เปิดหนังสือด่วนที่สุด 'ประธานกกต.' ส่งถึง 'ประธานรัฐสภา' กรณีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง

16 ส.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า วันนี้ (16ส.ค.) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต 0015/11325 ส่งถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เรื่องร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว

โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามหนังสือที่อ้างอิงได้แจ้งจัดส่งร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ต่อ กกต. เพื่อให้ความเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 นั้น ขอเรียนว่า กกต. โดยเสียงข้างมากไม่มีข้อทักท้วงต่อร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่อย่างใด

อนึ่ง กกต.เสียงข้างน้อย มีข้อทักท้วงว่า ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 10 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 มาตรา 90 และมาตรา 258 (ก) (2) เนื่องจากสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาด้วยอย่างแท้จริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476