'ดร.ไตรรงค์' ยกหลักกฎหมายสำคัญ 'ห้ามย้อนหลัง' จากภาษาละติน ไขปมนายกฯ 8 ปี 'บิ๊กตู่' อยู่ต่อ

18 ส.ค.2565 - นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก #ปัญหาภาษาละติน (ที่ไม่น่าเกี่ยวอะไรกับ พล.อ.ประยุทธ์) ผมจบปริญญาโท-เอกจากต่างประเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockyfeller foundation) จึงพอมีความลึกซึ้งอยู่บ้างในปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของไทยและของโลก ส่วนความรู้ด้านกฎหมายนั้น ผมเป็นหนี้บุญคุณทั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนที่ผมไปเรียนรู้เพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยในอังกฤษและอเมริกานั้น ผมได้ทุน ม.ก. (คือเมียกูส่งให้กูไปเรียน) จึงไม่กล้าตั้งตัวเองว่าเป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย

จึงอยากขอให้คนที่จบตรี-โท-เอก ด้านนิติศาสตร์โดยตรงไม่ว่าจากมหาวิทยาลัยในประเทศหรือมหาวิทยาลัยดังๆ จากต่างประเทศ ขอแต่เพียงให้เป็นผู้มีปริญญาบัตรโดยการสอบผ่านมาจริงๆ ไม่ใช่ไปซื้อมา (หรือลอกวิทยานิพนธ์ของคนอื่นมา) เพราะผมต้องการให้คนที่เก่งจริงๆทางด้านนี้ ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจมากขึ้นสักหน่อยว่า ภาษาละตินประโยคหนึ่งที่ถูกใช้เป็นหลักกฎหมายสำคัญทั้งในระบบแบบโรมัน และระบบของอังกฤษ (Common Law) โดยจารึกเป็นภาษาละตินว่า “NULLUM CRIMEN SINE LEGE” สิ่งนี้มีความหมายลึกซึ้งขนาดไหน เพราะด้วยความรู้ในภาษาละตินกระจอกงอกง่อยที่ผมพอมีอยู่บ้าง แปลตรงๆจะหมายถึง “ไม่มีการกระทำที่เป็นความผิด หากไม่มีกฎหมาย” ผมเข้าใจแค่นี้จริงๆ จึงอยากทราบรายละเอียดที่ลึกกว่าที่ผมเข้าใจ ว่ามันมีผลย้อนหน้าย้อนหลังเป็นประการใด เรื่องนี้เป็นเรื่องการต้องการความรู้เพิ่มเติมของผมเอง จริงๆครับ

ก็บอกแล้วว่า มันไม่มีอะไรเกี่ยวกับกับ พล.อ.ประยุทธ์ หวังว่าคงไม่มีใครมาเห่าใส่ผม เหมือนอย่างที่เห่าใส่ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในขณะนี้

ขออวยพรให้ประเทศไทยได้มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานการประชุม APEC เพื่อชาติจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากที่ประชุมดังกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง