ยกระดับวิถีคน วิถีป่าชุมชน ‘บ้านต้นตาล’ สร้างชุมชนเข้มแข็ง

ผืนป่าชุมชนกว่า 578 ไร่  ชาวบ้าน บ้านต้นตาล ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส มีกฎกติการ่วมกันดูแลรักษา เอาชีวิตเข้ามาปกป้อง ไปดับไฟป่า ลาดตระเวนป้องกันการบุกรุกทำลาย ป่าชุมชนบ้านต้นตาลที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์พึ่งพิงทรัพยากร มีการเข้าเก็บผลผลิตจากป่า เก็บหาเห็ด และพืชสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยมีนายมะซี มะเกซง ในฐานะผู้นำชุมชน และประธานป่าชุมชนบ้านต้นตาล นำคณะกรรมการป่าชุมชน และเหล่าสมาชิกป่าชุมชนชาวบ้านร่วมบริหารจัดการเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่า จนชุมชนบ้านต้นตาลได้รับรางวัลระดับภาคในด้านการอนุรักษ์

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชุมชนบ้านต้นตาลยังต้องพัฒนาด้านเศษฐกิจชุมชน การเพิ่มรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องเป็นการพัฒนาที่ชุมชนมีส่วนร่วม บ้านต้นตาลเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของโครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ซึ่งตระหนักถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน นำมาสู่การขับเคลื่อนโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้มนราธิวาส ร่วมกับชุมชนบ้านต้นตาล โดยเชื่อมโยงคณะกรรมการป่าชุมชน ตลอดจนสมาชิกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

ชุมชนนี้มีจุดแข็ง’คนกับป่าอยู่ร่วมกัน’ ใกล้ชิด ปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนบ้านต้นตาลที่เป็นรูปธรรม ภายในศูนย์มีการจัดฐานเรียนรู้ 9 ฐาน  ประกอบด้วยฐานเรียนรู้การดับไฟป่า ฐานเรื่องพืชสมุนไพร ฐานการเพาะกล้าไม้ป่า ฐานเรียนรู้ฝาย ธนาคารน้ำใต้ดิน  ฐานการเลี้ยงเห็ดตามวิถีป่าชุมชน ฐานการเลี้ยงผึ้งหลวง ฐานเลี้ยงสัตว์ปีก ฐานสืบสานอาหารพื้นถิ่น  และฐานถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจักสานย่านลิเภา ซึ่งศูนย์ดังกล่าวมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสนับสนุนชุมชนเพื่อให้เกิดพลัง และตั้งอยู่บนฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สำหรับชุมชนดีมีรอยยิ้มนราธิวาสทำงานร่วมกับชุมชนเมื่อปี 2563 พุ่งเป้าพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านการอนุรักษ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านอยู่ดีกินดี  ปากท้องอิ่ม มีรายได้ที่มั่นคง และสุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรงพร้อมสู้กับทุกวิกฤต

นางสาววาฟา มะซอ เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจชุมชนอาวุโส ชุมชนดีมีรอยยิ้มนราธิวาส กล่าวว่า  ชุมชนบ้านต้นตาลมีจุดเด่นการอนุรักษ์ป่าอย่างเข้มแข็ง ชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกันฟื้นฟูและขยายพื้นที่ป่าชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จนเกิดผืนป่าเขียวขจี มีการขึ้นทะเบียนกับกรมป่าไม้ในนาม’ป่าชุมชนบ้านต้นตาล’ เกิดศูนย์เรียนรู้ มีกิจกรรมเดินป่าศึกษาเส้นทางธรรมชาติ  ซึ่งเรามาร่วมพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จัดโปรแกรมที่น่าสนใจและค่าใช้จ่ายเพื่อให้มีมาตรฐานชัดเจน

“ ปัจจุบันมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ชมต้นไม้ใหญ่ จุดชมวิว  กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ  กิจกรรมปลูกป่าทดแทนด้วยการปั้นกระสุนปลูกป่า และปลูกด้วยหนังสติ๊ก กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผืนป่า  จัดแคมป์ปิ้งให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ  ซึ่งมีเต็นท์และอปุกรณ์บริการ จัดเวิร์คช็อปการทำขนมพื้นบ้านโบราณ และเรียนรู้ 9 ฐาน ภายในศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนบ้านต้นตาล  มีทั้งโปรแกรมสำหรับนักเรียนนักศึกษาดูงาน และโปรแกรมนักท่องเที่ยว  เสียงตอบรับดีมาก ชุมชนสามารถบริหารจัดการกิจกรรมท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการระบบการเงินของชุมชน  เงินไหลเวียนในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น  ชุมชนพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวมาสัมผัสธรรมชาติ วิถีชุมชน ปีนี้เราเดินหน้าส่งเสริมท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเต็มที่ “ นางสาววาฟา เล่าให้ฟัง

