กระจ่าง! อดีตตุลาการศาลรธน. ออกโรง ว่าด้วยการตีความปม 8 ปีนายกฯ

13 ส.ค.2565 - นายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ปฏิบัติหน้าที่มาร่วมสิบปี กล่าวถึงแนวทางการวินิจฉัยคำร้องคดีต่างๆ ที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในช่วงที่ผ่านมาว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว หากเป็นคำร้องที่ขอให้ตีความในประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายฉบับต่างๆ ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาหลักปฏิบัติที่ศาลรัฐธรรมนูญทำเป็นปกติก็คือ จะทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปถึงสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เพื่อขอให้ส่งเอกสารบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรมาธิการฯ ที่พิจารณายกร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับตัวคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รวมถึงเอกสารหนังสือแนวทางความต้องการหรือเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งหากมี ศาลรัฐธรรมนูญก็จะขอให้รัฐสภาส่งมาให้ด้วย มาประกอบการพิจารณา แต่ส่วนใหญ่การยกร่างพระราชบัญญัติทั่วไป จะไม่มีการทำหนังสือบันทึกเจตนารมณ์ไว้ จะมีแต่เฉพาะบันทึกเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญเท่านั้น ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติกันมาตั้งแต่การยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญรวมถึงหากมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะมีการทำบันทึกเจตนารมณ์ประกอบไว้ด้วย ทำให้เวลาเกิดกรณีมีปัญหาในการตีความรัฐธรรมนูญ ก็มักจะต้องขอทั้งบันทึกเจตนารมณ์และรายงานการประชุมของสภาฯ -วุฒิสภา -คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณายกร่างพรบ.ในฉบับนั้นที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้วินิจฉัย เพื่อดูว่า ตัวบทที่เขียนไม่ชัดเจนดังกล่าวแนวทางควรเป็นไปในทิศทางใด

"แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นข้อยุติเด็ดขาดอะไร ตามที่อยู่ในบันทึกเหล่านั้น เพราะต้องดูประกอบ บริบท บทบัญญัติในมาตราอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวโยงกันประกอบด้วย ต้องดูบทเฉพาะกาลประกอบด้วย และบางครั้งต้องนำหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ มาประกอบการวินิจฉัยตีความด้วย ดังนั้นจึงไม่มีใครบอกได้แน่นอนร้อยเปอร์เซนต์ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร บ่อยครั้งในปัญหายากๆ ความเห็นของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนก็จะแตกเป็นสองทางบ้าง สามทางก็ยังเคยมี กรณีที่ยากๆ เช่นนั้นก็ต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นคำวินิจฉัยของศาล นี้คือแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติกันมา"อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกล่าว

เมื่อถามย้ำว่า หมายถึงการวินิจฉัย อาจไม่จำเป็นต้องดูจากบันทึกการประชุมของคณะกรรมการหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญฯที่ยกร่างกฎหมายแต่ละฉบับใช่หรือไม่ นายจรัญกล่าวว่า เวลาดูบันทึกรายงานการประชุมของรัฐสภา บางครั้งพออ่านปุ๊ปมันพอเห็นเลย ว่าเรื่องนี้ควรต้องเป็นไปในทิศทางไหน แบบนี้มันก็ง่าย แต่บางครั้งตัวบันทึกรายงานการประชุมของรัฐสภา แม้แต่บันทึกเจตนารมณ์ที่ทำกันไว้ก็ดี บางครั้ง มันก็ไม่ชัดเจน โดยหากชัดเจนมันก็ง่าย แต่หากไม่ชัดเจน มันก็มองได้หลายแง่หลายมุม ก็ต้องหาทางออกที่ละเอียดลึกซึ่งยิ่งไปกว่าการดูที่สองเครื่องมือข้างต้น

ถามต่อไปว่า หากดูแล้วไม่เคลียร์ อาจใช้วิธีที่ศาลอาจทำหนังสือสอบถามความเห็นไปถามคนที่ยกร่างโดยตรงให้ตอบได้หรือไม่ อย่างที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยทำมาแล้วตอนช่วงมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ทำหนังสือถามไปถึงมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานกรธ.และนายอุดม รัฐอมฤต อดีตเลขานุการกรธ. นายจรัญกล่าวว่า ไม่ได้เอาที่ตัวบุคคลเป็นหลัก แต่จะต้องเอาที่มติของคณะกรรมการ เพราะการเขียนกฎหมายออกมา ไม่ได้เขียนโดยคนๆเดียวคนใดคนหนึ่ง แต่ทำโดยคณะกรรมการ ก็ต้องว่ากันตามมติที่เป็นความเห็นร่วมกัน แล้วบางครั้งมันก็มีเสียงข้างมากเสียงข้างน้อย เรื่องจึงไม่ง่ายนัก แต่หากมีมติชัดเจนเลยเป็นเอกฉันท์ให้เป็นอย่างไร มันก็ค่อนข้างง่าย คือต้องเอามติกรรมาธิการ ไม่ใช่เอาความเห็นของคน

ถามย้ำอีกว่า หากอดีตกรธ.ไม่ได้มีมติออกมาอย่างเป็นทางการในการเขียนมาตรา 158 (เรื่องวาระแปดปีนายกรัฐมนตรี) แล้วมีข้อสงสัยถ้าทำความเห็นไปถึงนายมีชัย ที่เป็นอดีตประธานกรธ.เลย หากนายมีชัย ทำความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ความเห็นดังกล่าวถือว่ามีน้ำหนักในการวินิจฉัยหรือไม่ นายจรัญกล่าวว่า "ก็มีน้ำหนักพอสมควร แต่ไม่ได้หมายความว่า น้ำหนักมากกว่าประเด็นอื่นๆ"

มองว่าคำร้องคดีนี้หากยื่นไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยจบเร็วหรือไม่ เพราะเป็นแค่การพิจารณาข้อกฎหมาย ไม่ได้เปิดห้องพิจารณาคดี อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ความเห็นว่า ผมก็ว่าคงเร็ว เว้นแต่ว่าหากศาลอยากจะฟังรายงานการประชุมที่รัฐสภาส่งมา รวมถึงบันทึกเจตนารมณ์ประกอบให้มันรอบคอบ ก็ต้องขอไปก่อน แล้วก็ให้ทุกฝ่าย ที่มีหลายฝ่าย ศาลก็อาจรอให้คนที่เหมือนกับเป็นตัวแทนของแต่ละฝ่าย ทำความเห็นเข้าไปให้ศาลดู จะได้พิจารณาอย่างรอบคอบและตัดสินได้โดยไม่ขาดข้อมูล โดยหากศาลดูข้อมูลครบทุกด้านแล้ว จุดที่ถูกต้องเป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และประชาชนมากที่สุดอยู่ตรงไหน ศาลก็คงตีความไปที่จุดนั้น

อนึ่ง รัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง ที่นายจรัญ ระบุไว้มีบทบัญญัติดังนี้

"รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม"

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

นายกฯ อิ๊งค์ฝากติดตามแถลง 12 ธ.ค.ผลงานรัฐบาล 90 วัน

นายกฯอิ๊งค์ ลั่นรัฐบาล มุ่งสร้างโอกาสจับต้องได้ให้ประชาชน ปากท้องอิ่ม ดึงศักยภาพคนไทย ลั่นปรับสมดุลการค้าสหรัฐ-จีน ย้ำ รบ.อยู่ครบเทอม ฝากติดตามแถลงผลงานรัฐบาล 12 ธ.ค.นี้

เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ

เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน

'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!

'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน