เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่?

มีคำถามสำคัญในแวดวงวิทยาศาสตร์ว่า บรรดาเทคโนโลยีขั้นสูงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) บิ๊กดาต้า (Big Data) วิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced Robotics) บล็อกเชน (Blockchain) ฯลฯ เหล่านี้จะมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการประหยัดพลังงาน หรือทำให้การใช้พลังงานสิ้นเปลืองมากกว่าเดิม จนกลายเป็นที่ถกเถียงอยู่ไม่น้อย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านพลังงานชั้นนำของประเทศไทย สานต่อภารกิจเพื่อความยั่งยืนของประเทศใน 3 มิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม พาท่านสำรวจและตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นว่า เทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ ช่วยประหยัดพลังงานได้จริงหรือไม่ ถ้าช่วยได้ จะช่วยประหยัดพลังงานอย่างไร

เทคโนโลยีขั้นสูงถูกนำมาใช้กับพลังงานด้านใดบ้าง เครือข่ายไฟฟ้าเป็นตัวอย่างที่ดี แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจคำว่า กริดไฟฟ้า หรือ Grid Electrical หรือที่มักจะเรียกสั้นๆ ว่า “กริด” เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันสำหรับการจ่ายไฟฟ้าจากผู้ผลิตต่างๆ ไปยังผู้บริโภค ประกอบไปด้วยสถานีผลิตพลังงานไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่นำส่งพลังงานจากแหล่งผลิตที่ห่างไกลให้กับศูนย์ที่ต้องการใช้ และสายกระจายแรงต่ำที่เชื่อมต่อลูกค้าแต่ละราย หรือแต่ละบ้านนั่นเอง

กริดเหล่านี้เป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ซับซ้อน ฉะนั้น การควบคุมหรือต้องการการตัดสินใจอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า จะต้องทำด้วยความรวดเร็วในแบบเรียลไทม์ ลองนึกถึงการใช้ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ที่มีการแบ่งเป็นเขตย่อยๆ จำนวนมาก ทันทีที่มีเหตุหม้อแปลงระเบิด (สำเพ็งก็เพิ่งเกิดเหตุไปเมื่อไม่นานมานี้) การควบคุมกริดจำนวนมากที่รวมกันเป็นข้อมูลขนาดใหญ่หรือบิ๊กดาต้า จะต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชั้นยอดที่ต่อมาพัฒนากลายเป็น AI ที่ใช้เพื่อการควบคุมแทนมนุษย์ AI ที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้จะควบคุมอัลกอริทึมของระบบกริด สามารถตอบสนอง วิเคราะห์ และจัดการกริดได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้นประสิทธิภาพในการควบคุม ตัดระบบหรือโซนที่เกิดอุบัติเหตุ หรือควบคุมปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ส่งไปนั้น สามารถทำให้เราใช้พลังงานที่เหมาะสมได้

ในภาคพลังงานหมุนเวียน AI ยังสามารถวิเคราะห์ คาดการณ์การใช้พลังงาน และช่วยในการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ของแหล่งพลังงานหมุนเวียน เราจึงได้เห็นแอปพลิเคชันด้านพลังงานหลายๆ แอปที่สามารถช่วยคาดการณ์ปริมาณพลังงานของกริด กำหนดราคาและดำเนินการซื้อขายได้ตามเวลาโดยอัตโนมัติ นวัตกรรมอย่าง AI จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากทีเดียว

นอกจาก AI แล้ว วิทยาการหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced Robotics) อาทิ โดรน ยังถูกนำมาใช้ในควบคุมพลังงานหมุนเวียนหลายประเภท ตัวอย่างที่ชัดเจนมากก็คือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ที่ต้องอาศัยแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก และประสิทธิภาพสูงสุดจะเกิดขึ้นได้เมื่อแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมากเหล่านั้นอยู่ในทิศทางที่เหมาะสม หุ่นยนต์ขั้นสูงจะเข้ามามีบทบาทในการปรับทิศทางอัตโนมัติเพื่อเพิ่มการแปลงพลังงานให้สูงสุด นอกจากนี้การทำงานอัตโนมัติ และการบำรุงรักษา (O&M) ที่ใช้หุ่นยนต์เป็นฐานรองรับการทำงานซ้ำๆ ที่เสี่ยงอันตรายจะช่วยปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานได้มากกว่าการใช้แรงงานมนุษย์ เราจึงได้พลังงานทดแทนที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

อีกหนึ่งเทคโนโลยีขั้นสูงที่ถูกนำมาใช้ในด้านพลังงานก็คือ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อพัฒนาธุรกรรมที่เชื่อถือได้ในภาคพลังงานหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น สัญญาอัจฉริยะที่ถูกนำมาใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-Peer ล่วงหน้า ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการวางแผนการผลิตพลังงานระยะยาว เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่พอเพียงและเหมาะสม

นอกจากนี้ บล็อกเชนยังถูกนำมาใช้ในการควบคุมความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ลองนึกถึงหนังซูเปอร์ฮีโร่ ที่วายร้ายพยายามแฮกระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อป่วนเมืองด้วยการทำให้ระบบไฟฟ้าในเมืองดับเพื่อก่อวินาศภัย) บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งใช้เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกริด และมีการตรวจสอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้การแฮกระบบทำได้ยากมากถึงมากที่สุด ที่สำคัญ บล็อกเชนยังช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางดิจิทัล โดยผู้ให้บริการพลังงานหมุนเวียนสามารถใช้บล็อกเชนเพื่อติดตามห่วงโซ่การดูแลวัสดุกริดในที่ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานที่กำกับดูแลสามารถเข้าถึงข้อมูล และควบคุมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่า “เทคโนโลยีขั้นสูง” หลายๆ เทคโนโลยี แม้จะไม่ได้เข้ามาช่วยในการประหยัดพลังงานโดยตรง แต่เราสามารถนำมาใช้ในการช่วยควบคุมการใช้พลังงานให้เหมาะสม ก่อให้เกิดการเตรียมวางแผนการผลิตพลังงานที่เพียงพอให้เราใช้ได้ตลอดไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปตท. คว้ารางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จด้านความยั่งยืน และด้านนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2024 สะท้อนความยอดเยี่ยมทางธุรกิจ

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2024

ปตท. มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ ผลักดันทักษะ STEM ให้เยาวชนไทย ในโครงการ PTT Group STEM Camp 2024

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ PTT Group STEM Camp 2024 เพื่อมุ่งสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ด้าน STEM ให้กับเยาวชนในดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากทั่วประเทศ

IRPC และ ปตท. ร่วมรับมอบท่อ HDPE จากพันธมิตรการค้า สร้างระบบส่งน้ำพัฒนาพื้นที่สีเขียวคุ้งบางกะเจ้า

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นางสาวชนิดา สัณหกร ผู้จัดการอาวุโส บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) และนายคมกฤษณ์ ผิวทอง

เหรียญที่มีสองด้านของ AI ในสังคมไทย

ประเทศไทยมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ บริการและในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆอันนำไปสู่ปัญหาของสังคมเช่น