ส่วนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนก็สำคัญไม่แพ้กัน นางสาววาฟากล่าวว่า  ป่าชุมชนบ้านต้นตาลมีทรัพยากรและพืชสมุนไพรมากมาย โดยเฉพาะชาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ   ชุมชนสนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาเพื่อสุขภาพ  ชาชนิดนี้ชาวบ้านบอกมีสรรพคุณเพิ่มกำลังวังชา ช่วยบำรุงเลือด   แต่ยังขาดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ชุมชนดีมีรอยยิ้มนราธิวาสเข้ามาสนับสนุนโดยประสานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างชาและนำไปวิเคราะห์คุณสมบัติหรือประโยชน์ตามหลักวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรต่อไป อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการโซนนิ่งพื้นที่ดงชาสมุนไพรในป่าชุมชนไว้แล้ว ป้องกันการรบกวนจากกิจกรรมการท่องเที่ยว อนาคตอาจจะมีการทดลองเพาะและขยายพันธุ์ชาในแปลงทดแทนการเก็บผลผลิตจากป่าชุมชน

“ จากการทำงานพัฒนาชุมชนร่วมกัน นำมาสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนป่าชุมชนบ้านต้นตาล ส่วนผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพร ชาวบ้านตั้งชื่อแบรนด์’ ADOW ‘ ตอนนี้เราร่วมออกแบบโลโก้และบรรจุภัณฑ์ ที่จะสร้างความประทับใจและดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เป็นการเตรียมพร้อมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้จากเดิมชาวบ้านทำสวนยางพาราและเกษตรตามฤดูกาล นอกจากนี้ ชุมชนมีความต้องการจำหน่ายผลไม้ตามฤดูกาล  เช่น ทุเรียน  ส้มแขก สะตอ ฯลฯ  ซึ่งกำลังวางแผนขยายตลาดและช่องทางจัดจำหน่ายผลผลิตชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นมากขึ้น “  นางสาววาฟา กล่าวถึงแผนพัฒนาระยะต่อไป

ระบบเศรษฐกิจชองชุมชนบ้านต้นตาลวันนี้สามารถพึ่งตนเองได้ จากการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยชุมชน ซึ่งเป็นระบบที่เอื้อต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งสังคม ผู้คน  ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจชุมชนอาวุโส ชุมชนดีมีรอยยิ้มนราธิวาสที่ทำงานคลุกคลีกับชุมชน กล่าวด้วยว่า ชาวบ้านในท้องถิ่นทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี  สามารถประสานงานทั้งภายในและภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ  ผลักดันชุมชนที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นในวันนี้เพื่อส่งต่อต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับคนรุ่นลูกรุ่นหลาน  ทั้งยังปลูกจิตสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ละองค์ประกอบสำคัญทำให้ชุมชนป่าชุมชนบ้านต้นตาลยั่งยืน

กล่าวได้ว่าชุมชนในป่าแห่งนี้เป็นแบบอย่างพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่เหมาะสมให้กับชุมชนทั่วประเทศ คนในชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้การจัดการทรัพยากรในชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผลสำเร็จเป็นรูปธรรมชาวบ้านมีรายได้ที่ดีขึ้น สภาพแวดล้อมและธรรมชาติเพิ่มพูนดีงาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 เปิดรายชื่อครั้งที่ 2 กับสุดยอด 30 ศิลปินชั้นนำจากทั่วโลก

มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

'วันนอร์' ผุดไอเดีย 'รัฐสภาพบประชาชน' ประเดิมนราธิวาส ดำเนินงาน 4 ส่วน

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา แถลงข่าวโครงการรัฐสภาเพื่อการพัฒนาจังหวัดนราธิวาส เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

เสียงเตือนของธรรมชาติ คือ สัญญาณที่โลกแสดงออกมา ถึงเวลาที่มนุษยชาติ ต้องเอาใจใส่รักษ์โลก

ปัจจุบัน “โลก” ของเราเต็มไปด้วยวิกฤตการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ ครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งเดียว เพราะแต่ละปีที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งอย่างต่อเนื่อง

ฉากทัศน์สังคมไทย ตีโจทย์ดึง'คนด้อยโอกาส-สูงวัย'สร้างอนาคต

สังคมไทยเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำมาโดยตลอด การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคม ประชาชนในชุมชนต่างๆ เข้ามามีบทบาทพัฒนาชุมชนตัวเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตลอดจนการให้โอกาสและสร้างความเข้มแข็งคนยากจน และคนด้อยโอกาส

นายกฯ จะลงพื้นที่นราธิวาสภายใน 1-2 สัปดาห์ หลังเสร็จสิ้นภารกิจออนทัวร์ 10 วัน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์หลังต่อสายหารือและรับฟังรายงานจาก พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กรณีเกิดเหตุความไม่สงบ 6 จุดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ร่วมขับเคลื่อนเพื่อเมืองที่ยั่งยืน กับ “SX TALK SERIES ครั้งที่ 2” “เมืองของทุกคน : คุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน”

หลายคนถามหาคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา การขนส่ง ที่อยู่อาศัย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน