"วิษณุ" เฉลย เป็นคนบอกเอง ไทม์มิ่งนี้เหมาะสม ประกาศระเบียบกกต.แจ้ง ครม. ถึงข้อห้ามหากมีการยุบสภา ชี้ เข้าสู่โหมดเลือกตั้งแล้ว อ้าง อีก 6-7 เดือน สภาหมดวาระ ปัดส่งซิกโยงปม "8 ปีบิ๊กตู่"
17 ส.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ.2563 ซึ่งประธานกกต. ลงนามเมื่อวันที่ 28 ต.ค.2563 แต่ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ส.ค.2565 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าการเพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาช่วงนี้ แสดงว่าจะมีการยุบสภาในเร็วๆนี้ใช่หรือไม่ ว่า เป็นหน้าที่ของ กกต.ที่จะต้องออกประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยให้มีเวลาล่วงหน้าพอสมควร
นายวิษณุ กล่าวว่า กกต.ทำมาโดยตลอดอยู่แล้วเมื่อจะมีการเลือกตั้ง โดยกกต.ส่งมาถึงทำเนียบรัฐบาลเมื่อเดือน ก.พ.2564 และตนได้ให้กกต.นำไปแก้ไขอีกเล็กน้อยเนื่องจากมีการปรับปรุงเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง จึงต้องแก้ไขระเบียบดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกัน ดังนั้นได้ให้ไปแก้ไขแล้วส่งกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเมื่อ กกต.ปรับแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ได้ส่งกลับมาที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ตนยังไม่ให้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพราะถ้าให้ประกาศในตอนนั้น ก็จะเหมือนกับในตอนนี้ที่เกิดความแตกตื่นตกใจกันว่าสัปดาห์หน้าจะเกิดการเลือกตั้งกันแล้วหรือ ซึ่งในความเป็นจริงไม่เกี่ยวอะไรกันทั้งนั้น
และมาถึงบัดนี้คิดว่าได้เวลาพอสมควรที่จะต้องประกาศแล้ว เพราะจากนี้ไปจนถึงเดือน มี.ค.2566 ที่สภาผู้แทนราษฎรจะหมดวาระ ก็เหลือเวลาอีก 6-7 เดือน ซึ่งสมควรที่จะต้องออกประกาศระเบียบดังกล่าว เพื่อที่พรรคการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะได้เตรียมตัว
อย่างไรก็ตาม หากไปประกาศในช่วงปลายปีนี้ แม้จะถือว่าทัน แต่ก็ถือว่าฉุกละหุก เนื่องจากจะมีประกาศอื่นๆอีกหลายเรื่องตามมาเป็นชุด ดังนั้นเมื่อมีฉบับที่ 1 ก็จะมีฉบับที่ 2, 3, 4 ตามมา
ผู้สื่อข่าวถามว่าการมีประกาศระเบียบนี้ออกมาทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีนัยยะทางการเมือง โดยจะมีการยุบสภา นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มี ตนก็คิดอยู่แล้วว่าชาวบ้านจะคิดอย่างนี้ หากขืนประกาศระเบียบตั้งแตในตอนนั้น ก็จะเกิดความแตกตื่นว่าภายใน1 เดือนจะมีการเลือกตั้งแล้วหรือ จะมีการยุบสภาแล้วหรือ ซึ่งเราไม่ต้องการส่งให้เป็นนัยยะเช่นนั้น แต่เวลานี้ตนดูแล้วเห็นว่าเมื่อนับไปถึงวันที่ 23 มี.ค.2566 อีกประมาณ 6 - 7 เดือน ก็สมควรที่จะประกาศได้ และจะมีประกาศฉบับต่างๆตามมาอีก ส่วนจะเป็นประกาศใดบ้างนั้นก็แล้วแต่กกต.
เมื่อถามว่ามีการโยงไปถึงเรื่องการลงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ซึ่งอาจทำให้ นายกรัฐมนตรีต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เมื่อถามอีกว่า ประกอบกับตอนนี้กกต.มีการอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ยิ่งทำให้ถูกโยงว่าจะมีการยุบสภา นายวิษณุกล่าวว่า กกต.ต้องจัดอบรมอยู่แล้ว เปรียบเหมือนยิงนัดเดียวได้นกหลายตัว เป็นการอบรมเพื่อการเลือกตั้งท้องถิ่น และการเลือกตั้งต่างๆ
เมื่อถามย้ำว่าขณะนี้เรียกว่าเข้าสู่โหมดเลือกตั้งได้แล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่าตอนนี้เข้าสู่โหมดของการเตรียมการเลือกตั้งแล้ว เพราะขณะนี้กำลังจะสิ้นปีงบประมาณและอีกประมาณ 6-7 เดือนสภาก็จะหมดวาระ ก็เป็นเวลาอันสมควร
ผู้สื่อข่าวถามว่าในอดีตมีการเตรียมการเลือกตั้ง โดยใช้ระยะเวลา 6-7 เดือนเช่นนี้มีหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีการเตรียมการ เพราะในอดีตมีการยุบสภา กกตก็ไม่รู้ว่าจะมีการยุบสภาเมื่อไหร่ จึงยังไม่ได้ออกประกาศใดๆ แต่เมื่อรู้ว่ายุบสภาแล้ว จึงประกาศออกมาในช่วง 45-60 วันนั้น
เมื่อถามว่าจากการออกประกาศล่วงหน้าในครั้งนี้แสดงว่าเป็นการส่งสัญญาณ หรือส่งซิกให้เตรียมพร้อมการเลือกตั้งใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีซิกอะไร เขาทำเสร็จเขาก็ออกมาประกาศ
ผู้สื่อข่าวถามว่าส่วนตัวมองกระแสข่าวยุบสภาขณะนี้อย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า คนทั้งหลายพูดกัน แต่ตนไม่ได้มองอะไร เป็นเรื่องของการเข้าโหมดการเลือกตั้งที่สภากำลังจะครบเทอม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยึดดาบ ภท.? | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568
สาดงบฉ่ำๆ 7.4 พันล้าน รองรับภัยแล้ง 2,478 รายการ กระจายถ้วนหน้า 4 กระทรวง
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.อนุมัติตามที่สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอ เรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 68 ใช้งบกลางเพื่อการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดการทรัพยากรน้ำ
เสียงจาก หญิงหน่อย วิพากษ์รัฐบาลเพื่อไทย | ห้องข่าวไทยโพสต์
ห้องข่าวไทยโพสต์ : วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568
ปรับ ครม. ไปก็แค่งานช่าง! ถ้าผู้นำยังไร้วุฒิภาวะ-คนสั่งการไม่อยู่ในระบบ
การเมืองไทยหลังสงกรานต์เต็มไปด้วยข่าวลือเรื่องการปรับ ครม.ไม่มีใครปฏิเสธว่ารัฐบาลกำลังเผชิญแรงเสื่อมทั้งใน
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 57)
ก่อนจะเกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2490 เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 คือฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
‘อดีตสว.ดิเรกฤทธิ์’ ชี้ ‘ชั้น14-ฮั้วสว.’ พิสูจน์หลักนิติรัฐ-นิติธรรม จะมีอยู่จริงหรือไม่
หลักนิติรัฐและนิติธรรมจะมีอยู่จริง ผู้ใช้อำนาจต้องสุจริต ทุ่มเท และกล้าหาญเอาผิดคนทุจริตได้ ประชาชนต้องช่วยกันติดตาม มีส่วนร่วมวิพากษ์วิจารณ์ อย่าให้ใครทุจริต อืดอาด และหมกเม็ด