เช็กเลย! ซูเปอร์โพลวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน 6 แคนดิเดตนายก

14 ส.ค. 2565 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง จุดแข็ง จุดอ่อน คนจะเป็นนายกรัฐมนตรี กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถาม ผู้ตอบและเครื่องมือวัดและใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เกาะติดข้อมูลแวดล้อมในโลกโซเชียลลดปัญหาผลกระทบความน่าเชื่อถือของข้อมูล จำนวน 2,025 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 9 – 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลสำรวจพบว่า

ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 47.7 เป็นชายและร้อยละ 52.3 เป็นหญิงสอดคล้องกับสัดส่วนของประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้น 52,173,604 คน อ้างอิงฐานข้อมูลประชากรกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 ในตัวอย่างนี้มีร้อยละ 13.4 อายุไม่เกิน 24 ปี ร้อยละ 37.2 อายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 35.9 อายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 13.5 อายุ 60 ปีขึ้นไป และเมื่อจำแนกเป็นอาชีพพบว่า ร้อยละ 6.1 เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 19.2 เป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.9 ค้าขายอิสระ ร้อยละ 21.6 เป็นเกษตรกร ร้อยละ 18.9 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.1 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 4.5 เป็นพ่อบ้านแม่บ้านเกษียณอายุ และร้อยละ 1.7 อื่น ๆ และว่างงาน โดยจำนวนมากหรือร้อยละ 30.8 มีสิทธิเลือกตั้งในภาคอีสาน รองลงมาคือร้อยละ 27.8 ภาคกลาง ร้อยละ 15.8 ภาคเหนือ ร้อยละ 17.6 ภาคใต้และร้อยละ 8.0 กรุงเทพมหานคร

ที่น่าพิจารณาคือ 3 อันดับจุดแข็ง จุดอ่อน คนจะเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีจุดแข็ง ดังนี้ จงรักภักดี (45.1%) อดทนแบกภาระวิกฤตประเทศ (34.8%) มีผลงานเปิดประเทศ ฟื้นสัมพันธ์ไทยซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น (34.0%) ในขณะที่จุดอ่อน มีดังนี้ ไม่คุมอารมณ์ โมโหง่าย (55.0%) อยู่นานมา 8 ปี (51.5%) และไม่เก่งเรื่องแก้ปัญหาปากท้อง (48.4%)

เมื่อเทียบกับ นางสาว แพทองธาร ชินวัตร แกนนำพรรคเพื่อไทย มีจุดแข็ง ดังนี้ จงรักภักดี (20.1%) คนรุ่นใหม่ (43.7%) บุตรสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร (46.3%) ในขณะที่จุดอ่อนของนางสาว แพทองธาร ชินวัตร มีดังนี้ ขาดประสบการณ์การเมือง (42.8%) ยังไม่มีผลงาน (40.0%) และน่าห่วงเรื่องการตัดสินใจในภาวะกดดันทางการเมือง (32.0%)

ที่น่าสนใจคือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค พลังประชารัฐ มีจุดแข็งดังนี้ จงรักภักดี (29.3%) มีเครือข่ายกว้างขวางทุกวงการจัดการอิทธิพลได้ (39.2%) มีผลงานแก้ค้ามนุษย์ แจกที่ทำกิน จัดการน้ำ แก้ภัยแล้ง เป็นต้น (30.9%) ในขณะที่จุดอ่อน คือ อายุมาก (62.7%) ไม่มีเวลาลงพื้นที่ (36.0%) และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ (34.9%)

เมื่อเทียบกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่พบจุดแข็งดังนี้ จงรักภักดี (16.1%) คนรุ่นใหม่ (41.4%) พูดจาเก่ง (36.1%) ในขณะที่จุดอ่อน คือ ยังไม่มีผลงาน (35.9%) ขาดบารมีทางการเมือง (36.4%) และยังมีช่องว่างเข้าไม่ถึงชาวบ้าน (35.8%)

เมื่อพิจารณาจุดแข็งของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและหัวหน้าพรรค ภูมิใจไทย พบจุดแข็ง ดังนี้ จงรักภักดี (41.3%) แก้วิกฤตโควิดต่างชาติยกย่อง ดูแลผู้ป่วยดีขึ้น (45.9%) และมีความสามารถทำธุรกิจสำเร็จมั่นคง (40.7%) ในขณะที่จุดอ่อนคือ ยังขาดคนช่วยงานที่เข้าถึงพื้นที่ (49.8%) ไม่โปรโมตตัวเอง (37.2%) และพูดไม่เก่ง (30.8%)

เมื่อถามถึงจุดแข็งของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า จงรักภักดี (34.7%) มีประสบการณ์การเมือง (43.9) และนายชวน หลีกภัย สนับสนุน (41.4%) ในขณะที่จุดอ่อนมีดังนี้ แก้ขัดแย้งในพรรคไม่ได้ คนเก่งลาออก (56.8%) ไม่โดดเด่น (35.4%) และไม่เห็นผลงาน (30.9%)

ที่น่าพิจารณาคือ เปรียบเทียบผลสำรวจครั้งที่ 1 กับ ครั้งที่ 2 เรื่องพรรคการเมืองที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบการเปลี่ยนแปลง 5 อันดับแรกของพรรคการเมืองในใจประชาชนคือ อันดับแรก พรรคเพื่อไทยครั้งแรกได้ร้อยละ 26.9 แต่ครั้งที่สองลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 25.1 อันดับที่สอง พรรคภูมิใจไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.2 ในครั้งแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 20.0 ในครั้งที่สอง อันดับสาม ได้แก่ พรรคพลังประชารัฐได้ร้อยละ 22.3 ในครั้งแรก แต่ตกลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15.0 ในครั้งที่สอง อันดับสี่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ร้อยละ 6.8 ในครั้งแรกมาอยู่ที่ร้อยละ 10.8 ในครั้งที่สอง และอันดับห้า พรรคก้าวไกล ได้ร้อยละ 6.9 ในครั้งแรก และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 ในครั้งที่สอง

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า จุดแข็งจุดอ่อน คนจะเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่อาจจะทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองหรือเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่นได้ขึ้นอยู่กับว่าคนจะเป็นนายกรัฐมนตรีมีจุดแข็งชนะใจประชาชนหรือมีจุดอ่อนที่ประชาชนจะยี้ไม่เลือกเพราะเบื่อหน่ายกับสภาพความเป็นมาและเป็นไปของนักการเมืองอย่างเหลืออดเหลือทนที่น่าจะทำให้บรรดานักการเมืองทั้งหลายนำไปพิจารณาตนเอง อย่าทำให้ประชาชนผิดหวังและเสื่อมศรัทธาไปมากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้อีกเลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

'ซูเปอร์โพล' เผยประชาชน 51.7% เชื่อมั่นนายกฯ 'อุ๊งอิ๊ง'

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความเชื่อมั่น ต่อ นายกรัฐมนตรี คนใหม่ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)