เปิดคำวินิจฉัยฉบับเต็ม ศาลสั่งจำคุก 'ผู้ละเมิดอำนาจศาล' ไม่ขัดรธน.มาตรา 26

เบนจา อะปัญ , ณัฐชนน ไพโรจน์

ราชกิจจาฯ แพร่คำวินิจฉัย ปวิ.แพ่ง มาตรา 33 ให้อำนาจศาลสั่งลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ผู้กระทำความผิดละเมิดอํานาจศาล เป็นมาตรการที่เหมาะสมทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเท่าที่จําเป็น ไม่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญมาตรา 26

6 พ.ย. 2564 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 15-16/2564 เรื่อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่

ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรณี นางสาวเบนจา อะปัญ และนายณัฐชนน ไพโรจน์ แกนนำกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าราษฎร ซึ่งถูกกล่าวหาละเมิดอำนาจศาล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ซึ่งมีโทษจำคุกนั้นขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26

ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุเหตุผลว่าการที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 กําหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งลงโทษผู้กระทําความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธี และกําหนดโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนจึงเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสมทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเท่าที่จําเป็น และได้สัดส่วนหรือมีความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับกับสิทธิหรือเสรีภาพที่ประชาชนจะต้องสูญเสียไป แม้เป็นบทบัญญัติที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ

เป็นมาตรการที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของผู้กระทําความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลที่สอดคล้องกับหลักความจําเป็นและหลักความได้สัดส่วน พอเหมาะพอควรแก่กรณี ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 อ่านคำวินิจฉัยทั้งฉบับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนาวแน่! ‘เรืองไกร’ ร้องศาล รธน. สอบ ‘พิธา’ เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลหรือไม่

ได้ส่งหนังสือทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรณีโพสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 และวันต่อมา ว่าเข้าข่ายฐานเป็นผู้ใดที่กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งศาล

'ครช.' บุกกกต.จี้ให้เลื่อนการเลือกสว.จนกว่าศาลรธน.มีคำวินิจฉัย เตือนผิดม.157

ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงานคณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง เลขลงรับที่ 7414 โดยเนื้อหาในหนังสือระบุ

ผ่า 2 คดีดัง 'ยุบก้าวไกล-ถอดเศรษฐา' รอดหรือร่วง!

ทีมพรรคก้าวไกลเขาสู้คดีไว้ถูกต้องตามแนวทางในกฎหมายแล้วนะครับว่า แม้การกระทำจะไม่ถูกต้อง ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องยุบพรรคนะครับ รัฐธรรมนูญ ก่อ

5 เหตุผล 'เศรษฐา' รอดชั่วคราว

ทำไมคุณเศรษฐา ถึงรอดมาจากเงื้อมมือของศาลรัฐธรรมนูญได้ อย่างฉิวเฉียดขนาดนี้ (5:4) ซึ่งผมคิด แล้วก็เดาเอาเองว่ามันน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายๆเรื่

'เศรษฐา' รอดยาก! จับตาเอกสารสลค.สำคัญที่สุดในการเข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยังไม่สิ้นกระบวนความ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับฟ้อง พิชิต ชื่นบาน เพราะลาออกไปก่อน

'พิชิต' ลาออกก็ไม่จบ 'เศรษฐา' ตกที่นั่งลำบาก ส่งสัญญาณถึง 'ทักษิณ' รอรับผลคดี 112

'พิชิต' เด็กปั้นจันทร์ส่องหล้า ลาออกก็ไม่จบ 'จตุพร' คาด 'เศรษฐา' ตกที่นั่งลำบาก ส่อถูกสั่งหยุดทำหน้าที่นายกฯ เชื่อส่งสัญญาณถึง 'ทักษิณ' รอรับผลคดี 112 เย้ยจะสู้หรือมอบตัว ฟาดเกมอภิสิทธิ์ชนเปิดศึกเผชิญหน้า ส่วน ปชช.หดหู่ไม่ได้ประโยชน์อะไร