ผลโพลชี้ประชาชนงงหนุนสูตรปาร์ตี้ลิสต์หาร 100-500

17 ก.ค. 2565 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชาชนเข้าใจประเด็นหาร 100 หรือหาร 500 หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจต่อร่างกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส.

ในประเด็นสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 100 หรือหาร 500 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเข้าใจของประชาชนต่อร่างกฎหมายการเลือกตั้ง ส.ส. ในประเด็นสูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 100 หรือหาร 500 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 62.35 ระบุว่า ไม่เข้าใจเลย รองลงมา ร้อยละ 21.11 ระบุว่า ไม่ค่อยเข้าใจ ร้อยละ 11.74 ระบุว่า ค่อนข้างเข้าใจ และร้อยละ 4.80 ระบุว่า เข้าใจมาก

เมื่อถามประชาชนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ (จำนวน 217 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อมติที่ประชุมรัฐสภาในการใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 500 พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 16.59 ระบุว่า เห็นด้วยมาก และไม่ค่อยเห็นด้วย ในสัดส่วนที่เท่ากัน

ด้านเหตุผลสำคัญที่ทำให้ที่ประชุมรัฐสภาลงมติ ในการใช้สูตรคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ หาร 500 พบว่า ตัวอย่างที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ (จำนวน 217 หน่วยตัวอย่าง) ร้อยละ 28.11 ระบุว่า ต้องการให้ทุกคะแนนที่ประชาชนไปใช้สิทธิมีความหมาย รองลงมา ร้อยละ 23.96 ระบุว่า พรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันต้องการคงอยู่ต่อไปหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ร้อยละ 20.28 ระบุว่า ต้องการให้โอกาสพรรคเล็กได้มี ส.ส. ในสภา ร้อยละ 17.97 ระบุว่า ต้องการป้องกันไม่ให้มีพรรคการเมืองใดชนะการเลือกตั้งแบบแลนด์สไลด์ และร้อยละ 9.68 ระบุว่า เป็นการแลกเปลี่ยนกับการโหวตสนับสนุนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในการอภิปายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะเกิดขึ้น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการมี ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 58.39 ระบุว่า ควรมีทั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ รองลงมา ร้อยละ 33.38 ระบุว่า ควรมีแต่ ส.ส. แบบแบ่งเขต และร้อยละ 8.23 ระบุว่า ควรมีแต่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เผยคนไทยให้เกียรติคนที่ใช้ ตำแหน่ง ยศ นำหน้าชื่อ และเกือบ 90% ไม่เคยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

นำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม

‘นิด้าโพล’ ชี้ประชาชนหนุนมาตรการส่งดี เปิดดูสินค้าก่อนจ่าย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Dee-Delivery เปิดก่อนจ่าย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจประชาชนไม่สนใจ 'หวยเกษียณ' มองเป็นการมอมเมา

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จะออมเงิน…ต้องซื้อหวยเกษียณ!”

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

ผลสำรวจนิด้าโพลชี้ ประชาชนหนุน 'พิธา' นั่งนายก ส่วน 'เศรษฐา' มาเป็นอันดับ 3

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง