10 ส.ค.2565 - จากกรณีปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 158 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่" ทำให้มีข้อถกเถียงในวงกว้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้หลัง 23 สิงหาคมนี้หรือไม่
และล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
ขณะที่ส่วนส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ก็จะยื่นในวันที่ 17 สิงหาคมนี้ เพื่อให้ศาลวินิจฉัยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม นอกจากประเด็น “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่" แล้วสิ่งที่้ต้องติดตามหลังมีการส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก็คือในคำร้องของ นายศรีสุวรรณ และที่ฝ่ายค้านจะยื่น17 สิงหาคม ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ พลเอกประยุทธ์ หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัยคำร้องคดีนี้ออกมา
โดยหากศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติตามที่ จะทำให้ พลเอกประยุทธ์ ออกไปพักข้างสนามชั่วคราวและทำให้ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เบอร์หนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการนายกฯไปจนกว่าคดีจะจบ
แต่หากศาลไม่สั่งพลเอกประยุทธ์ ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ พลเอกประยุทธ์ ก็ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีต่อไป ยังมีอำนาจเต็มทุกอย่าง จนกว่าศาลจะอ่านคำวินิจฉัยออกมา
ทั้งนี้หากตรวจคำร้องที่รัฐมนตรีในครม.ประยุทธ์ที่เรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า หลายคนศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณา แต่ไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี
เช่นคดี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ตอนนี้มีคดีอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ จากกรณี ส.ส.ฝ่ายค้านยื่นให้วินิจฉัยกรณีความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ หลังมหาดไทย มีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ อบจ.สงขลา จากเรื่องการจัดซื้อรถซ่อมบำรุงทาง ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญรับไว้พิจารณา แต่ไม่ได้สั่งให้นิพนธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่การเป็นรัฐมนตรี
หรือกรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ฝ่ายค้านยื่นให้วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีและ ส.ส.ต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ เพราะอาจมีลักษณะต้องห้ามจากคดีความเดิมที่ประเทศ ออสเตรเลีย ที่ตอนศาลรับคำร้องเมื่อ 17 มิถุนายน 2563 ก็ไม่ได้สั่งให้ธรรมนัสหยุดปฏิบัติหน้าที่ และต่อมาศาลวินิจฉัยว่า ร.อ.ธรรมนัส ไม่หลุดจากส.ส.และรัฐมนตรี ที่พบว่าใช้เวลาพิจารณาร่วม 11 เดือน
ที่สำคัญ เมื่อไปดูตัว พลเอกประยุทธ์ พบว่าเคยตกเป็นผู้ถูกร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญมาแล้ว 3 คดี
โดยมีสองคดีที่ศาลรับคำร้องไว้พิจารณาคือ คดีฝ่ายค้านยื่นให้วินิจฉัยกรณี เป็นหัวหน้าคสช.แล้วไปลงสมัครเป็นแคนดิเดตนายกฯพลังประชารัฐ ซึ่งศาลรับไว้เมื่อ 19 กรกฏาคม 2562 โดยไม่สั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่ และต่อมา ศาลมีคำวินิจฉัย 18 กันยายน 2562 ว่า หัวหน้า คสช. ไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พล.อ.ประยุทธ์ จึงไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นนายกรัฐมนตรี
คดีที่สองคือคดีฝ่ายค้านร้องพลเอกประยุทธ์อยู่บ้านพักทหาร ที่ศาลรับไว้เมื่อ 11 มิถุนายน 2563 โดยไม่ได้สั่งให้พลเอกประยุทธ์หยุดปฏิบัติหน้าที่ และต่อมามีคำวินิจฉัยเมื่อ 2 ธันวาคม 2563 ให้ยกคำร้อง พลเอกประยุทธ์ยังได้เป็นนายกฯต่อไป
ขณะที่คำร้อง คดีพลเอกประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ ศาลมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง
เท่ากับว่า พลเอกประยุทธ์ ตกเป็นผู้ถูกร้องสองคดี แต่ศาลไม่เคยสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้