9 ส.ค.2565 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทำไมต้องไล่ลุงตู่
ปัจจุบันไม่มีใครรู้อนาคตว่าเลือกตั้งครั้งใหม่นั้น ลุงตู่ จะกลับมาเป็นนายกฯได้อีกหรือเปล่า เพราะถ้าวิเคราะห์ตามคำทำนายของ ทั้งสื่อ ทั้งกลุ่มพลังต่างๆ รวมถึงโพลนิด้าเอง ก็ว่าลุงตู่ ตกยุคไปแล้ว ประชาชนหมดความนิยมไปแล้ว 3ป. ก็แตกแยกกัน พรรค พปชร.ก็แตก ออกหลายส่วน
ดังนั้น ตามคำทำนายต่างๆ จะเห็นได้ชัดเจนว่าลุงตู่ไปไม่รอดแน่ ดังนั้นจะไปกลัวอะไรกับลุงตู่อีก
นอกจากนั้นในแนวทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว ถ้าลุงตู่มีสิทธิที่จะไปต่อไป ก็ต้องให้แกลงสมัครแข่งขัน เป็น ส.ส. ต่อไป (คราวนี้ลุงตู่ลงสมัครรับเลือกตั้งแน่นอน) จะไปขัดขวางไม่ได้ นอกจากนั้น กระแสข่าวที่ทุ่มเทกันออกมา ชี้ให้เห็นว่าประชาชนไม่เอาลุงตู่แล้วแล้ว จะไปกีดขวาง ขู่เข็ญลุงตู่ให้เสียชื่อไปทำไม
การออกมาไล่ลุงตู่มากขึ้นๆ แบบนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ทุกฝ่ายยังกลัวลุงตู่อยู่ จึงเท่ากับไปหาเสียงให้ลุงตู่ในทางอ้อม ทำอย่างนี้เมื่อไรลุงตู่จะได้ไปอยู่บ้านเฉยๆละครับ
ส่วนเรื่อง 8ปีของลุงตู่นับถึงวันไหนนั้น ผมยกข้อเขียนของ
คุณ สมชาย แสวงการ มาลงไว้ให้อ่านกัน เพื่อจะได้หาวิธีเคลื่อนไหวไล่ลุงตู่ ให้เข้าตา "ศาลรัฐธรรมนูญ" บ้าง
คุณ สมชายว่า ความเห็นทางกฎหมายเป็นได้แค่2ทาง คือ 1)แบบที่ 1 คือนายกลุงตู่ พลเอกประยุทธ์ หัวหน้าคสช. ที่มาจากรัฐประหารและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะ รัฏฐาธิปัตย์ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว2557 ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เมื่อ 24ส.ค.2557 ไม่อาจนับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาตามกรอบมาตรา158 ของรัฐธรรมนูญ2560 ได้ เพราะไม่ได้มาจาการเลือกกันในรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
แต่หากยังต้องนำบทเฉพาะกาล มาตรา264 มานับวันที่ให้ครม. ที่บริหารราชการแผ่นดินก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ทำหน้าที่เป็นครม.ได้ต่อไป ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ด้วย
ดังนั้นการนับครบ 8 ปีแบบนี้จึงต้องนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ2560 ใช้บังคับคือ 6 เม.ย.2560 และนับตามบทเฉพาะกาลมาตรา264
นายกลุงตู่จะครบ 8 ปีวันที่ 5 เม.ย.2568
ส่วนการแบบที่ 2 นับตามการได้รับเลือกและโปรดเกล้า ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ต้องพิจารณาตามมาตรา158 ทั้งมาตรา คือนับตั้งแต่การเลือกในสภาและนับวันตั้งแต่โปรดเกล้า 9 มิ.ย.2562
นายกลุงตู่จะครบ 8 ปีวันที่ 8 มิ.ย.2570
ตรวจสอบข้อกฎหมายและเจตนารมย์แล้ว
ความเห็นส่วนตัวผมจึงมีแค่ 2 ทางตามนี้เท่านั้น
ความเห็นทางกฎหมายมองต่างมุมกันได้ครับ
ขอสนับสนุนให้ฝ่ายอยากไล่ลุงไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้สิ้นกระแสความเถอะครับ
แต่ผลคำวินิจฉัยศาลออกมาเช่นไร ต้องยอมรับ อย่าตีรวนอีกนะจ๊ะ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
นายกฯ สั่งเกาะติด 7จังหวัดภาคใต้ที่เจอฝนถล่มหนัก
นายกฯ กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงจากฝนตกหนักในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476