หลังจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT ควบรวมบริษัทกันไปเมื่อ 2 ปีก่อน พันเอกสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ ถือว่าเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรก ของบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)หรือ NT ที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบวงจรมากที่สุด พร้อมจะขับเคลื่อนและยกระดับการสื่อสารให้สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
แต่หลังจากควบรวมกิจการแล้ว NTแทบจะไม่มีแผนงานที่ชัดเจนและอยู่ในช่วงสุญญากาศมาตลอด ในฐานะที่เป็นหัวเรือใหญ่ พันเอกสรรพชัยย์ จึงวางเป้าขับเคลื่อนองค์กรแห่งนี้ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถนำศักยภาพและความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่ครอบคลุมและหลากหลาย รวมทั้งบุคลากรขององค์กรที่มีอยู่ทั่วประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รองรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากการควบรวมกิจการ ทั้งกรณีทรู-ดีแทค และเอไอเอสกับ 3BB
พร้อมรองรับการดำเนินงานของ NTที่เป็นองค์กรหลักให้หน่วยงานภาครัฐในการปรับเปลี่ยนพัฒนาองค์กร ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และสื่อสารโทรคมนาคม โดยNT จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและกระบวนการทำงานภายในเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร บูรณาการโครงข่ายโทรคมนาคมให้เป็นหนึ่งเดียว พร้อมกับบริหารต้นทุนให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจและสอดคล้องกับอุตสาหกรรม
พันเอกสรรพชัยย์ ระบุว่า โครงการคำสัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การจัดระเบียบสายสื่อสาร ซึ่งเป็นนภารกิจที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมายให้ โดยในปี 2565 จะเริ่มดำเนินการในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานครตามแนวถนนสายหลัก ก่อนขยายสู่พื้นที่รอบนอกต่อไป พร้อมกับ เดินหน้า โครงการท่อร้อยสายสื่อสารใต้ดิน เอ็นทีมีศักยภาพพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที
ด้วยความพร้อมของ ท่อร้อยสายใต้ดินที่มีอยู่แล้ว 4,450 กิโลเมตร สามารถรองรับเคเบิลทองแดงขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถแขวนกับเสาไฟฟ้าได้ รวมทั้งการสร้างท่อร้อยสายไปพร้อม ๆ กับการก่อสร้างถนนใหม่เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดผิวจราจร ซึ่ง NTเห็นว่าการใช้ทรัพยากรร่วมกันของผู้ให้บริการทุกค่ายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม (Neutral Operator) ในหลักการใช้ Infrastructure Sharing ไม่ว่าจะเป็น Telecom Infrastructure และ Digital Infrastructure จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ประชาชนและผู้ใช้บริการทุกคน ขณะที่ผู้ประกอบการให้บริการจะประหยัดงบประมาณลงได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี โครงการคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) ที่ผ่านมา NTเน้นให้บริการในระดับโครงสร้างพื้นฐานพร้อมพัฒนาบุคลากรของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้มุ่งขยายการบริการในระดับแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ ซึ่งจะเป็นโครงการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนและผลักดันองค์กรภาครัฐให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 ตามนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ ( Digital Thailand ) รวมทั้ง NT ยังได้ดำเนินโครงการอื่น ๆ ที่จะรองรับความต้องการภาครัฐด้าน Data Analytic ที่จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข แรงงาน ฯลฯ
และ โครงการ 5G เอ็นทีมีคลื่นความถี่ที่ได้รับจากการประมูลใน 2 ย่านความถี่ โดยคลื่นความถี่ 26 GHz ซึ่งเป็นคลื่นในย่านความสูง NTเน้นลงทุนให้บริการสำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งในปีนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาและเปิดให้บริการร่วมกับพันธมิตรในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC และสนับสนุนการพัฒนาสู่ Smart City ส่วนความถี่ 700 MHz ได้ดำเนินการใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การดำเนินการเองสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ใช้บริการพื้นฐานทั่วไป ไม่ต้องการแบนด์วิดท์สูง และการให้พันธมิตรร่วมให้บริการ 5G ในรูปแบบ Network Sharing เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนขององค์กร คาดหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบจะเริ่มดำเนินการได้ภายในพ.ย.-ธ.ค.นี้
อย่างไรก็ตามผลประกอบการในปี 2565 ถึงปัจจุบัน เอ็นทีมีรายได้รวม 49,557.65 ล้านบาท คิดเป็น 47.78% เมื่อเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ โดยรายได้หลักมาจากกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่และบรอดแบนด์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
NT ประสาน ซินแคลร์ ยกระดับบริการ Cybersecurity พร้อมพัฒนา Platform ตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วน
ดร.วงกต วิจักขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานดิจิทัล บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT และนายธนจักร วัฒนกิจ
NT กางแผนป้องกัน 'ซิมดับ' 1.6 ล้านเลขหมาย หลังหมดอายุใบอนุญาต
NT ชูแผนป้องกันซิมดับ เตรียมโอนย้ายลูกค้าเดิมสู่ 700 MHz ตอกย้ำความมั่นใจให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า
ล้ำสมัย 'NT' เปิดบริการเอไอแพลตฟอร์ม
NT หนุนองค์กรยุคใหม่ใช้งานเอไอง่ายสะดวกรวดเร็วและประหยัดผ่านแพลตฟอร์ม “NT AI Connect” เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้วยจุดเด่นด้านภาษา หวังดันทัพกลุ่มบริการดิจิทัลของ NT ตอบสนองลูกค้าก้าวสู่โลกดิจิทัลได้ครอบคลุมมากขึ้น
DAD ให้สิทธิ์ NT ลงทุนบริการบรอดแบนด์ ครอบคลุมพื้นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
DAD ให้สิทธิ์ NT ลงทุน 700 ล้านบาท ติดตั้งโครงข่ายบรอดแบนด์ ให้บริการผู้เช่าในศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ คาดเปิดบริการเมษายนนี้