ศาลคลอดโผตุลาการ 286 รายชื่อ 'ผู้พิพากษา' ดาวดังขยับพรึ่บ

ชนาธิป,สุวิชา,เรืองสิทธิ,ธีรทัย

16 ส.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมาเว็บไซต์สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมได้เปิดเผยบัญชีรายชื่อที่ นายจีรพัฒน์ พันธุ์ทวี เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เสนอแต่งตั้งโยกย้ายผู้พิพากษาวาระ1 ต.ค.นี้ จำนวน 3 บัญชีรายชื่อประกอบด้วย

1.บัญชี 2 ระดับผู้พิพากษาวุโส(เพิ่มเติม) 5 รายชื่อ

2.บัญชี4 ชั้น 4 สับเปลี่ยนตำเเหน่ง 187 รายชื่อ ชั้น 3 เลื่อนเป็นชั้น4 จำนวน91 รายชื่อ

3.บัญชี 5 ชั้น3 สับเปลี่ยนตำเเหน่ง 3 รายชื่อ

โดยบัญชี 4 ชั้น 4 สับเปลี่ยนตำเเหน่งมีรายชื่อที่น่าสนใจดังนี้

1. นายนาวี สกุลวงศ์ธนา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ(เยาวชน) ไปเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ(คดีเเรงงาน) โดยสมัยเป็นรองเลขานุการศาลฎีกา ยุคนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ อดีตปธ.ศาลฎีกา จนมาถึงยุค นางเมทินี ชโลธร มีบทบาทเป็นทีมคณะทำงานเกี่ยวกับนโยบายเรื่องความยุติธรรมไม่มีวันหยุดที่มีการชูสิทธิการประกันตัว ของผู้ที่ไม่มีเงินเเละเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม

2.นายชนาธิป เหมือนพะวงศ์ เลขานุการศาลอุทธรณ์ ไปเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา คดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และคดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจ อาทิเช่น คดีอาญาที่ฟ้องให้ลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามป.อาญา ความผิดทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น หรือความผิดอื่นอันเนื่องมาจากการประพฤติมิชอบ,คดีอาญาที่ฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำความผิดฐานฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กฎหมายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นในการป้องกันปราบปรามการทุจริตฯ ,คดีเรียก รับ ทรัพย์หรือประโยชน์ ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือใช้อิทธิพล จูงใจหรือข่มขืนใจ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการ หรือไม่กระทำการ ตามกฎหมายอาญา, คดีฟ้องลงโทษบุคคลที่ร่วมกระทำความผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ,คดีเกี่ยวกับการจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินฯยื่นบัญชีอันเป็นเท็จ

โดยก่อนหน้านี้นายชนาธิป เคยดำรงตำเเหน่งสำคัญ หลายตำเเหน่ง อาทิเช่น เคยเป็นรองเลขาฯปธ.ศาลฎีกายุค นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ซึ่งมีบทบาทเรื่องคุ้มครองสิทธิคู่ความ ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเเละการปล่อยชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักประกัน ผลงานคดีสมัย เคยนั่งหัวหน้าคณะในศาลอาญาได้รับความไว้วางใจเป็นองค์คณะพิจารณาคดีสำคัญหลายคดี เช่นคดี 24 แกนนำ นปช.ก่อการร้าย และคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลายคดี รวมถึงเคยดำรงตำเเหน่งรองอธิบดีศาลอาญา ซึ่งเป็นศาลใหญ่ของประเทศ โดยก่อนมีรายชื่อขยับครั้งนี้ ดำรงตำเเหน่งเลขาฯศาลอุทธรณ์เนื่องจากผู้ใหญ่มีความเชื่อใจขอตัวไปช่วยงาน

3.นายเรืองสิทธิ์ ตันกาญจนานุรักษ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาเเละการค้าระหว่างประเทศกลางไปเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นายเรืองสิทธิ์เคยเป็นอดีตรองเลขาฯปธ.ศาลฎีกายุค นายไสลเกษ ซึ่งตอนนั้นมีบทบาทเป็นทีมงานในการจัดงานใหญ่ ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพสมาคมนักกฎหมายอาเซียน เเละ ปธ.สภาศาลสูงสุดอาเซียน สู่การทำข้อตกลงลงนามความร่วมมือที่จะพัฒนาด้านข้อกฎหมายของทั้ง 10 ชาติตอนเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินมีส่วนช่วยในการจัดการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาขั้นสูง (IP Bar 2021) IP Challenges in the Next Normat ความท้าทายของทรัพย์สินทางปัญญาในยุค Next Normal

4.นายธีรทัย เจริญวงศ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา ไปเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ สำหรับนายธีรทัยปัจจุบันช่วยงานอยู่ที่สำนักงานศาลยุติธรรมมีบทบาทในการประสานข้อมูลกับสื่อมวลชนในเรื่องเผยเเพร่ข่าวศาลที่ถูกต้อง เเม่นยำไม่กระทบภาพละกษณ์องค์กร เคยเป็นเลขานุการศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมืองในยุคคดีจำนำข้าว เเละได้รับความไว้วางใจเเต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงคดีสินบนโตโยต้าที่มีการเผยแพร่รายชื่ออดีตผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในศาลยุติธรรม ไปเกี่ยวข้อง

5.นายมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะแผนกคดีค้ามนุษย์ ไปเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา นายมุขเมธินถือเป็นผู้พิพากษาที่มีความรอบรู้ในการวางระบบของศาลยุติธรรม ก่อนหน้านี้เป็นคีย์เเมนหลักในการนำเอารูปเเบบการประเมิณความเสี่ยงมาใช้ในการปล่อยชั่วคราวเเทนการใช้หลักทรัพย์ ซึ่งถือเป็นรากฐานของนโยบายคุ้มครองสิทธิของประธานศาลฎีกาหลายคนที่ผ่านมา ขณะที่ดำรงตำเเหน่งหัวหน้าคณะแผนกคดีค้ามนุษย์ก็ได้รับความไว้วางใจ

รับผิดชอบคดียื่นคำร้องขอปิดเว็บไซต์ ระงับการเข้าถึงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ในยุคนายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่จะต้องมีการไต่สวนให้ชัดเจน ซึ่งคดีส่วนมากยื่นจากผู้มีอำนาจรัฐเช่นคำร้องจากกระทรวงดีอีเอสที่ให้ปิดเว็บไซต์หรือสื่อมวลชนที่เเนวคิดตรงข้ามผู้มีอำนาจ จึงได้รับการชื่นชมในเรื่องการให้ให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

6.นายณรัช อิ่มสุขศรี รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง ไปเป็น ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ประจำกองผู้ช่วยอุทธรณ์ โดยนายณรัชเป็นผู้พิพากษาที่ได้รับความนิยมในศาลชั้นต้น เคยเป็นเเชมป์เก่า ก.ต.ศาลชั้นต้นหลายสมัย เรียกว่าหากลงเลือกตั้งก็ได้รับเลือกทุกครั้ง

7.นายสุวิชา สุขเกษมหทัย รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลภาค1 ไปเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเเพ่ง ซึ่งจะดูแลทางด้านงานไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท และงานจัดการมรดก รวมทั้งคดีทั่วไป ซึ่งเป็นงานที่ถนัดอยู่แล้ว ก่อนนี้นายสุวิชาผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาเคยนั่งเป็นองค์คณะพิจารณาคดีสำคัญหลายคดี อาทิไต่สวนเเกนนำราษฎร ละเมิดอำนาจศาล เป็นอดีต วิทยากรผู้บรรยายหลักสูตรอบรมของผู้พิพากษา ตั้งแต่ระดับหัวหน้าศาลจนกระทั่งผู้ช่วยผู้พิพากษา ยังเคยได้รับเลือกเป็น ก.ต.ศาลชั้นต้น เเละเคยดำรงตำเเหน่ง อ.ก.ต.เคยมีผลงานร่วมผลักดันให้ขยายวาระในการดำรงตำแหน่งของศาลชั้นต้นจาก 5 ปีเป็น 6 ปี และคัดถ่ายคำพิพากษาเป็น 10 วันทำการ เคยเป็น คกก.สอบข้อเท็จจริงในกรณีผู้พิพากษายิงตัวเอง

หลังจากนี้รายชื่อทั้งหมดนี้จะถูกส่งไปยังอนุกรรมการตุลาการ กลั่นกรองเพื่อเสนอยัง ก.ต.เเต่งตั้งโยกย้ายต่อไป โดยจะมีนัดประชุม ก.ต.ครั้งต่อไปวันที่ 22 ส.ค.นี้

โดยสามารถดูรายชื่อการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ วาระ 1 ตุลาคม 2565 ทั้งหมดได้ตามลิงค์ที่เเนบ

บัญชี 2 พ.อาวุโส (เพิ่มเติม) https://bit.ly/3QLePEi

📌บัญชี 4 https://bit.ly/3PxA3EY

📌บัญชี 5 https://bit.ly/3AmMcbh

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ณฐพร’ ห่วงบุคลากรกระบวนการยุติธรรม ไม่ทำหน้าที่ตาม รธน.

ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า  บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ทุกท่านต้องไม่ลืมว่า ท่านมีหน้าที่ตามบทบัญัตติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (1)(2)

สอบวินัยร้ายเเรง 3 อดีตรองอธิบดีผู้พิพากษาฯ ให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติด

ที่อาคารศาลยุติธรรมถนนราชดำเนินใน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร นางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกานั่งเป็นประธานการประชุมคณะ