่ในบังคับที่ต้องสิ้นสุดความเป็น ส.ส.ทันที และมิใช่เรื่องโทษทางอาญาที่จะบังคับย้อนหลังไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับเรื่อง การเข้าสู่ตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ

กรณีของกรรมการในองค์กรอิสระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ได้มีบทเฉพาะกาลตามมาตรา 273 ที่บัญญัติให้การอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เช่น กรณีของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดเดิมที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2560 ให้พ้นจากตำแหน่ง ส่วนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดเดิมที่ยังไม่ครบวาระก็ยังคงดำรงตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และยังได้สิทธิดำรงตำแหน่งเท่าเดิมคือ 9 ปีมิใช่ 7 ปีตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 ที่อาศัยอำนาจตามบทเฉพาะกาลมาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามระยะเวลาดำรงตำแหน่งเดิม เป็นต้น

กรณีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯไม่มีข้อยกเว้นในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายใดที่จะมิให้นับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของ พล.อ.ประยุทธ์ ดังนั้นเมื่อนับถึงวันที่ 23 ส.ค.65 พล.อ.ประยุทธ์ จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปีแล้ว เมื่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อย่างชัดเจน จึงมิอาจอ้างเหตุใดเพื่อใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยไปในทางอื่นได้ แต่หากองค์กรใด บุคคลใด จะตีความหรือวินิจฉัยไปในทางที่จะให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ย่อมเป็นผู้ทำลายหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และล่วงละเมิดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2

จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง

ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